ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไพบูลย์ บุตรขัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
มังกรคาบแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ให้เรียบร้อยขึ้น
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 59:
หลังจากเรียนจบ ไพบูลย์ บุตรขัน ได้ทำงานเป็นครูสอนภาษาไทยที่โรงเรียนกว๋องสิว แล้วลาออกไปทำงานเป็นช่างไฟฟ้าที่[[โรงไฟฟ้าสามเสน]] แล้วลาออกไปทำงานกับคณะละคร [[คณะแม่แก้ว]] และ[[คณะจันทโรภาส]] ของ[[พรานบูรพ์]] ทำหน้าที่เขียนบทละครวิทยุ และแต่งเพลง
 
งานเพลงของไพบูลย์ บุตรขัน เริ่มบันทึกแผ่นเสียงเมื่อประมาณ พ.ศ. 2490 จากการชักนำของ [[สวัสดิภาพ บุนนาค]] ซึ่งเป็นเพื่อนและน้องเขย เพลงในยุคแรกได้แก่เพลง "[[มนต์เมืองเหนือ]]" "[[คนจนคนจร]]" "[[ดอกไม้หน้าพระ]]" "[[ดอกไม้หน้าฝน]]" และ "[[ค่าน้ำนม]]" และได้รับการยกย่องว่าเป็นงานที่มีคุณค่า และได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน เช่น "[[โลกนี้คือละคร]]" (ขับร้องโดย [[ปรีชา บุณยะเกียรติ]]) "[[เบ้าหลอมดวงใจ]]" และ "[[มนต์รักลูกทุ่ง]]" (ขับร้องโดย [[ไพรวัลย์ ลูกเพชร]]) "[[ฝนเดือนหก]]" (ขับร้องโดย [[รุ่งเพชร แหลมสิงห์]]) "[[ยมบาลเจ้าขา]]" (ขับร้องโดย [[บุปผา สายชล]])
 
"กลิ่นโคลนสาปควาย" (แต่งขึ้นในปี [[พ.ศ. 2496]] ขับร้องโดย[[ชาญ เย็นแข]]) เป็นอีกผลงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งของของไพบูลย์ บุตรขัน ที่ทางราชการไทยเคยประกาศห้ามเปิดในช่วง[[การปราบปรามคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย|การปราบปรามคอมมิวนิสต์]] แม้จะมีการห้ามจากทางการแต่ยิ่งห้ามก็มีผู้ฟังซื้อแผ่นเสียงไปฟังเป็นจำนวนมาก เพลงนี้ยังได้รับยกย่องให้เป็นรากฐานของ[[เพลงลูกทุ่ง]]อีกด้วยเพราะในอดีตก่อน [[พ.ศ. 2500]] นั้นเพลงในประเทศไทยยังมิได้แบ่งแยก ยุคสมัยที่ยังไม่ได้มีการแบ่งแยก[[เพลงลูกกรุง]]และเพลงลูกทุ่งออกจากกันอย่างชัดเจน<ref>http://www.maemaiplengthai.com/webboard/viewthread.php?tid=175</ref>
 
หลังจากเสียชีวิตไปแล้วหลายปี ในปี พ.ศ. 2532 เพลงของครูไพบูลย์ ได้รับรางวัลพระราชทานในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกไทย ถึง 10 เพลง ได้แก่ "[[ชายสามโบสถ์]]" (ขับร้องโดย [[คำรณ สัมบุญณานนท์]]) "[[น้ำตาเทียน]]" (ขับร้องโดย [[ทูล ทองใจ]]) "[[บ้านไร่น่ารัก]]" และ "[[เพชรร่วงในสลัม]]" (ขับร้องโดย [[ชินกร ไกรลาศ]]) "[[ฝนซาฟ้าใส]]" (ขับร้องโดย [[ยุพิน แพรทอง]]) "[[ฝนเดือนหก]]" (ขับร้องโดย [[รุ่งเพชร แหลมสิงห์]]) "[[บุปเพสันนิวาส]]" และ "[[มนต์รักแม่กลอง]]" (ขับร้องโดย [[ศรคีรี ศรีประจวบ]]) "[[มนต์รักลูกทุ่ง]]" (ขับร้องโดย [[ไพรวัลย์ ลูกเพชร]]) และ "[[ยมบาลเจ้าขา]]" (ขับร้องโดย [[บุปผา สายชล]]) และในปี พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลจากเพลง "[[หนุ่มเรือนแพ]]" (ขับร้องโดย [[กาเหว่า เสียงทอง]])
 
==ผลงาน==