ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทยร็อก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
คอมปานีบี (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
คอมปานีบี (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
 
ใน[[คริสต์ทศวรรษ 1980|ทศวรรษที่ 80]] [[ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์|ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์]] วงดนตรีที่เล่นเพลงแนวเฮฟวี่เมทัลก่อตั้งปี พ.ศ. 2528 โดย (โป่ง) ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ และ (โอ้) โอฬาร พรหมใจ โดยเปลี่ยนมาจากวงโซดา ซึ่งตั้งใจตั้งชื่อวงว่า " Thailand Band " แต่ โอฬารเห็นว่า อาจจะมีผลเสียต่อประเทศชาติได้ ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็น The Olarn Project เพราะหากเกิดอะไรขึ้น โอฬารจะเป็นผู้รับผิดชอบด้วยตัวเอง ต่อมาเมื่อวงการเพลงไทยเริ่มเข้าสู่ยุคของการพาณิชย์ เริ่มมี[[ค่ายเพลง]]ต่าง ๆ เกิดขึ้น ความสำเร็จของ[[อัสนี-วสันต์]] กับ[[ไมโคร (วงดนตรี)|ไมโคร]] ในสังกัด[[แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นต์]] ก็ช่วยให้ดนตรีร็อกได้รับความนิยมมากขึ้น รวมถึงใน[[เพลงเพื่อชีวิต|ดนตรีแนวเพื่อชีวิต]]อย่าง [[คาราบาว]] ที่สร้างยอดขายได้มากกว่า 5 ล้านตลับ ก็ยังนำเอาดนตรีร็อกมาผสมผสานกับดนตรี[[รำวง]]จังหวะสามช่าแบบไทยอีกด้วย<ref>''ตามรอยควาย : บทบันทึกการเดินทาง 25 ปี'' โดย ดร.วรัตต์ อินทสระ (สำนักพิมพ์โมโนโพเอท พฤศจิกายน 2550) ISBN 9740951186</ref> <ref> Phataranawik, Phatrawadee (May 12, 2006). "Rock unit", ''The Nation Weekend'', Page 12-13 (print edition only).</ref>
 
จวบจนช่วงต้นของ[[คริสต์ทศวรรษ 1990|ทศวรรษที่ 90]] ศิลปินหลายวง หลายคนในสังกัด[[อาร์เอส|อาร์เอส โปรโมชั่น]] เช่น [[ไฮ-ร็อก]] ที่ทำให้ดนตรีแนวเฮฟวี่เมทัลได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมากขึ้น<ref>{{cite web|url=http://www.youtube.com/watch?v=hQ23KPbvO4g&feature=related|title=HiRock Story1|date=3 June 2009|accessdate=6 September 2014|publisher=ยูทิวบ์}}</ref>, [[หิน เหล็ก ไฟ]] ที่เมื่อออกผลงานชุดแรกก็สร้างยอดขายได้มากกว่าหนึ่งล้านตลับ, [[หรั่ง ร็อกเคสตร้า]], [[อิทธิ พลางกูร]], [[ธนพล อินทฤทธิ์]], [[พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร]] ก็ประสบความสำเร็จอีกด้วย ในช่วงนี้ถือได้ว่าเป็นยุคทองของดนตรีร็อกแนวเฮฟวี่เมทัลของไทยอย่างแท้จริง โดยทั้งหมดได้รวมกันแสดงคอนเสิร์ต [[ช็อต ชาร์จ ช็อค ร็อก คอนเสิร์ต]] ที่มีจำนวนผู้ชมล้นหลามและจัดต่อเนื่องด้วยกันถึง 3 ครั้งในรอบ 3 ปี<ref>''ปลุกตำนานร็อก'', หน้า 33 บันเทิง. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,280: อังคารที่ 9 กรกฎาคม 2556 ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง</ref>
บรรทัด 10:
ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 90 วงการดนตรีไทยได้เปลี่ยนความนิยมไป เมื่อ[[อัลเทอร์เนทีฟ]] เริ่มเข้ามามีอิทธิพลและได้รับความนิยมขึ้นมาแทนที่เฮฟวี่เมทัล [[โมเดิร์นด็อก]] จากสังกัด[[เบเกอรี่มิวสิค]] ก็ได้สร้างปรากฏการณ์ของดนตรีในแนวนี้ขึ้นมาเป็นวงแรก ก่อนจะตามด้วยวงอื่นในแนวเดียวกัน เช่น [[วายน็อตเซเว่น]], [[ฟลาย]], [[แบล็คเฮด]], [[สไมล์บัฟฟาโล่]], [[นครินทร์ กิ่งศักดิ์]] เป็นต้น นอกจากนี้แล้วดนตรีร็อกในแนวอื่นที่มิใช่อัลเทอร์เนทีฟก็ยังได้รับความนิยม เช่น [[โลโซ]], [[วูล์ฟแพ็ค]], [[ธรรพ์ณธร ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา]], [[ลาบานูน]], [[ไอน้ำ (วงดนตรี)|ไอน้ำ]]<ref>หน้า 234, ''ค่ายเบเกอรี่มิวสิคเปิดตัวเพลงแนวอินดี้ป๊อป'' ."กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554" (2554) โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ดร. ISBN 978-974-228-070-3</ref>
 
ในยุคปัจจุบัน ดนตรีร็อกไทยได้มีแนวดนตรีแบบใหม่เข้ามา เช่น [[แกลมเมทัล]] หรือ [[นูเมทัล]] มีหลายวงที่ได้รับความนิยม เช่น [[บิ๊กแอส]], [[บอดี้แสลม]] [[แคลช]] ,[[โปเตโต้]], [[ebola]], [[retrospect]], [[sweet mullet]], [[กะลา]] เป็นต้น วงดนตรีร็อคในเมืองไทยในยุคแรกไม่สามารถจัดเป็นทศวรรษได้ เนื่องจากกระแสความนิยมและการเปลี่ยนแปลงทางดนตรีก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็ว นอกนั้นยังมีวงนอกกระแสอย่าง december,ดอนผีบิน,กล้วยไทย เป็นต้น<ref>{{cite web|url=http://www.siamzone.com/music/news-3896|title=ผลการตัดสินรางวัล สีสัน อะวอร์ดส์ ครั้งที่ 20 ประจำปี 2550|date=21 March 2008|accessdate=6 September 2014|publisher=สยามโซน}}</ref>
 
==อ้างอิง==