ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทยร็อก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
คอมปานีบี (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ไทยร็อก''' ({{lang-en|Thai rock}}) เป็นดนตรี[[ร็อก]]จาก[[ประเทศไทย]] เป็นส่วนหนึ่งของดนตรีแนว[[เพลงไทยสากล|สตริง]]และ[[ป๊อปร็อก]] ดนตรีร็อกเริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยในราว[[คริสต์ทศวรรษ 1970|ทศวรรษที่ 70]] จากอิทธิพลชาติตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกา ผ่าน[[สงครามเวียดนาม]] โดย[[แหลม มอริสัน]] นักดนตรีชาวอุดรธานีได้ตั้งวงดนตรีชื่อ วีไอพี ขึ้นมา เพื่อเล่นดนตรีแนว[[เฮฟวี่เมทัล]]และ[[ฮาร์ดร็อก]]ให้กับเหล่าทหารอเมริกันในสถานบันเทิงยามค่ำคืนของอุดรธานี โดยมี[[จิมิ เฮนดริกซ์]] และ[[จิม มอร์ริสัน]] แห่งวง[[เดอะดอร์ส]] เป็นแบบอย่าง ก่อนที่จะมีนักดนตรีอีกหลายคนสร้างชื่อเสียงขึ้นมา เช่น [[กิตติ กาญจนสถิตย์]], [[โอฬาร พรหมใจ]] หรือ[[ชัคกี้ ธัญญรัตน์]]<ref>{{cite web|url=http://www.oknation.net/blog/kilroy/2008/04/08/entry-2|title=แหลม มอริสัน |date=8 April 2008|accessdate=6 September 2014|publisher=โอเคเนชั่น}}</ref> <ref>{{cite web|url=http://www.now26.tv/view/19957/|title=คอนเสิร์ต 70 ปี 'แหลม มอริสัน'|date=24 August 2014|accessdate=6 September 2014|publisher=ยูทิวบ์}}</ref>
 
จุดกำเนิดของดนตรีร็อกไทย เริ่มขึ้นในปลาย[[คริสต์ทศวรรษ 1970|ทศวรรษที่ 70]] โดยเริ่มต้นจาก วงเนื้อกับหนัง ถือว่าเป็นผู้บุกเบิกวงการเพลงเฮฟวี่ภาคภาษาไทยวงแรก และคุณวิฑูร วทัญญู คือผู้มีส่วนในการจุดประกาย ซึ่งยากมากที่จะหาผู้ที่ยอมรับฟังเพลงร็อกในยุคนั้น เพราะมันเป็นยุคดนตรีเฮฟวี่ฝรั่งกำลังรุ่งเรือง ส่วนเพลงไทยก็กำลังเข้าสู่ยุค อ๊อด คีรีบูน,ชมพู ฟรุตตี้ เนื้อกับหนังจึงฟังกันในวงแคบๆ ชุดแรก ชื่อ ฆาต-กัญชา
แหลม มอริสัน นักดนตรีชาวอุดรธานีได้ตั้งวงดนตรีชื่อ วีไอพี ขึ้นมา เพื่อเล่นดนตรีแนวเฮฟวี่เมทัลและฮาร์ดร็อกให้กับเหล่าทหารอเมริกันในสถานบันเทิงยามค่ำคืนของอุดรธานี ก่อนที่จะมีนักดนตรีอีกหลายคนสร้างชื่อเสียงขึ้นมา เช่น กิตติ กาญจนสถิตย์, โอฬาร พรหมใจ หรือชัคกี้ ธัญญรัตน์
 
ใน[[คริสต์ทศวรรษ 1980|ทศวรรษที่ 80]] เมื่อวงการเพลงไทยเริ่มเข้าสู่ยุคของการพาณิชย์ เริ่มมี[[ค่ายเพลง]]ต่าง ๆ เกิดขึ้น ความสำเร็จของ[[อัสนี-วสันต์]] กับ[[ไมโคร (วงดนตรี)|ไมโคร]] ในสังกัด[[แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นต์]] ก็ช่วยให้ดนตรีร็อกได้รับความนิยมมากขึ้น รวมถึงใน[[เพลงเพื่อชีวิต|ดนตรีแนวเพื่อชีวิต]]อย่าง [[คาราบาว]] ที่สร้างยอดขายได้มากกว่า 5 ล้านตลับ ก็ยังนำเอาดนตรีร็อกมาผสมผสานกับดนตรี[[รำวง]]จังหวะสามช่าแบบไทยอีกด้วย<ref>''ตามรอยควาย : บทบันทึกการเดินทาง 25 ปี'' โดย ดร.วรัตต์ อินทสระ (สำนักพิมพ์โมโนโพเอท พฤศจิกายน 2550) ISBN 9740951186</ref> <ref> Phataranawik, Phatrawadee (May 12, 2006). "Rock unit", ''The Nation Weekend'', Page 12-13 (print edition only).</ref>