ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระนารายณ์ราชนิเวศน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
| หมายเหตุ =
}}
 
 
[[ไฟล์:Lopbprnivet0306j.jpg|thumb|250px|หมู่ตึกพระคลังศุภรัตน์หรือหมู๋ตึกสิบสองท้องพระคลัง]]
 
'''พระนารายณ์ราชนิเวศน์''' ตั้งอยู่ในเขต[[ตำบลท่าหิน]] [[อำเภอเมืองลพบุรี]] [[จังหวัดลพบุรี]] โดยชาวเมืองลพบุรีเรียกกันติดปากว่า '''"วังนารายณ์"''' ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ[[พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์]]
 
เส้น 58 ⟶ 56:
 
* '''พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท'''
 
พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาทสร้างขึ้นในสมัย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2209]] เป็นพระที่นั่งท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกรับคณะราชทูตในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มียอดแหลมทรง[[มณฑป]] [[ศิลปกรรม]]แบบ[[ไทย]]ผสมผสานกับ[[ฝรั่งเศส]] ประตูและหน้าต่างท้องพระโรงด้านหน้าทำเป็นรูปโค้งแหลมแบบฝรั่งเศส ส่วนตัวมณฑปด้านหลังทำประตูหน้าและหน้าต่างเป็น[[ซุ้มเรือนแก้ว]][[ฐานสิงห์]]แบบไทย ตรงกลางท้องพระโรงมี[[สีหบัญชร]] เป็นที่เสด็จออกเพื่อมีปฏิสันถารกับผู้เข้าเฝ้าในท้องพระโรงตอนหน้า
 
ผนังภายในท้องพระโรงประดับด้วยกระจกเงา ซึ่งโปรดให้คนไปจัดซื้อมาจากประเทศฝรั่งเศส ดาวเพดานเป็นช่องสี่เหลี่ยมประดับลายดอกไม้ทองคำและแก้วผลึก ผนังด้านนอกพระที่นั่งตรงมณฑปชั้นล่าง เจาะเป็นช่องเล็กๆ รูปโค้งแหลมคล้ายบัว สำหรับตั้งตะเกียงในเวลากลางคืน เช่นเดียวกับที่ซุ้มประตูและกำแพงพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน ซึ่งมีช่องสำหรับวางตะเกียง ประมาณ 2,000 ช่อง
[[ไฟล์:Lopbprnivet0306b.jpg|thumb|rigth|360px|พระที่นั่งพิมานมงกุฎ]]
 
* '''หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏ'''
หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ ประกอบไปด้วยอาคารทั้งหมด4หลังโดยด้านหน้าสูง2ชั้นด้านหลังมีความสูง3ชั้นส่วนหน้าตรงกลางเป็นบันไดขนาดใหญ่ขนาบด้วยมุขซึ่งยื่นออกมาทั้งด้านซ้ายและด้านขวาหลังคาเป็นโครงสร้างไม้ทรงปั้นหยายกจั่วสูงชายคาสั้นกุดมุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วยทับแนวด้วยปูนปั้นแบบจีนผนังเจาะช่องหน้าต่างระหว่างเสาและมีทุกชั้น