ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพรหมมงคล (ทอง สิริมงฺคโล)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{เรซูเม}} {{กล่องข้อมูล พระสงฆ์ไทย | ชื่อ = ทอง | ชื่อภาพ = ไฟล์:พระ...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:48, 5 มีนาคม 2559

พระธรรมมังคลาจารย์ (ทอง สิริมงฺคโล) (นามเดิม :ทอง พรหมเสน) (21 กันยายน พ.ศ. 2466 - ปัจจุบัน) เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร และที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 7

พระธรรมมังคลาจารย์

(ทอง สิริมงฺคโล)
ส่วนบุคคล
เกิด21 กันยายน พ.ศ. 2466 (100 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นเอก
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อำเภอจอมทอง เชียงใหม่
บรรพชา19 มกราคม พ.ศ. 2477
อุปสมบท7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487
พรรษา80
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 7

ประวัติ

ชาติภูมิ

พระธรรมมังคลาจารย์ นามเดิมทอง พรหมเสน เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๖ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีกุน ณ บ้านนาแก่ง ตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
บิดาชื่อ นายทา นามสกุล พรหมเสน มารดาชื่อ นางแต้ม นามสกุล พรหมเสน มีพี่น้องด้วยกัน ๖ คน [1]

อุปสมบท

บรรพชา วันศุกร์ที่ ๑๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ ตรงกันวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ ณ วัดนาแก่ง ตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระครูบาชัยวงศ์ (หลวงปู่ครูบาแก้ว ชยวํโส) เจ้าอาวาสวัดนาแก่ง เป็นพระอุปัชฌาย์
อุปสมบท วันจันทร์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๘๗ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ปี วอก ณ บ้านแอ่น ตำบลบ้านแอ่น อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระครูคัมภีรธรรม (ครูบาอินตา พรหฺมปญฺโ) เจ้าอาวาสวัดชัยพระเกียรติ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการญาณรังสี เจ้าอาวาสวัดห้วยทราย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาจันทร์ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานามว่า “สิริมงฺคโล”

วิทยฐานะ

  • พ.ศ.๒๔๗๗ สอบได้นักธรรมชั้นตรี ณ สำนักศาสนศึกษา วัดวังลุง สำนักเรียนคณะจังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ.๒๔๘๖ สอบได้นักธรรมชั้นโท ณ สำนักศาสนศึกษา วัดชัยพระเกียรติ สำนักเรียนคณะจังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ.๒๔๘๗ สอบได้นักธรรมชั้นเอก ณ สำนักศาสนศึกษา วัดพันอ้น สำนักเรียนคณะจังหวัดเชียงใหม่

ตำแหน่ง

ฝ่ายปกครอง

ประวัติการอบรมด้านวิปัสสนากรรมฐาน

เกียรติคุณ

  • พ.ศ.๒๕๓๐ ได้รับคัดเลือกให้เป็นบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาประเภทส่งเสริม ผู้ปฏิบัติธรรมในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาในเทศกาลวันวิสาขบูชา
  • พ.ศ.๒๕๓๑ ได้รับโล่เกียรติคุณ ผู้มีผลงานดีเด่นด้าน “วัฒนธรรมท้องถิ่น” สาขามนุษยศาสตร์ จากศูนย์วัฒนธรรม วิทยาลัยครูเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับรางวัลครูบาศรีวิชัย ในงานรำลึกถึงพระครูบาศรีวิขัย ครบรอบ ๑๑๒ ปี ได้รับเลือกให้เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นทั้ง นักบุญและนักพัฒนาแห่งล้านนาไทย
  • พ.ศ.๒๕๓๕ ได้รับเกียรติบัตรจากคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่น ทางด้านการปกครอง เนื่องในวันวิสาขบูชา
  • พ.ศ.๒๕๓๖ ได้รับถวายปริญญา “พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์” สาขาพระพุทธสาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ.๒๕๓๖ ได้รับเกียรติบัตรจากคณะสงฆ์ จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านสาธารณูปการ เนื่องในวันมาฆบูชา
  • พ.ศ.๒๕๓๖ ได้รับถวายเกียรติบัตรจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่น ในการดำเนินงาน ให้วัดเป็นอุทยานการศึกษาเพื่อเฉลิมฉลอง ๗๐๐ ปี เมืองเชียงใหม่
  • พ.ศ.๒๕๓๗ ได้รับพระราชทานโล่และเข็มเกียรติคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในด้านอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น ด้านภาษา และ วรรณกรรมของไทย
  • พ.ศ.๒๕๓๘ ได้รับพัดยศพัฒนาดีเด่น พร้อมด้วยใบประกาศเกียรติคุณ จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
  • พ.ศ.๒๕๔๑ ได้รับโล่เกียรติคุณจากยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ใน พระบรมราชินูปถัมภ์ ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านการเผยแผ่วิปัสสนากรรมฐาน เนื่องในโอกาสครบรอบ ๔๘ ปี ของยุวพุทธิกสมาคม
  • พ.ศ.๒๕๔๒ ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณจากชมรมผู้สูงอายุอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นองค์ประธานอุปถัมภ์การก่อสร้างอาคารชมรมผู้สูงอายุอำเภอจอมทอง จนประสบความสำเร็จ
  • พ.ศ.๒๕๕๐ ได้รับโล่เกียรติคุณจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ โดย พระครูพิพิธสุตาธร รองอธิการบดี มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ในฐานะเป็นผู้กระทำคุณประโยชน์แก่มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ.๒๕๕๐ ได้รับโล่เกียรติคุณจากมหาธาตุวิทยาลัยโดยพระธรรมสุธี อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ให้เป็นศิษย์เก่าผู้ได้รับความสำเร็จอย่างสูงทั้งทางโลก และทางธรรม
  • พ.ศ.๒๕๕๑ ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณรางวัลการส่งเสริมการศึกษาเพื่อสันติภาพ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๑ จากมูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต)
  • พ.ศ.๒๕๕๓ ได้รับรางวัล พุทธคุณูปการ ประเภทวัชรเกียรติคุณ จากสภาผู้แทนราษฎรไทย
  • พ.ศ.๒๕๕๔ ได้รับถวายปริญญา "ศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์" สาขาบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • พ.ศ.๒๕๕๕ ได้รับถวายปริญญา "ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์" มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • พ.ศ.๒๕๕๖ ได้รับถวายปริญญา "ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติศักดิ์" สาขาวิชาพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

สมณศักดิ์

สมณศักดิ์ไทย

  • พ.ศ.๒๕๑๑ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ที่ พระครูพิพัฒน์คณาภิบาล[2]
  • พ.ศ.๒๕๓๓ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระสุพรหมยานเถร[3]
  • พ.ศ.๒๕๔๒ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระราชพรหมาจารย์ ไพศาลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
  • พ.ศ.๒๕๔๒ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระเทพสิทธาจารย์ ภาวนาวิธานประยุต วิสุทธิมงคลชัยสิทธิ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี''[5]
  • พ.ศ.๒๕๕๒ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระธรรมมังคลาจารย์ ภาวนาวิธานประยุต วิสุทธิธรรมโสภณ วิมลศาสนกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]

สมณศักดิ์ต่างประเทศ

  • พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์ จากสังฆสภารามัญมหานิกายประเทศศรีลังกาให้เป็น “พระศาสนโสภณสิริบวรวิปัสสนากัมมัฏฐานาจารย์”
  • พ.ศ.๒๕๕๔ ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์ จากประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ให้เป็น “อัคคมหากัมมัฏฐานาจาริยะ” [7]

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. ประวัติ พระธรรมมังคลาจารย์ - วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
  2. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 85, ตอนที่ 122, 31 ธันวาคม 2511, ฉบับพิเศษหน้า 6.
  3. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 107, ตอนที่ 242, 5 ธันวาคม 2533, ฉบับพิเศษหน้า 5.
  4. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 116, ตอนที่ 23 ข, 27 ธันวาคม 2542, หน้า 5.
  5. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 123, ตอนที่ 2 ข, 12 มกราคม 2549, หน้า 4.
  6. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 127, ตอนที่ 3 ข, ๒๕ กุมภาพันธ 2553, หน้า 2.
  7. ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์ จากประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ให้เป็น “อัคคมหากัมมัฏฐานาจาริยะ”