ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาโมง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15:
| binomial = ''Pangasius conchophilus''
| binomial_authority = [[ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์|Roberts]] & [[ชวลิต วิทยานนท์|Vidthayanon]], [[ค.ศ. 1991|1991]]
| status = LC
| status_system = iucn3.1
| status_ref = <ref name="iucn">{{IUCN|id=181218|taxon=''Pangasius conchophilus''|assessors=Vidthayanon, C. |assessment_year=2011|version=2015.2|accessdate=3 September 2015}}</ref>
}}
 
{{ความหมายอื่น|เกี่ยวกับ=ปลาน้ำจืด|สำหรับ=เวลาเป็นโมงยาม|ดูที่=โมงยาม}}
'''ปลาโมง''' ({{lang-en|Snail eater pangasius}})<ref>[http://www.moohin.com/animals/other-35.shtml ปลาสายยู]</ref> เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Pangasius conchophilus'' อยู่ใน[[วงศ์ปลาสวาย]] (Pagasiidae) มีลักษณะคล้ายปลา[[เผาะ]] (''P. bocourti'') อันเป็นปลาที่อยู่ใน[[สกุล (ชีววิทยา)|สกุล]][[Pangasius|เดียวกัน]] มีตาเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง หนวดยาวถึงบริเวณช่องเหงือก แถบฟันบนเพดานเชื่อมติดกันเป็นรูปเหลี่ยม รูปร่างเพรียว หางคอด ก้านครีบแข็งที่หลังค่อนข้างยาวและใหญ่ หัวและลำตัวสีเทาหรือสีเขียวมะกอกเหลือบเหลืองหรือเขียว บางตัวสีเทาจาง ข้างลำตัวสีจางและไม่มีแถบคล้ำ ท้องสีจาง ครีบสีจาง ลูกปลามีสีเทาอมน้ำตาลหรือเหลือง มีขนาดประมาณ 60-80 เซนติเมตร
 
พบปลาที่ถูกค้นพบในปี [[พ.ศ. 2534]] โดยระบุว่าเป็นปลาชนิดใหม่ที่มีขนาดเล็ก กิน[[กุ้ง]], [[ปู]] และ[[แมลง]]เป็นส่วนใหญ่ ปลาขนาดใหญ่กิน[[หอย]], ปู และเมล็ดพืช โดยหอยจะถูกกินทั้งตัวแล้วถ่ายออกมาเฉพาะเปลือก อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ พบมากใน[[แม่น้ำโขง]], [[แม่น้ำเจ้าพระยา]] และ[[แม่น้ำบางปะกง]] มีการบริโภคโดยการปรุงสด และหมักสับปะรด เนื้อมีรสชาติดี ในต่างประเทศ เช่น เวียดนาม มาเลเซีย มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้เป็นปลาเศรษฐกิจด้วย
 
มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาโมงออดอ้อ", "ปลาเผาะ" (เรียกซ้ำกับปลาเผาะชนิด ''P. bocourti''), "ปลาสายยู" หรือที่ทางกรมประมงตั้งให้ คือ "ปลาสายยูเผือก" เป็นต้น<ref>หน้า 33, ''สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒'' โดย [[สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์]] ([[พ.ศ. 2547]]) ISBN 974-00-8738-8</ref>
 
== ดูเพิ่ม ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาโมง"