ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ย่างกุ้ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Payute (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 68:
 
===ร่างกุ้งในยุคอาณานิคม===
[[File:Yangon Rangoon and Environ map 1911.jpg|thumb|300px|แผนที่เมืองย่างกุ้งและสิ่งแวดล้อม, 2454]]
[[File:Public Gardens, Rangoon.jpg|thumb|left|ภาพของสวนทหาร (ปัจจุบันคือ สวน กันดอว์ มินกลาร์ (Kandaw Minglar Garden)) ในปี 2411.]]
[[File:RangoonStreetView.jpg|thumb|left|ความเสียหายของเมืองย่างกุ้งจากผลพวงของสงครามโลกครั้งที่สอง.]]
[[File:USDS Nargis Rangoon Destroyed House 2.jpg|thumb|left|หนึ่งในบ้านหลายหลังที่ถูกทำลายจาก [[พายุหมุนนาร์กิส]]]]
อังกฤษยึดย่างกุ้งและส่วนล่างของพม่าทั้งหมดได้ในสงครามระหว่างอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 2 เมื่อปี 2395 และได้เปลี่ยนย่างกุ้งให้กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการเมืองของพม่าของอังกฤษ (British Burma) และยังเป็นสถานที่ซึ่งอังกฤษส่งตัวจักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาห์ ซาฟาร์ที่ 2 จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โมกุลของอินเดียมาจองจำหลังจากเกิดเหตุการณ์กบฎอินเดีย หรือกบฎซีปอยขึ้นเมื่อปี 2400 อังกฤษได้สร้างเมืองย่างกุ้งใหม่โดยวางผังเมืองเป็นรูปตารางบนที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ โดยมีร้อยโทอเล็กซานเดอร์ เฟรเซอร์ นายทหารช่างเป็นผู้ควบคุมการออกแบบ มีพื้นที่ทอดยาวไปทางทิศตะวันออกจรดแม่น้ำพะซุนดวง (Pazundaung Creek) ทิศตะวันตกและทิศใต้จรดแม่น้ำย่างกุ้ง ย่างกุ้งกลายเป็นเมืองหลวงของพม่าของอังกฤษหลังจากที่อังกฤษยึดพม่าตอนบนได้ในสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 3 เมื่อปี 2428 และตั้งแต่ทศวรรษที่ 1890 เป็นต้นมา ประชากรและการค้าในย่างกุ้งเติบโตขึ้นอย่างรุ่งเรืองซึ่งเป็นผลให้เมืองขยายออกไปทางเหนือจรด รอยัล เลค หรือทะเลสาบ กันดอจี (Kandawgyi) และทะเลสาบอินยา (Inya Lake)<ref name="autogenerated4">{{cite web|url=http://www.bookrags.com/Yangon |title=Yangon Summary Review and Analysis |publisher=Bookrags.com |date=17 October 2005 |accessdate=17 April 2010}}</ref> นอกจากนี้อังกฤษยังได้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้น หนึ่งในนั้นคือ โรงพยาบาลย่างกุ้ง (Rangoon General Hospital) และวิทยาลัย ซึ่งก็คือ [[มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง]] (Rangoon University) ในปัจจุบัน