ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยูเนสโก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 12:
 
ยูเนสโกได้จัดให้มีสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานย่อยประจำพื้นที่ เพื่อให้ยูเนสโกประสานงานกับประเทศต่าง ๆ ได้อย่างใกล้ชิด แต่ละประเทศสมาชิกจะจัดให้มีสำนักผู้แทนถาวรประจำยูเนสโก และสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโกของประเทศนั้น ๆ เพื่อดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายงานของยูเนสโกโดยเฉพาะ
 
== ประเทศไทยกับยูเนสโก ==
ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การยูเนสโกเมื่อวันที่ [[1 มกราคม]] [[พ.ศ. 2492]] นับเป็นประเทศสมาชิกลำดับที่ 49 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้ง '''คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ''' (National Commission for UNESCO) เพื่อให้เป็นไปตามกฎบัตรของยูเนสโก โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน, ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธาน, และ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฝ่ายการต่างประเทศ) เป็นเลขาธิการ
 
ต่อมาเมื่อวันที่ [[26 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2492]] ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อประสานงานกับยูเนสโก คือ '''สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ''' ตั้งอยู่ที่ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานในระดับชาติของกิจกรรมที่อยู่ในขอบข่ายงานของยูเนสโก มี 6 ด้านได้แก่ การศึกษา วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วัฒนธรรม การสื่อสารและสารสนเทศ ส่วนด้านสุดท้ายเป็นหัวข้อพิเศษ ซึ่งในทางปฏิบัติจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติงานเฉพาะด้าน ตามภารกิจและความชำนาญ
 
ในปี [[พ.ศ. 2504]] คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้องค์การยูเนสโกจัดตั้ง '''สำนักงานส่วนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก''' ขึ้นที่ประเทศไทย โดยปัจจุบันอยู่ที่ “อาคาร ๑๐๐ ปี หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (Mom Luang Pin Malakul Centenary Building)” อยู่ใกล้กับ สสวท. และท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
 
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2525]] ได้มีการจัดตั้ง '''สำนักงานคณะผู้แทนถาวรไทย''' ประจำ ณ สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุง[[ปารีส]] โดยมีเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส เป็นผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก ส่วน[[กระทรวงศึกษาธิการ]]ได้จัดส่งนักวิชาการศึกษามาประจำที่สำนักงาน เพื่อทำหน้าที่รองผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก แต่ในปี [[พ.ศ. 2540]] ประเทศไทยได้ประสบภาวะเศรษฐกิจ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้เสนอปิดสำนักงานเป็นการชั่วคราว และรองผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก ได้เดินทางกลับมาปฏิบัติหน้าที่ที่กรุงเทพฯ โดยมีสำนักงานชั่วคราวที่กองการสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ได้มอบหมายให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลงานของยูเนสโกแทน
ในฐานะประเทศสมาชิก ประเทศไทยได้ชำระเงินอุดหนุนองค์การเป็นประจำ โดยมีสัดส่วน ร้อยละ 0.335 โดยการตั้งงบประมาณไว้ที่กระทรวงศึกษาธิการ ในปีงบประมาณปี [[พ.ศ. 2545]] ประเทศไทยได้ชำระค่าสมาชิกให้กับยูเนสโก เป็นจำนวน 35.18 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีเงินอุดหนุนสำนักงานส่วนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ที่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ เงินอุดหนุนศูนย์ ICCROM ที่ประเทศอิตาลี และเงินอุดหนุนกองทุนมรดกโลก อีก 905,000 บาท
 
== อ้างอิง ==