ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปางนาคปรก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saerin (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 553679 โดย BotKung ด้วยสคริปต์จัดให้
Saerin (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติ: +ต้องการหมวดหมู่ +เก็บกวาดด้วยสคริปต์จัดให้
บรรทัด 2:
'''ปางนาคปรก''' เป็นชื่อเรียก[[พระพุทธรูป]]ลักษณะนั่งสมาธิ และมีพระยานาคแผ่หัวเป็นพังพานขึ้นจากไหล่ไปปรกพระเศียรของพระพุทธรูป แต่เดิมทำเป็นรูปพระยานาคเป็นมนุษย์ มีรูปงู 7 หัวเป็นพังพานขึ้นจากไหล่ไปปรกพระเศียร ในกิริยาที่พระยานาคทำท่านมัสการพระพุทธเจ้า ต่อมาภายหลังทำพระยานาคเป็นรูปงูขดตัวเป็นฐานตั้งพระพุทธรูปนั่งสมาธิบนตัวพระยานาค และมีพังพานและหัวของพระยานาค 7 เศียรปกอยู่
 
{{ต้องการหมวดหมู่}}
== ประวัติ ==
หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ พระองค์ท่านได้แปรที่ประทับเพื่อเสวยวิมุติสุขยังสถานที่ต่าง ๆ ในอาณาบริเวณที่ไม่ห่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์นักโดยประทับแต่ละที่สัปดาห์ละ 7 วัน และในสัปดาห์ที่สาม ในขณะที่พระพุทธองค์ทรงประทับ ณ ใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาประทับอยู่ที่นี่ ได้บังเกิดมีฝนและลมหนาวตกพรำตลอดเจ็ดวันไม่ขาดสาย ผู้รจนาปฐมสมโพธิได้แต่งเล่าเรื่องไว้ว่า พญานาคชื่อ "มุจลินท์" ได้ขึ้นจากสระน้ำที่อยู่ในบริเวณแห่งเดียวกันนี้ เข้าไปวงขนด 7 รอบ แล้วแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้า เพื่อป้องกันลมฝนมิให้พัดและสาดกระเซ็นมาต้องพระวรกาย ครั้นฝนหาย ฟ้าสาง พญานาคจึงคลายขนดออก แล้วจำแลงเป็นเพศมาณพยืนเฝ้าพระพุทธเจ้าทางเบื้องพระพักตร์ ลำดับนั้นพระพุทธองค์จึงทรงเปล่งอุทานว่า “
<pre>
'''ความสงัดคือความสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้วได้รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไร'''
'''ความสำรวมไม่เบียดเบียนในสัตว์ทั้งหลาย และ ความเป็นผู้ปราศจากกำหนัดหรือสามารถก้าวล่วงพ้นซึ่งกามทั้งปวงเสียได้'''
'''เป็นสุขอันประเสริฐในโลก ความขาดจากอัสมิมานะหรือการถือตัวตนหากกระทำให้ (การถือตัว) หมดสิ้นไปได้นั้นเป็นความสุขอย่างยิ่ง'''
</pre>
 
==ลักษณะพระพุทธรูป==