ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทฤษฎีสัมพัทธภาพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''ทฤษฎีสัมพัทธภาพ''' ครอบคลุมสองทฤษฎีของ[[อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์]] คือ [[ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ]]และ[[ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป]] มโนทัศน์ที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพริเริ่มมี[[ปริภูมิ-เวลา]]ซึ่งเป็นเอนทิตีรวม (unified entity) ของ[[ปริภูมิ]]และ[[เวลา]] สัมพัทธภาพของความเป็นเวลาเดียวกัน (relativity of simultaneity) การเปลี่ยนขนาดของเวลาทางจลนศาสตร์และความโน้มถ่วง (kinematic and gravitational time dilation) และการหดตัวของความยาว (length contraction)
 
ทฤษฎีสัมพัทธภาพเปลี่ยนแปลง[[ฟิสิกส์ทฤษฎี]]และ[[ดาราศาสตร์]]ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อพิมพ์ครั้งแรก สัมพัทธภาพเข้าแทนที่[[กลศาสตร์ดั้งเดิม|ทฤษฎีกลศาสตร์]]อายุ 200 ปีที่[[ไอแซก นิวตัน]]เป็นผู้ประดิษฐ์หลัก
ทฤษฎีทั้งสองนี้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อใช้อธิบายข้อเท็จจริงที่ว่า[[คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า]]ไม่เป็นไปตาม[[กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน]] คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่โดยไม่ขึ้นกับการเคลื่อนที่ของผู้สังเกต แนวคิดหลักของทั้ง 2 ทฤษฎีนี้ คือ แม้ผู้สังเกตสองคนที่กำลังเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันนั้นอาจจะตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงของเวลาและตำแหน่งได้ต่างกันสำหรับเหตุการณ์หนึ่ง ๆ แต่ทั้งสองจะยังคงสังเกตเห็นเนื้อหาของกฎทางฟิสิกส์เหมือนกัน
 
ในสาขาฟิสิกส์ สัมพัทธภาพพัฒนาวิทยาศาสตร์ของอนุภาคมูลฐานและอันตรกิริยามูลฐานของพวกมัน ร่วมกับการก้าวสู่ยุคนิวเคลียร์ ด้วยสัมพัทธภาพ จักรวาลวิทยาและฟิสิกส์ดาราศาสตร์ทำนายปรากฏการณ์ดาราศาสตร์พิเศษอย่าง[[ดาวนิวตรอน]] [[หลุมดำ]]และ[[คลื่นความโน้มถ่วง]]
 
== สัมพัทธภาพพิเศษ ==