ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อินทร สิงหเนตร"

ไม่มีคำอธิบายอย่างย่อ
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
นายอินทร เข้ารับการศึกษาที่[[โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย]] ต่อมาย้ายไปเรียนที่[[โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย]] ต่อมาได้ศึกษาจนจบปริญญาธรรมศาสตรบัณฑิต (ธ.บ.) จาก[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] และเนติบัณฑิตไทย และประกอบอาชีพเป็นทนายความ จากนั้นจึงลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2480 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งที่สองในประเทศไทย และได้รับเลือกอีก 2 สมัยต่อมา
 
นายอินทร เป็นนักการเมืองที่มีบทบาทในการคัดค้านการเสนอให้วันที่ [[24 มิถุนายน]] เป็นวันชาติตามข้อเสนอของ[[จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] ร่วมกับนาย[[เลียง ไชยกาล]] ด้วยเหตุผลว่านั่นเป็น[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|วันปฏิวัติ]] และไม่เป็นการเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้นายอินทร และนายเลียง ถูกจับโยนลงในสระน้ำพระที่นั่งอนันตสมาคม และถูกสภาผู้แทนราษฎรขับออกจากสภาผู้แทนราษฎร<ref>[http://www.dailynews.co.th/article/349/165500 7 พฤศจิกายน]</ref> ในปี พ.ศ. 2481<ref>[http://www.dailynews.co.th/Content/Article/28242/วันที่+28+มีนาคม วันที่ 28 มีนาคม] จาก เดลินิวส์</ref>
 
ในระหว่าง[[การอภิปรายไม่ไว้วางใจ]]ในปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2490 ในสมัยรัฐบาล พลเรือตรี [[ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์]] เป็นนายกรัฐมนตรี ที่มีการอภิปรายนานถึง 7 วัน 7 คืน ที่เรียกกันว่า "มหกรรม 7 วัน" ในระหว่างนี้ ส.ส.[[พรรคประชาธิปัตย์]] หลายคนถูกลอบยิงหรือลอบทำร้าย เช่น นาย[[สุวิชช พันธเศรษฐ]] ถูกลอบยิงแต่รอดมาได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย หลังเลิกอภิปรายในช่วงเวลาค่ำคืน [[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]] รองหัวหน้าพรรคได้ใช้รถยนต์[[มินิ]]ยี่ห้อ[[มอร์ริส]]ที่ยืมมาจาก พลตำรวจตรี [[พระพินิจชนคดี]] พี่เขย พา ส.ส. ของพรรคนั่งรวมกันแล้วไปส่งถึงบ้านพักของแต่ละคนจนครบ คืนหนึ่ง ที่บริเวณหน้า[[วัดมกุฏกษัตริยาราม]] ซึ่งเป็นที่มืดและเปลี่ยว มีรถยนต์สีดำยี่ห้อ[[เรย์โนลต์]]วิ่งตามมาด้วยท่าทีไม่ประสงค์ดี นายอินทรซึ่งนั่งข้าง ๆ ม.ร.ว.เสนีย์ อาสาจะต่อสู้ด้วยปืนพกกระบอกเล็กที่มีความยาวไม่ถึง 4 นิ้วฟุต ที่พกมาในกระเป๋า แต่ปรากฏว่าพอรถวิ่งถึงหน้า[[สนามม้านางเลิ้ง]] เป็นที่สว่าง มีผู้คนสัญจรไปมา รถเรย์โนลต์สีดำคันนั้นก็วิ่งแซงหน้าหายไป<ref>หน้า 146, ''ชีวลิขิต'' โดย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช (2548) ISBN 974-9353-50-1</ref>
ผู้ใช้นิรนาม