ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลียง ไชยกาล"

ไม่มีคำอธิบายอย่างย่อ
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
ในเหตุการณ์[[กบฏพระยาทรงสุรเดช]] นายเลียงได้มีชื่อว่าเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาในการสมคบคิดในการสังหารจอมพล [[แปลก พิบูลสงคราม|ป. พิบูลสงคราม]] ด้วย ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2489]] ที่มีการยุบพรรคก้าวหน้าร่วมกับ[[พรรคประชาธิปัตย์]] นายเลียงก็ได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และได้ทำหน้าที่ฝ่ายค้านอย่างแข็งขัน
 
หลังคดีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้มีคนผู้ตะโกนในโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงว่า ปรีดีฆ่าในหลวง ในเวลาต่อมาผู้ตะโกนถูกจับได้ และซัดทอดนายเลียง ไชยกาล รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้ปราศรัยในกรณีนี้ตามที่ต่าง ๆ อย่างรุนแรง ที่สุดนายเลียงได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมไปคุมขังไว้ในเรือนจำลหุโทษเป็นเวลา 37 วัน<ref name="นาย"/>
 
หลังการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2491|รัฐประหารในปี พ.ศ. 2491]] ที่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์หลายคนได้แยกจากพรรคไป นายเลียง ไชยกาล ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย และได้ก่อตั้งพรรคของตนเองชื่อ พรรคประชาชน มี นาย[[สวัสดิ์ คำประกอบ]] เป็นรองหัวหน้าพรรค และ นายประสิทธิ์ ชูพินิจ เป็นเลขาธิการพรรค ซึ่งต่อมา นาง[[อรพินท์ ไชยกาล]] ภรรยาของนายเลียงก็ได้ลงสมัคร ส.ส.จังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2492 และได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนหญิงคนแรกของไทยด้วย
ผู้ใช้นิรนาม