ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประกันภัยยานพาหนะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่เป็นสารานุกรม
บรรทัด 3:
ประกันภัยรถยนต์ คือ การประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้รถยนต์ โดยในประเทศไทยแบ่งการประกัยวินาศภัยสำหรับรถยนต์ออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ และ ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ โดยทั้งสองกรมธรรม์จะให้การคุ้มครองที่แตกต่างกันออกไป
การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับกรมธรรม์ที่บังคับโดยกฏหมายกล่าวคือรถยนต์ทุกคันไม่ว่าจะเป็น รถใหม่ป้ายแดง หรือ รถเก่านาน 10 ปี จะต้องมีกรมธรรม์ดังกล่าว โดยในประเทศไทยเรียกกันสั้นๆ ว่า พรบ.รถยนต์ ซึ่งบังคับให้รถทุกคันจะต้องลงทะเบียน และต่อในทุกๆ ปี เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะถูกจับดำเนินคดีตามกฏที่ได้ระบุไว้ใน พรบ.รถยนต์ หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
 
== จุดประสงค์ของประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ==
* สาเหตุที่รถยนต์ใหม่ป้ายแดงทั้งหลายจะต้องเลือกใช้พรบ.รถยนต์นั้นมีจุดประสงค์หลักๆ ด้วยกัน 4 ประการซึ่งประกอบไปด้วย
* เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับประสบภัยจากรถไม่ว่าจะเป็นการได้รับอาการบาดเจ็บ หรือ เสียชีวิต โดยจะต้องให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที หรือเป็นค่าปลงศพในกรณีที่เสียชีวิต
* เพื่อเป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล หรือ สถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลในการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ที่ได้รับประสบภัยจากรถ
* สวัสดิกาลสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้กับประชาชนผู้ที่ได้รับความเสียหายจากรถชน
* พื่อสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดร้อน แก่ผู้ประสบภัยและคนในครอบครัว
=== โทษที่ควรรู้สำหรับพรบ.รถยนต์ ===
* ถ้าหากฝ่าฝืนไม่จัดให้มีการทำประกันภัยรถ พรบ คุ้มครองผู้ประสบภัย พ.ศ. 2535 กำหนดให้ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท (สำหรับบุคคลทั่วไป)
* บริษัทใดฝ่าฝืนไม่รับประกันภัยตาม พรบ. คุ้มครองฯ จะต้องระวางโทษปรับตั้งแค่ 50,000 บาทถึง 25,000
=== ความคุ้มครองเบื้องต้นที่ควรจะได้รับจากพรบ.รถยนต์ ===
* ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ยินดีที่จะให้การคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาล, ปลงศพกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด โดยทางบริษัทยินดีที่จะให้ความรับผิดชอบภายใน 7 วัน หลังจากที่ได้รับคำร้องขอดังกล่าว โดยการคุ้มครองจะแบ่งออกเป็นแบบง่ายๆ ดังนี้
* กรณีบาดเจ็บจะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
* กรณีเสียชีวิต จะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพจำนวน 35,000 บาท
* กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาลจะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท และจะได้รับค่าปลงศพจำนวน 35,000 บาท
== การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ==
การประกันภัยรถยนต์ที่เกิดขึ้นโดยความสมัครใจของเจ้าของรถยนต์ที่สามารถเลือกได้ว่าจะมีหรือไม่ก็ได้ ซึ่งไม่ได้ถูกบังคับโดยกฏหมาย และในปัจจุบันเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย
ประเภทของกรมธรรม์แบบภาคสมัครใจ
* กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภทที่ 1 – จะให้การคุ้มครองสูงที่สุด ครอบคลุมที่สุดโดยยินดีให้การคุ้มครองในทุกกรณีที่เกิดขึ้นบนื้องถนน แต่จะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และสามารถเลือกใช้บริการได้ทั่วไป รวมไปจนถึงในกรณีที่เกิดรถหาย ไฟไหม้ เป็นต้น
* กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภทที่ 2 – จะให้การคุ้มครองที่ครอบคลุมค่อนข้างจำกัดจากประเภทแรกอยู่ในระดับ โดยมุ่งเน้นการคุ้มครองไปที่คู่กรณี (รถที่เราไปชน) เป็นหลัก โดยจะไม่ให้การคุ้มครองสำหรับรถยนต์ของผู้ขับขี่ และยังให้การคุ้มครองในกรณีรถหาย ไฟไหม้ หรือผลกระทบจากน้ำท่วม
* กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 พลัส – จะให้การคุ้มครองคล้ายกับประเภท 1 พอสมควร โดยที่จะให้การคุ้มครองสำหรับรถยนต์ของผู้ขับขี่ และคู่กรณี แต่ต้องเป็นอุบัติเหตุที่เกิดกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น โดยจะไม่ให้การคุ้มครองกรณีที่ชนกับสิ่งของอย่างเช่น กำแพง หรือ รั้วบ้าน รวมทั้งยังจะให้การคุ้มครองในกรณีรถหาย หรือไฟไหม้อีกด้วย
* กรมธรรม์ประกันรถยนต์ประเภท 3 – จะให้การคุ้มครองสำหรับรถของคู่กรณี และความเสียหายของบุคคลภายนอกเท่านั้น โดยจะไม่ให้การคุ้มครองกในกรณีรถหาย หรือไฟไหม้และผู้ขับขี่ภายในรถ และจะไม่ให้การคุ้มครองในกรณีไฟไหม้
* กรมธรรม์ประกันรถยนต์ประเภท 3 พลัส – จะให้การคุ้มครองรถยนต์ของคู่กรณี ความเสียหายของบุคคลภายนอก และรถของเรา แต่จะไม่ให้การคุ้มครองในกรณีไฟไหม้ น้ำท่วม หรือรถหาย
== สามารถเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์จากที่ไหนได้บ้าง ? ==
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ สามารถเลือกซื้อ หรือต่อได้ที่กรมขนส่งทางบก ทั่วประเทศไทย หรือสามารถเลือกซื้อได้ผ่านบริษัทประกันภัยต่างๆ ขณะที่ประกันภาคสมัครใจสามารถเลือกซื้อและใช้บริการจากบริษัทประกันภัยที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมาย หรือจะต้องเป็นบริษัทที่ผ่านการรับรองจาก คปค. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) แล้วเท่านั้น โดยบริษัทประกันภัยในประเทศไทยนั้นประกอบไปด้วย [[วิริยะประกันภัย]], ทิพยประกันภัย, [[กรุงเทพประกันภัย]] และอื่นๆ หรือจะเลือกใช้บริการผ่านโบรกเกอร์ประกันภัย หรือ นายหน้าประกันภัยก็ได้ โดยนายหน้าหรือโบรกเกอร์ก็จะต้องผ่านการรับรอง หรือจะต้องได้รับใบอนุญาตในการนำเสนอสินค้าประกันภัยเช่นเดียวกัน
 
== อ้างอิง ==