ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลื่นความโน้มถ่วง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
 
ก่อนการตรวจหาคลื่นความโน้มถ่วงโดยตรง มีหลักฐานโดยอ้อมของการมีอยู่<ref name=HTUW/> ตัวอย่างเช่น การวัด[[ระบบดาวคู่ฮัลส์–เทย์เลอร์]]แนะว่าคลื่นความโน้มถ่วงเป็นมากกว่ามโนทัศน์ทางทฤษฎี แหล่งที่เป็นไปได้อื่นของคลื่นความโน้มถ่วงที่ตรวจหาได้มี[[ระบบดาวคู่]]ที่ประกอบด้วย[[ดาวแคระขาว]] [[ดาวนิวตรอน]]และ[[หลุมดำ]] ใน ค.ศ. 2016 มีตัวตรวจหาคลื่นความโน้มถ่วงหลายตัวอยู่ระหว่างการก่อสร้างหรือกำลังดำเนินงาน เช่น แอดแวนซ์ลิโกซึ่งเริ่มการสังเกตในเดือนกันยายน ค.ศ. 2015<ref>{{cite web|title=The Newest Search for Gravitational Waves has Begun|url=https://ligo.caltech.edu/news/ligo20150918|website=LIGO Caltech|publisher=[[LIGO]]|accessdate=29 November 2015|date=18 September 2015}}</ref> ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 คณะแอดแวนซ์ลิโกประกาศว่าพวกเขาตรวจหาคลื่นความโน้มถ่วงจากการชนของหลุมดำ<ref name='Clark 2016'>{{Cite web|title = Gravitational waves: scientists announce 'we did it!' – live|url = https://www.theguardian.com/science/across-the-universe/live/2016/feb/11/gravitational-wave-announcement-latest-physics-einstein-ligo-black-holes-live|website = the Guardian|date=2016-02-11|access-date = 2016-02-11|first = Stuart|last = Clark}}</ref><ref name="Discovery 2016">{{cite journal |title=Einstein's gravitational waves found at last |journal=Nature News|url=http://www.nature.com/news/einstein-s-gravitational-waves-found-at-last-1.19361 |date=February 11, 2016 |last=Castelvecchi |first=Davide |last2=Witze |first2=Witze |doi=10.1038/nature.2016.19361 |accessdate=2016-02-11 }}</ref><ref>{{cite journal|title=Observation of Gravitational Waves from a Binary Black Hole Merger|authors=B. P. Abbott et al. (LIGO Scientific Collaboration and Virgo Collaboration)|journal=Physical Review Letters|year=2016|volume=116|issue=6|doi=10.1103/PhysRevLett.116.061102}}</ref><ref>{{Cite web|title = Gravitational waves detected 100 years after Einstein's prediction {{!}} NSF - National Science Foundation|url = http://www.nsf.gov/news/news_summ.jsp?cntn_id=137628|website = www.nsf.gov|access-date = 2016-02-11}}</ref>
 
== บทนำ ==
ใน[[ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป]]ของไอน์สไตน์ ความโน้มถ่วงจัดเป็นปรากฏการณ์อันเกิดจากความโค้งของ[[ปริภูมิ-เวลา]] ความโค้งนี้เกิดจากการมี[[มวล]] โดยทั่วไป ยิ่งมีมวลบรรจุอยู่ในปริภูมิปริมาตรหนึ่งมากเท่าใด ความโค้งของปริภูมิ-เวลาจะยิ่งมากเท่านั้นที่ขอบของปริมาตรนี้ เมื่อวัตถุที่มีมวลเคลื่อนไปรอบในปริภูมิ-เวลา ความโค้งดังกล่าวจะเปลี่ยนเพื่อสะท้อนตำแหน่งที่เปลี่ยนของวัตถุเหล่านี้ ในบางกรณีแวดล้อม วัตถุที่มีความเร่งทำให้เกิดการเปลี่ยนความโค้งนี้ ซึ่งแผ่ออกนอกด้วย[[ความเร็วแสง]]ในรูปคล้ายคลื่น ปรากฏการณ์แผ่เหล่านี้เรียก "คลื่นความโน้มถ่วง"
 
เมื่อคลื่นความโน้มถ่วงผ่านผู้สังเกตที่อยู่ไกล ผู้สังเกตนั้นจะพบว่าปริภูมิ-เวลาถูกบิดจากผลของ[[ความเครียด (ฟิสิกส์)|ความเครียด]] ระยะทางระหว่างวัตถุอิสระเพิ่มและลดเป็นจังหวะเมื่อคลื่นผ่าน ด้วยความถี่สมนัยกับคลื่นนั้น เหตุการณ์นี้เกิดแม้วัตถุอิสระเหล่านั้นไม่มีแรงไม่สมดุลกระทำ ขนาดของผลนี้ลดผกผันกับระยะทางจากแหล่งกำเนิด มีการทำนายว่าระบบดาวนิวตรอนคู่ที่เวียนก้นหอยเข้าหากัน (Inspiral) เป็นแหล่งกำเนิดทรงพลัังของคลื่นความโน้มถ่วงเมื่อทั้งสองรวมกัน เนื่องจากความเร่งมหาศาลของมวลทั้งสองขณะที่โคจรใกล้กันและกัน ทว่า เนื่องจากระยะทางทางดาราศาสตร์ถึงแหล่งกำเนิดเหล่านี้ทำให้มีการทำนายว่าผลเมื่อวัดบนโลกจะน้อยมาก มีความเครียดน้อยกว่า 1 ส่วนใน 10<sup>20</sup> นักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามแสดงการมีอยู่ของคลื่นเหล่านี้ด้วยตัวรับที่ไวขึ้นอีก การวัดที่ไวที่สุดในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 1 ส่วนใน {{val|5|e=22}} (ใน ค.ศ. 2012) ที่เป็นของหอดูดาวลิโกและเวอร์โก หอดูดาวบนอวกาศ สายอากาศอวกาศอินเตอร์เฟียโรมิเตอร์เลเซอร์ (Laser Interferometer Space Antenna) กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาโดย[[องค์การอวกาศยุโรป]]
 
== อ้างอิง ==