ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนันตริยกรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24:
 
ส่วนถ้าใครทำอนันตริยกรรมไว้หลายข้อ ก็จะต้องไปบังเกิดมหาขุมนรกอเวจีสถานเดียวอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แม้ทำกรรมดีเท่าใดก็ไม่พ้นและได้รับการลงโทษเป็นเวลายาวนานมากหรือหลายกัลป์ แต่บางครั้งอาจได้รับการลดโทษด้วยการลดเวลาการลงโทษเหลือเพียง 1 กัลป์ ตัวอย่างเช่น[[พระเทวทัต]]ทำกรรมหนักไว้ 2 ประการคือโลหิตุปบาทและสังฆเภท พระเทวทัตสำนึกผิดจึงให้บรรดาพระลูกศิษย์พาตนไปหาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ที่วัดเชตวันมหาวิหารเพื่อขอขมา แต่เมื่อไปถึงสระโบกขรณีหน้าวัดเชตวันมหาวิหาร บรรดาพระลูกศิษย์ได้หยุดพักแวะอาบน้ำชำระร่างกายก่อนเข้าเฝ้า พระเทวทัตต้องการจะอาบน้ำชำระเช่นกัน เมื่อเท้าของท่านสัมผัสกับแผ่นดิน ด้วยบาปกรรมที่หนักมากจนแผ่นดินไม่อาจรองรับไว้ได้จึงสูบเอาพระเทวทัตลงไปสู่มหาขุมนรกอเวจี ไม่มีใครช่วยได้เลย แต่ก่อนที่จะจมลงธรณี พระเทวทัตซึ่งเหลือแต่เศียรได้มองไปยัง[[วัดเชตวันมหาวิหาร]]ที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ก็กล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณและถวายกระดูกคางเป็นพุทธบูชาและยึดเอาพระพุทธองค์เป็นที่พึ่งตลอดกาล เมื่อลงสู่มหาขุมนรกอเวจีแล้ว บุญกุศลจากการถวายกระดูกคางก็ทำให้ถูกลงโทษในนรกอเวจีเพียง 1 กัลป์เท่านั้น
 
==บาปที่หกแห่งอนันตริยกรรม==
นอกจากบาปแห่งอนันตริยกรรมมีอยู่ห้าข้อแล้ว ยังมีอีกบาปหนึ่งซึ่งได้ถูกจัดเป็นอนันตริยกรรมนั้นก็คือ การทำแท้ง เพราะเด็กที่อยู่ในครรภ์มารดานั้นมีความบริสุทธิ์ มิเคยสร้างบาปกรรมใดๆเลยและไม่มีเหตุปัจจัยของการสร้างกรรม เปรียบเสมือนเป็นพระอรหันต์ การทำแท้งเด็กที่อยู่ในครรภ์มารดาก็เทียบเท่ากับฆ่าพระอรหันต์ ดังนั้นผู้ที่ทำแท้งจะต้องได้รับผลกรรมก็คือ เป็นโรคร้าย อายุสั้น ครั้นหลังจบชีวิตลงแล้วก็ต้องไปรับโทษในนรกเป็นเวลายาวนานอันมิอาจประมาณได้ มิหนำซ้ำยังต้องถูกวิญญาณเด็กที่ถูกทำแท้งต้องกลายเป็นเจ้ากรรมนายเวรต้องคอยตามล่าผู้ที่ทำแท้งไปทุกชาติจนกว่าแรงกรรมนั้นจะได้ชำระแต่ก็ยังไม่สิ้นสุดตราบที่วิญญาณนั้นยังไม่อโหสิกรรมให้
 
== อ้างอิง ==