ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอสามชุก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 24:
ในหนังสือ[[นิราศสุพรรณ]]ของ[[สุนทรภู่]] นิทานย่านสุพรรณ และบันทึกคนรุ่นเก่ากล่าวไว้ว่า สามชุกในอดีตเป็นแหล่งรวมของการแลกเปลี่ยนสินค้า โดย[[ชาวกะเหรี่ยง]] [[ชาวลาว]] และ[[ชาวละว้า]]จะนำเกวียนบรรทุกของป่ามาขายแลกกับสินค้าที่ชาวเรือนำมาจากทางใต้ที่บริเวณท่าน้ำ เป็นตลาดมีเรือมาจอดมากมายเพื่อรับส่งข้าวจากโรงสีต่าง ๆ สินค้าที่ชาวบ้านนำมานั้นบรรจุอยู่ใน "[[กระชุก]]" ซึ่งทำจากลำไม้ไผ่ จึงเป็นที่มาหนึ่งของชื่อ "สามชุก" ส่วนอีกชื่อหนึ่งที่เรียกขานพื้นที่นี้คือ "สามเพ็ง" ซึ่งเพี้ยนมาจาก "สามแพร่ง" เนื่องจากเป็นที่ชุมนุมของพ่อค้าที่เดินทางมาจากทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก
 
พีระศักดิ์ โพธิ์หอม นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น กล่าวว่า ในอดีตมีการรวมตัวของชุมชนที่บริเวณท่ายาง กับสามชุก ก่อนจะขยับขยายมาที่สามเพ็ง(ภายหลังเรียกกันว่า หรือสำเพ็ง คือบริเวณตลาดสามชุกในปัจจุบัน) ส่วนชื่อของสามชุกนั้นประการหนึ่งสันนิษฐานว่า ลากเสียงมาจากคำว่า "ส่ำชุก" ซึ่ง "ส่ำ , สำ" เป็นภาษาท้องถิ่นแต่โบราณ ใช้เรียก สถานที่ พวก หมู่ เหล่า อยู่รวมกัน ส่วน "ชุก" นั้นก็คือจำนวนมาก ดังนั้น "ส่ำชุก" จึงหมายถึง ชุมชน หมู่บ้าน ที่ตั้งอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ด้วยเป็นดินแดนท่า ปากป่า ลำน้ำ ที่สำคัญมาแต่โบราณ โดยอาจจะมากด้วยกลุ่มชน ตระกูล บ้าน หรือใดๆ ที่ชุกตัว ซึ่งมีข้อสังเกตอย่างเดียวกับการเรียกชื่อหมู่บ้านตามลักษณะของชุมชนหรือภูมิประเทศอันขึ้นต้นด้วยคำว่า ทับ ตรอก ชุม ค่าย ท่า หนอง ดอน บาง เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏชื่อหมู่บ้านในท้องถิ่นสุพรรณบุรีเรียกว่า "สาม , สำ" เช่นเดียวกัน อาทิ สามจุ่น สามนาก สามทอง สามเอก สามหน่อ สำปะร้า สำปะซิว(สำปะทิว) สำเพ็ง(สามเพ็ง)
 
เมื่อปี [[พ.ศ. 2437]] ทางราชการได้ตั้งอำเภอมีชื่อว่า '''อำเภอนางบวช''' และบ้านสามชุก มีสถานะเป็นตำบลๆหนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอนางบวช ครั้นถึงปี [[พ.ศ. 2454]] ได้มีการเสนอขอจัดตั้งอำเภอขึ้นอีกแห่งหนึ่งแยกจากอำเภอนางบวช ในบริเวณหมู่บ้านเขาพระ โดยใช้ชื่อว่า '''อำเภอเดิมบาง''' จึงทำให้ต้องย้ายที่ว่าการอำเภอนางบวชซึ่งขณะนั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ของอำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่(อำเภอเดิมบาง)ลงมาอยู่บริเวณหมู่บ้านสามเพ็ง ในพื้นที่ตำบลสามชุก กระทั่งปี [[พ.ศ. 2457]] จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อจากอำเภอนางบวชเป็น '''อำเภอสามชุก''' เพื่อไม่ให้เกิดการสับสนกับอดีต และให้สอดคล้องกับชื่อตำบลที่ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่