ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอสามชุก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 24:
ในหนังสือ[[นิราศสุพรรณ]]ของ[[สุนทรภู่]] นิทานย่านสุพรรณ และบันทึกคนรุ่นเก่ากล่าวไว้ว่า สามชุกในอดีตเป็นแหล่งรวมของการแลกเปลี่ยนสินค้า โดย[[ชาวกะเหรี่ยง]] [[ชาวลาว]] และ[[ชาวละว้า]]จะนำเกวียนบรรทุกของป่ามาขายแลกกับสินค้าที่ชาวเรือนำมาจากทางใต้ที่บริเวณท่าน้ำ เป็นตลาดมีเรือมาจอดมากมายเพื่อรับส่งข้าวจากโรงสีต่าง ๆ สินค้าที่ชาวบ้านนำมานั้นบรรจุอยู่ใน "[[กระชุก]]" ซึ่งทำจากลำไม้ไผ่ จึงเป็นที่มาหนึ่งของชื่อ "สามชุก" ส่วนอีกชื่อหนึ่งที่เรียกขานพื้นที่นี้คือ "สามเพ็ง" ซึ่งเพี้ยนมาจาก "สามแพร่ง" เนื่องจากเป็นที่ชุมนุมของพ่อค้าที่เดินทางมาจากทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก
 
พีระศักดิ์ โพธิ์หอม นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ได้สันนิษฐานไว้ประการหนึ่งว่าชื่อของสามชุกนั้น อาจมาจากคำว่า "ส่ำ , สำ" ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่น ใช้เรียกสิ่งที่อยู่รวมปะปน หรือมีความหลากหลาย ซึ่งในที่นี้หมายถึงสถานที่ ส่วนคำว่า "ชุก" คือ จำนวนที่มีมากมาย ดังนั้น "สามชุก" จึงหมายถึง ชุมชน หมู่บ้าน ที่อยู่รวมกัน มีความหลากหลาย มากมาย อาจจะด้วยทางกลุ่มชน ชาติพันธุ์ การค้าขาย หรือใดๆ ซึ่งมีข้อสังเกตเดียวกับการเรียกชื่อหมู่บ้านอันขึ้นต้นด้วยลักษณะว่า ดอน , ทับ , บาง , หนอง เป็นต้น ทั้งยังปรากฏชื่อหมู่บ้านอื่นๆในท้องถิ่นสุพรรณบุรีซึ่งเรียกว่า "สาม , สำ" เช่นเดียวกัน อาทิ สามจุ่น สามนาก สามทอง สามเอก สามหน่อ สำปะซิว(สำประทิว) สำเพ็ง(สามเพ็ง)
 
เมื่อปี [[พ.ศ. 2437]] ทางราชการได้ตั้งอำเภอมีชื่อว่า '''อำเภอนางบวช''' ครั้นถึงปี [[พ.ศ. 2454]] ได้มีการเสนอขอจัดตั้งอำเภอทางฝ่ายเหนือของจังหวัดสุพรรณบุรีขึ้นอีกแห่งหนึ่งในบริเวณหมู่บ้านเขาพระ ตั้งชื่อว่า '''อำเภอเดิมบาง''' และได้ย้ายที่ว่าการอำเภอนางบวชมาอยู่บริเวณหมู่บ้านสามเพ็ง ตำบลสามชุกด้วย จนในปี [[พ.ศ. 2457]] ได้มีการเปลี่ยนชื่อจากอำเภอเดิมบางเป็น '''อำเภอสามชุก''' เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อตำบลที่ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่