ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความเด่น (พันธุศาสตร์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 5:
== พื้นฐาน (ดิพลอยด์ โครโมโซม ยีน โลคัส และอัลลีล) ==
=== ดิพลอยด์และแฮพลอยด์ ===
พืชส่วนใหญ่ (เช่น ต้นถั่ว) และสัตว์ส่วนใหญ่ (เช่น แมลงวันผลไม้ และมนุษย์) มีโครโมโซมเป็นชุดคู่ เรียกว่า[[ดิพลอยด์]] โครโมโซมตัวหนึ่งของแต่ละคู่จะได้รับมาจากพ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ผ่านทาง[[ไข่]]หรือ[[อสุจิ]] โครโมโซมทั้งสองจะมารวมกันในขั้นตอน[[การปฏิสนธิ]] เซลล์ไข่และเซลล์อสุจิแต่ละเซลล์จะมีโครโมโซมเพียงตัวเดียวของแต่ละคู่ของโครโมโซมเท่านั้น เรียกว่าแฮพลอยด์ การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ซึ่งเป็นแฮพลอยด์เกิดขึ้นด้วยกระบวนการแบ่งเซลล์แบบ[[ไมโอซิส]]
=== อย่างไรคือ "เด่น" ===
คำว่า "เด่น" และ "ด้อย" ในที่นี้หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัลลีลแต่ละอัลลีล[[อัลลีล]]แต่ละอัลลีลในการทำให้เกิดลักษณะปรากฏของสิ่งมีชีวิตที่เป็น[[เฮเทอโรไซกัส]] ซึ่งอัลลีลที่ควบคุมลักษณะที่แสดงออกให้พบถือว่าเป็นอัลลีลเด่น และลักษณะนั้นๆ ถือเป็นลักษณะเด่น ส่วนอัลลีลที่ควบคุมลักษณะที่ไม่ได้แสดงออกให้พบถือว่าเป็นอัลลีลด้อย และลักษณะนั้นๆ ถือเป็นลักษณะด้อย หลักการของความเด่นในสิ่งมีชีวิตที่เป็นเฮเทอโรไซกัสคือลักษณะปรากฏหนึ่งๆ ในสิ่งมีชีวิตที่มียีนนั้นเป็นเฮเทอโรไซกัส เหมือนกันทุกประการกับลักษณะปรากฏนั้นๆ ในสิ่งมีชีวิตที่มียีนนั้นเป็นโฮโมไซกัส
 
ความเด่นนี้เป็นความสัมพันธ์เชิงพันธุกรรมของอัลลีลแต่ละอัลลีล ซึ่งแสดงออกเป็นลักษณะปรากฏ ไม่เกี่ยวกับว่าลักษณะปรากฏนั้นๆ จะมีลักษณะเช่นไร ไม่เกี่ยวว่าจะเป็น "ปกติ" หรือ "ไม่ปกติ" "เป็นโรค" หรือ "ไม่เป็นโรค" "แข็งแรง" หรือ "อ่อนแอ" "มาก" หรือ "น้อย" แต่อย่างใด