ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันเข้าพรรษา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
wwv
บรรทัด 1:
{{มุมมองสากล}}
{{พุทธศาสนา}}
{{ความหมายอื่น|วันสำคัญทางพุทธศาสนา|เข้าพรรษาความหมายอื่น|เข้าพรรษา}}
[[ไฟล์:Vassa inWat Up Mung.jpg|170px|thumb|วันเข้าพรรษา หรือ การเข้าพรรษา เป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ ซึ่ง[[พุทธศาสนิกชน]]ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมเพื่อละเว้น[[อกุศล|สิ่งไม่ดี]]เพื่อพยายาม[[กุศล|ประกอบความดี]]ในช่วงนี้อีกด้วย]]
 
'''วันเข้าพรรษา ''' ([[บาลี]]: วสฺส, [[สันสกฤต]]: วรฺษ, {{lang-en|Vassa}}, [[เขมร]]: វស្សា, [[พม่า]]: ဝါဆို) เป็น[[วันสำคัญในพุทธศาสนา]]วันหนึ่ง ที่[[พระสงฆ์]][[เถรวาท]]จะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่[[พระธรรมวินัย]]บัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดภาษาปากกันโดยทั่วไปว่า '''จำพรรษา''' ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่าทุกกรณีใด ๆ ก็ตาม<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ 4 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1 '''วัสสูปนายิกขันธกะ'''. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=5450&Z=5501&pagebreak=0]. เข้าถึงเมื่อ 11-6-52</ref> การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือ[[วันออกพรรษา]]
 
วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทาง[[พระศาสนพุทธศาสนา]]ที่สำคัญเทศกาลหนึ่งใน[[ประเทศไทย]] โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วง[[ฤดูฝน]] โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจาก[[วันอาสาฬหบูชา]] (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาว[[ไทย]]ทั้ง[[พระมหากษัตริย์]]และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่[[สมัยสุโขทัย]]
 
สาเหตุที่[[พระพุทธเจ้า]]ทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระ[[ธรรม]][[วินัย]]จากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย
เส้น 11 ⟶ 12:
ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญ[[ใส่บาตร]] ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือ[[บรรพชา]][[อุปสมบท]]เป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา"
 
นอกจากนี้ ในปี [[พ.ศ. 2551]] [[รัฐบาล]][[ไทย]]ได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ"<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/142/13.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง วันงดดื่มสุราแหงชาติ], เล่ม ๑๒๕, ตอนพิเศษ ๑๔๒ ง, ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๑, หน้า ๑๓</ref> โดยในปีถัดมา ยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็นวันห้ามขายเครื่องดื่ม[[แอลกอฮอล์]]ทั่วราชอาณาจักร<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/095/6.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์], เล่ม ๑๒๖, ตอนพิเศษ ๙๕ ง, ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒, หน้า ๖</ref> ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษาและในช่วง 3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย<ref>[http://www.stopdrink.com/index.php โครงการรณรงค์ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์]. เว็บไซต์ stopdrink. เรียกข้อมูลเมื่อ 22-6-52</ref>
 
สำหรับในปี [[พ.ศ. 2558]] นี้ วันเข้าพรรษาตรงกับ [[วันศุกร์]]ที่ [[31 กรกฎาคม]] ตามปฏิทินสุริยคติ<ref>[http://hilight.kapook.com/view/98437 ปฏิทินวันหยุด 2558 วันหยุดประจําปี 2558 - Kapook - กระปุก]</ref>
 
== ความสำคัญ ==