ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฮนรี อาลาบาศเตอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:ALABAST.JPG|thumb|200px|นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (พ.ศ. 2379 – พ.ศ. 2427]]
 
'''เฮนรี อาลาบาศเตอร์''' ({{lang-en|Henry Alabaster)}}; 22 พฤษภาคม ([[พ.ศ. 2379]] -– 8 สิงหาคม [[พ.ศ. 2427]]) ต้นตระกูล '''เศวตศิลา''' รองกงสุล[[ชาวอังกฤษ]] [[สถานทูตอังกฤษ]] ประจำประเทศไทย เป็นผู้รังวัดในการตัด[[ถนนเจริญกรุง]] ต่อมาเกิดขัดแย้งกับ[[กงสุลนอกซ์]] จึงลาออกและเดินทางกลับประเทศอังกฤษ และเดินทางกลับมารับราชการกับไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2416 เป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เป็นผู้วางรากฐานการทำแผนที่ การสร้างถนน กิจการไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ และพิพิธภัณฑ์
 
==ชีวิตและงานในประเทศสยาม==
===ก่อนเข้ารับราชการ===
'''นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์''' เข้ามาประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อ [[พ.ศ. 2399]] ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในฐานะนักเรียนล่ามเข้ามาเรียนภาษาไทยเพื่อกลับไปรับราชการที่ประเทศอังกฤษ แต่ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองกงสุลอังกฤษประจำกรุงเทพฯ ในระหว่างดำรงตำแหน่งรองกงสุลฯ นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ ผู้ทำหน้าที่รั้งตำแหน่งกงสุลอังกฤษประจำกรุงสยาม ยังได้เป็นหัวหน้าคณะผู้สังเกตการณ์ดาราศาสตร์ของพระราชินีนาถแห่ง ร่วมกับคณะนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส คณะของผู้รั้งตำแหน่งกงสุลอเมริกันประจำกรุงสยาม ตลอดจนชาวยุโรปและอเมริกันที่พำนักอยู่ในประเทศ โดยพระบรมราชานุญาตเข้าร่วมสังเกตการณ์[[สุริยุปราคา]]ที่[[บ้านหว้ากอ]] [[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]] เมื่อวันที่ [[18 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2411]] อีกด้วย แต่ภายหลังเมื่อทำงานในตำแหน่งรองกงสุลไปได้ระยะหนึ่งก็ได้เกิดความขัดแย้งกับ[[กงสุลน็อกซ์]] จึงได้ลาออกจากตำแหน่งกลับประเทศอังกฤษ
 
แต่หลังจากที่[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสรอบ[[แหลมมลายู]] [[ชวา]] และ[[อินเดีย]] เมื่อ [[พ.ศ. 2416]] (พระชนมายุ 20 พรรษา) แล้ว ได้ทรงนำนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (อายุ 37 ปี) กลับเข้ามารับราชการเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ โปรดเกล้าให้ทำราชการหลายหน้าที่ รวมทั้งหัวหน้าล่าม ราชเลขาธิการส่วนพระองค์ รวมทั้งเจ้ากรมพิพิธภัณฑสถานและสวนสราญรมย์ และข้าหลวงผู้จัดการงานสร้างถนนและสะพาน
บรรทัด 12:
ในฐานะราชเลขาธิการส่วนพระองค์ และเป็นผู้มีความสนใจและมีความรู้ด้านต้นไม้ นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ จึงได้กราบบังคมทูลถวายคำแนะนำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง[[สวนสราญรมย์]]ขึ้นในบริเวณ[[วังสราญรมย์]]ที่สร้างไว้ตั้งแต่เมื่อ พ.ศ. 2409 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อเป็น[[สวนพฤกษศาสตร์]] เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และให้เป็นที่ศึกษาพรรณไม้และพันธุ์สัตว์ตามแบบอย่างในต่างประเทศ โดยนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์เองเป็นผู้ออกแบบและดูแลการก่อสร้างสวนด้วยตนเองเมื่อ พ.ศ. 2417 และยังเป็นผู้สั่งกล้วยไม้รวมทั้งแคทลียามาแสดงในสวนอีกด้วย
 
นอกจากนี้ นายเฮนรี่ อาลาบาศเตอร์เฮนรีได้ถวายคำแนะนำในการพัฒนาประเทศด้วยวิชาการสมัยใหม่หลายสาขา รวมทั้งวิชา[[การสำรวจรังวัด]] [[วิชาการทำแผนที่]]และวิชาการทำถนนซึ่งมีความจำเป็นมากในสมัยนั้น จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองทำแผนที่ทดลองขึ้นใน พ.ศ. 2418 โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์เป็นหัวหน้ากอง กัปตันลอฟตัสเป็นผู้ช่วย พร้อมกับคนไทย 4 คน (ม.ร.ว. แดง เทวาธิราช นายทัด ศิริสัมพันธ์ นายสุด และ ม.ร.ว. เฉลิม) โดยเริ่มด้วยการสำรวจทำแผนที่กรุงเทพฯ เพื่อตัด[[ถนนเจริญกรุง]]และถนนอื่นๆ รวมทั้งงานทำแผนที่เพื่อวางสาย[[โทรเลข]]ไปยัง[[พระตะบอง]] แผนที่บริเวณปากอ่าวสยาม เพื่อการเดินเรือและเพื่อเตรียมการป้องกันการรุกรานของข้าศึกที่อาจมาทางทะเล ต่อมา นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ผู้ซึ่งมิได้เป็นผู้เชี่ยวชาญโดยตรงในงานแผนที่จึงได้ถวายคำแนะนำให้ว่าจ้างช่างสำรวจรังวัดและทำแผนที่โดยตรงคือ นาย[[เจมส์ เอฟ.แมคคาร์ธี]] ผู้ช่วยช่างทำแผนที่จากกรมแผนที่แห่ง[[อินเดีย]] เข้ามารับราชการในกองทำแผนที่ตั้งแต่วันที่[[ 1 ตุลาคม]][[ พ.ศ. 2424]] (ขยายเป็นกรมทำแผนที่ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2428)
 
===ผลงานสำคัญ===
บรรทัด 23:
 
==ชีวิตบั้นปลาย==
นาย'''เฮนรี อาลาบาศเตอร์''' สมรสกับ'''คุณเพิ่ม''' สุภาพสตรีชาวไทย มีบุตรชาย 2 คนรับราชการในประเทศไทย ได้แก่มหาอำมาตย์ตรี [[พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์]] (ทองคำ เศวตศิลา) (ซึ่งเป็นบิดาของ [[พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา]] [[องคมนตรี]]) และ'''พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง''' (ทองย้อย เศวตศิลา)
 
นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอายุเพียง 48 ปี แต่โดยที่นายเฮนรีได้ปฏิบัติราชการมีคุณประโยชน์ต่อแผ่นดินมาก จึงได้เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยโปรดปรานใกล้ชิดเบื้องยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชหัตถเลขาลงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2427 ถึงภรรยาหม้ายของนายอาลาบาศเตอร์ สรรเสริญเกียรติคุณที่ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี และโปรดให้เจ้าพนักงานจัดงานศพให้เสมอพระยาเอก ให้จัดทำ[[มณฑป]]แบบฝรั่งไว้ ณ ที่ฝังศพด้วย
 
หลุมฝังศพของเฮนรี อาลาบาศเตอร์ อยู่ที่[[สุสานโปรเตสแตนต์]] ถนนเจริญกรุง ยานนาวา กรุงเทพฯ