ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การรวมชาติเยอรมัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 6:
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชาติเยอรมันซึ่งมีรัฐเอกราชกว่า 500 รัฐถูกยุบอย่างชะงัดเมื่อจักรพรรดิฟรานซิสที่ 2 ทรงสละราชสมบัติ (6 สิงหาคม ค.ศ. 1806) ระหว่าง[[War of the Third Coalition|สงครามสหพันธมิตรที่สาม]] แม้มีการหยุดชะงักทางกฎหมาย การปกครองและการเมืองซึ่งสัมพันธ์กับการสิ้นสุดของจักรวรรดิ แต่ประชากรพื้นที่ที่พูดภาษาเยอรมันของจักรวรรดิเก่ามีประเพณีภาษา วัฒนธรรมและกฎหมายร่วมกันซึ่งได้รับการเสริมอีกจากประสบการณ์ที่เหมือนกันใน[[สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส]]และสงครามนโปเลียน เสรีนิยมยุโรปให้รากฐานทางปัญญาแก่การสร้างเอกภาพโดยการท้าทายแบบจำลองการจัดระเบียบสังคมและการเมืองของราชวงศ์และผู้นิยมสมบูรณาญาสิทธิ์ (absolutist) การแสดงแบบเยอรมันของเสรีนิยมยุโรปเน้นความสำคัญของเอกภาพประเพณี การศึกษาและภาษาของประชากรในภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ในทางเศรษฐกิจ การสร้างซอลแฟร์แอง (Zollverein) หรือสหภาพศุลกากรของปรัสเซียใน ค.ศ. 1818 และการขยายรวมรัฐอื่นของ[[สมาพันธรัฐเยอรมัน]]ในเวลาต่อมา ลดการแข่งขันระหว่างและภายในรัฐต่าง ๆ วิธีการขนส่งที่กำเนิดใหม่อำนวยความสะดวกการเดินทางทางธุรกิจและนันทนาการ นำให้มีการติดต่อและความขัดแย้งบ้างในหมู่ผู้พูดภาษาเยอรมันทั่ว[[ยุโรปกลาง]]
 
แบบจำลอง[[เขตอิทธิพล]]ทางทูตที่เกิดจาก[[การประชุมใหญ่เวียนนา]]ใน ค.ศ. 1814–1815 หลังสงครามนโปเลียนสนับสนุนภาวะครอบงำของออสเตรียในยุโรปกลาง ทว่า ผู้เจรจาที่กรุงเวียนนามองข้ามความเข้มแข็งของปรัสเซียที่เติบโตขึ้นภายในและระหว่างรัฐเยอรมันและมิได้คาดการณ์ว่าปรัสเซียจะเจริญขึ้นท้าทายภาวะผู้นำของออสเตรีย ทวินิยมเยอรมันเยอรมนี้นำเสนอสองทางออกแก่ปัญหาการสร้างเอกภาพ ได้แก่ ไคลน์ดอยท์เชอเลอซุง (Kleindeutsche Lösung) ทางออกเยอรมนีเล็ก คือ เยอรมนีปราศจากออสเตรีย หรือกรอสส์ดอยท์เชอเลอซุง (Großdeutsche Lösung) ทางออกเยอรมนีใหญ่ คือ เยอรมนีที่มีออสเตรีย
 
นักประวัติศาสตร์โต้แย้งว่า[[ออทโท ฟอน บิสมาร์ค]] นายกรัฐมนตรีปรัสเซีย มีแผนการใหญ่ขยาย[[สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ]] ค.ศ. 1866 ให้รวมรัฐเยอรมันเอกราชที่เหลืออยู่เป็นรัฐเดี่ยวหรือเพียงขยายอำนาจของราชอาณาจักรปรัสเซีย พวกเขาสรุปว่าปัจจัยนอกเหนือจากความเข้มแข็งของ[[เรอัลโพลีทิค]]ของบิสมาร์คนำองค์การทางการเมืองสมัยใหม่ตอนต้นต่าง ๆ ให้จัดระเบียบความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ การทหารและการทูตในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปฏิกิริยาต่อชาตินิยมเดนมาร์กและฝรั่งเศสให้จุดสนใจแก่การแสดงออกซึ่งเอกภาพเยอรมัน ความสำเร็จทางทหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งของปรัสเซียในสงครามภูมิภาคสามครั้งทำให้เกิดความกระตือรือร้นและทรนงซึ่งนักการเมืองสามารถตักตวงเพื่อสนับสนุนการสร้างเอกภาพได้ ประสบการณ์นี้สะท้อนความทรงจำเกี่ยวกับความสำเร็จร่วมกันในสงครามนโปเลียน โดยเฉพาะยิ่งในสงครามปลดปล่อย ค.ศ. 1813–1814 โดยการสถาปนาเยอรมนีที่ปราศจากออสเตรีย การสร้างเอกภาพทางการเมืองและการปกครองใน ค.ศ. 1871 อย่างน้อยแก้ปัญหาทวินิยมได้ครู่หนึ่ง