ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ครุฑ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 44:
ด้วยฤทธานุภาพของพญาครุฑ จึงได้มีการสร้างรูป '''ครุฑพ่าห์''' (หรือ '''พระครุฑพ่าห์''') หมายถึง ครุฑซึ่งเป็นพาหนะ เป็นรูปครุฑกางปีก และใช้เป็นสัญลักษณ์สำคัญเกี่ยวกับ[[พระมหากษัตริย์ไทย|พระมหากษัตริย์ของไทย]]ก็มีมาแต่[[สมัยกรุงศรีอยุธยา]] ด้วยว่าไทยเราได้รับ[[ลัทธิเทวราช]]ของ[[อินเดีย]]ที่ถือว่าพระมหากษัตริย์คืออวตารของพระนารายณ์ ดังนั้น ครุฑซึ่งเป็นผู้มีฤทธิ์มากและเป็นพาหนะของพระนารายณ์ จึงเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ ดังที่ปรากฏอยู่ในดวงตราหรือ[[พระราชลัญจกร]]ประจำพระองค์ ประจำแผ่นดิน ประจำราชวงศ์ และประจำรัชกาล เป็นต้น
 
จากการที่เรา{{who}}ไทย ใช้ตราครุฑเป็นพระราชลัญจกรสำหรับประทับหนังสือราชการแผ่นดินที่เป็นพระบรมราชโองการ และใช้พระราชลัญจกร[[พระครุฑพ่าห์]]ประทับหนังสือราชการแผ่นดินมาแต่โบราณกาล ต่อมาจึงได้มีการใช้ ตราครุฑ เป็นหัวกระดาษของหนังสือของราชการทั่วๆไปทั่วไปด้วย เพื่อให้ทราบว่างานนั้นเป็นราชการ ส่วนรูปครุฑที่เป็นธงแทนองค์พระมหากษัตริย์นั้นเรียกว่า [[ธงมหาราช]] เป็นรูปครุฑสีแดงอยู่บนพื้นธงสีเหลือง เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 4 ธงมหาราชนี้เมื่อเชิญขึ้นเหนือเสา ณ พระราชวังใดแสดงว่าพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ ณ ที่นั้น
 
สำหรับครุฑที่ปรากฏอยู่ในขบวนเรือหลวงก็มีอยู่ 3 ลำคือเรือครุฑเหินเห็จ เป็นหัวโขนรูปพญาครุฑสีแดงยุดนาค เรือครุฑเตร็จไตรจักรเป็นหัวโขนรูปพญาครุฑสีชมพูยุดนาค และ [[เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9]] เป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เป็นเรือที่สร้างขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน
บรรทัด 74:
ครุฑที่ใช้ในส่วนราชการมีความแตกต่างกันออกไป ครุฑที่เท้าตั้งเฉียงจะใช้ในราชการกระทรวงการต่างประเทศเท่านั้น ส่วนการใช้ในหน่วยงานอื่นจะใช้เป็นครุฑเท้างุ้ม
 
ใน[[บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด]] อาคารที่ทำการของไปรษณีย์กลาง [[ถนนเจริญกรุง]] [[เขตบางรัก]] ที่มุขหน้าปีกซ้าย-ขวา ประดับด้วย[[ประติมากรรม]]ปูนปั้นครุฑในแบบ[[ศิลปะร่วมสมัย]] ขนาดสูงเป็น 2 เท่าของคนจริง ผลงานของ ศาสตราจารย์[[ศิลป์ พีระศรี]] รูปปั้นครุฑทั้ง 2 นี้ จัดว่าเป็นรูปปั้นครุฑที่ได้เชื่อว่างดงามที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2486 ด้วยมีสรีระร่างกายที่บึกบึนกำยำ เต็มไปด้วย[[กล้ามเนื้อ]] อีกทั้งในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย|สงครามมหาเอเชียบูรพา]] ที่อาคารสถานที่ต่าง ๆ ใน[[กรุงเทพฯ]] ถูก[[ระเบิด]]ทำลายเสียหาย แต่อาคารไปรษณีย์กลางแห่งนี้กลับไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ เป็นที่น่าอัศจรรย์ บางคนจนทำให้มีความเชื่อกันว่า เป็นเพราะครุฑทั้ง 2 ตนนี้บินไปปัดระเบิดไว้<ref>[http://www.thaipost.net/x-cite/200709/7986 ครุฑถอดแบบงานบรมครูอ.ศิลป์ พีระศรี]</ref><ref>[http://www.khanpak.com/variety/641/ 70 ปี "ไปรษณีย์กลาง" ความคลาสสิกคู่บางรัก]</ref>
 
== ในวัฒนธรรมร่วมสมัย ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ครุฑ"