ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาตะลุมพุก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
มีรูปร่างคล้าย[[วงศ์ปลาตะเพียน|ปลาในวงศ์ปลาตะเพียน]] แต่ลำตัวเพรียวกว่า และส่วนครีบหลังหางยาวเว้าลึกกว่ามาก ปากกว้าง ลูกตามีเยื่อไขมันคลุม ครีบอก ครีบท้อง และครีบก้นเล็ก เกล็ดใหญ่แต่บางคลุมทั้งลำตัว เกล็ดท้องเป็นสันคม ลำตัวด้านหลังมีสีคล้ำอมฟ้าอ่อนหรือเขียวอ่อน เช่นเดียวกับหัว ด้านข้างเป็นสีเงินอมฟ้าหรือเหลืองอ่อนไปจนถึงท้อง ในปลาที่ไม่สดนักมักมีสีแดงเรื่อ ๆ ที่ข้างลำตัว ครีบมีสีเหลืองอ่อน ครีบหางสีเหลืองอ่อนเหลือบฟ้า ขอบสีคล้ำ มีขนาดโตเต็มที่ได้ราว 35-45 [[เซนติเมตร]] พบกระจายพันธุ์ใน[[ชายฝั่ง]][[ทะเล]]ตั้งแต่[[อ่าวเบงกอล]]จนถึง[[ทะเลจีนใต้]]และ[[อินโด-แปซิฟิก]]
 
สำหรับใน[[ประเทศไทย]] ในอดีตราว 60 ปีก่อน เคยพบชุกชุมใน[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] โดยจะว่ายเข้ามาวางไข่ถึง ตำบลบางยี่ขัน [[อำเภอบางพลัด]] เชื่อกันว่าปลาชนิดนี้ชอบมากินกาก[[ส่าเหล้า]]ที่[[โรงสุราบางยี่ขัน]] (ปัจจุบัน คือ ที่ตั้งของ[[มูลนิธิชัยพัฒนา]] ภายใน[[สวนหลวงพระราม 8]] บริเวณเชิงสะพานพระราม 8 ฝั่งธนบุรี) กลั่นทิ้ง โดยแหล่งขึ้นชื่อการวางไข่ของปลาตะลุมพุก พบได้ตั้งแต่ ตำบลสามเสน ขึ้นไปวางไข่ไกลถึง[[อำเภอปากเกร็ด]] [[จังหวัดนนทบุรี]]
 
ในปี [[ค.ศ. 1935]] ซึ่งในเวลานั้นจำนวนปลาก็ลดลงมากแล้ว [[ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ]] อธิบดี[[กรมประมง]]คนแรกรายงานว่า