ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนดาราวิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 40:
ปี ค.ศ.1924 (พ.ศ. 2466) Miss Julia A.Hatch ในฐานะผู้จัดการ ได้ทำหนังสือถึงเสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ 2 ฉบับ ฉบับแรก ขออนุญาตเปลี่ยนชื่อ "โรงเรียนพระราชายา" เป็น "โรงเรียนดาราวิทยาลัย แผนกประถม" เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ตอบรับทราบเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ.1924 (พ.ศ. 2466) และมีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ.1924 (พ.ศ. 2466) อีกฉบับขอตั้งโรงเรียนอีกแห่งหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า "ดาราวิทยาลัย" โดยมี Miss Julia A. Hatch เป็นผู้จัดการ และมี Miss Lucy Niblock เป็นครูใหญ่ ตั้งอยู่ที่บ้านหมู่ที่ 1 ถนนแก้วนวรัฐ ตำบลวัดสระเกษ (วัดเกตในปัจจุบัน) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ตอบรับเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ.1924 (พ.ศ. 2466) และมีประกาศกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ.1924 (พ.ศ. 2466)
 
ปี ค.ศ.1941 (พ.ศ. 2484) โรงเรียนดาราวิทยาลัยได้รับการรับรองวิทยฐานะจากกระทรวงศึกษาธิการ และในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โรงเรียนทั้งสองแห่งถูกรัฐบาลยึด เดือนสิงหาคม ค.ศ.1945 (พ.ศ. 2488) สงครามยุติ มิชชันนารีกลับเมืองไทย ดร. Kennel E. Well เป็นผู้รับอำนาจจากคณะมิชชันนารีในการทวงทรัพย์สิน คือโรงเรียนและโรงพยาบาลในเขตภาคเหนือคืนจากรัฐบาล Miss Helen F. Mcclure เดินทางมาถึงเชียงใหม่เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ.1946 (พ.ศ. 2489) Miss Lucy Niblock เดินทางมาถึงเชียงใหม่เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1947 (พ.ศ. 2490) โรงเรียนดาราวิทยาลัยเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ.1946 (พ.ศ. 2489) โดยมีครูบัวชม อินทะพันธุ์ เป็นครูใหญ่ มีนักเรียน 3501 คน โรงเรียนเปิดดำเนินการในลักษณะโรงเรียนไปจนกระทั่งประมาณ ปี ค.ศ.1968 (พ.ศ. 2511) จึงได้มีการปิดโรงเรียนดาราวิทยาลัยแผนกประถม คงไว้แต่โรงเรียนดาราวิทยาลัยในปัจจุบัน
 
ปี ค.ศ.1990 (พ.ศ. 2533) อาจารย์สมศรี ไชยเศรษฐ ผู้จัดการ และอาจารย์สมปรารถนา บุณยเกียรติ ครูใหญ่ โรงเรียนดาราวิทยาลัยได้ทำเรื่องนำเสนอมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรใรประเทศไทย ขออนุมัติให้โรงเรียนดาราวิทยาลัยเปิดสอนระบบสหศึกษา และได้รับการอนุมัติให้เปิดในปี ค.ศ.1991 (พ.ศ. 2534) โดยเปิดทีละชั้นเรียน