ผลต่างระหว่างรุ่นของ "น้ำพริก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ย้อนการแก้ไขที่ 6267335 สร้างโดย 113.53.255.242 (พูดคุย)
บรรทัด 3:
'''น้ำพริกกะปิ''' เป็น [[อาหารไทย]]ประเภท[[เครื่องจิ้ม]]ชนิดหนึ่ง ส่วมใหญ่ใช้รับประทานคู่กับ[[ผัก]] ที่มีส่วนประกอบสำคัญคือ [[พริก]] ที่ต้องตำละเอียด มีอยู่หลายอย่างเรียกตามส่วนประกอบที่ใส่ลงไป น้ำพริกยังเป็นผลิตภัณฑ์ส่งขายออกนอกประเทศด้วย โดยน้ำพริก[[แม่ศรี]]เป็นผู้จำหน่ายแรก เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517<ref>[http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=3029 ธุรกิจขนาดย่อมทางรอดเศรษฐกิจยุคเผาจริง]</ref>
 
== ประวัติของน้ำพริก กะปิ==
คนในสมัยก่อนนิยมรับประทาน[[สัตว์น้ำ]]มากกว่า[[สัตว์บก]] จึงอาจคิดค้นน้ำพริกขึ้น เพื่อเพิ่มรสชาติและดับกลิ่นคาวต่าง ๆ น้ำพริก ถูกใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารต่าง ๆ หรือใช้ในการรับประทาน เป็นกับข้าว ก็ได้ และยังได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สำหรับน้ำพริก แบบที่ใช้เป็นเครื่องปรุงส่วนผสมนั้น เกิดขึ้นเพราะอาหารไทยจำพวก[[แกง]] จำเป็นที่จะต้องมีส่วนประกอบ หรือกรรมวิธีการทำที่ค่อนข้างซับซ้อน ผู้ปรุงจึงคิดทำน้ำพริกขึ้น เพื่อรวบรวมส่วนผสมต่าง ๆ นั้นเข้าด้วยกัน เป็นการลดขั้นตอนการปรุงลง และยังสามารถทำเก็บไว้ได้ในจำนวนมาก
 
== ความหลากหลายของน้ำพริก กะปิ==
* น้ำพริกทางภาคใต้เรียกว่า '''น้ำชุบ''' องค์ประกอบหลักคือ [[พริก]] หอมและ[[กะปิ]] มีเอกลักษณ์ คือ ไม่ผสม[[น้ำมะนาว]]หรือน้ำตาล จึงมีลักษณะแห้ง ถ้าผสมให้เข้ากันด้วยมือเรียกน้ำชุบหยำหรือน้ำชุบโจร ถ้าตำให้เข้ากันเรียกน้ำชุบเยาะ ถ้าตำแล้วผัดให้สุกเรียกว่าน้ำชุบผัดหรือน้ำชุบคั่วเคี่ยว น้ำชุบของภาคใต้นี้กินกับผักหลายชนิดทั้งผักสดและผักลวก<ref>อาหารการกินแห่งลุ่มทะเลสาบ. สงขลา: เครือข่ายสตรีรอบทะเลสาบสงขลา. 2551. หน้า 104-105</ref> เหตุที่ไม่ผสมน้ำมะนาว เนื่องจาก ชาวประมงในภาคใต้เมื่อออกเรือเป็นเวลาแรมเดือน หามะนาวได้ยาก จึงประกอบน้ำพริกโดยไม่ผสมน้ำมะนาว และเหตุที่เรียกว่า น้ำชุบ คือ การที่นำผักมาชุบกับน้ำพริกแห้ง<ref>{{cite web|url=http://tv.ohozaa.com/hourly-rerun/3/2014-12-19/13/|title=ครัวคุณต๋อย |date=19 December 2014|accessdate=19 December 2014|publisher=ช่อง 3}}</ref>
* น้ำพริกภาคเหนือ เครื่องปรุงทุกอย่างต้องย่างหรือเผาให้สุกก่อน ปรุงรสด้วยเกลือเป็นหลัก <ref>ครัวล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 2.กทม. แสงแดด. 2550. หน้า 13</ref>