ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทุรโยธน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
บรรทัด 17:
ทุรโยธน์ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีทัศนคติที่แตกต่างจากคนทั่วไปในยุคนั้น โดยเฉพาะเรื่องเหยียดผิวและชนชั้นวรรณะ เขารับกรรณะที่เป็นศูทรเป็นเพื่อนตายและยกแคว้นอังคะไห้ปกครอง เขาเปรียบกรรณะเป็นแม่น้ำ ความบริสุทธิ์ของแม่น้ำนั้นขึ้นอยู่กับน้ำที่ใสสะอาด หาได้มาจากแหล่งที่มา นอกจากนั้นเขายังได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองและนักการทูตที่นิยมสร้างไมตรีมากกว่าทำสงคราม การท้ายุธิษฐิระเพื่อพนันสกาเอาบ้านเอาเมืองแทนที่จะประกาศสงครามโดยตรงเพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือด แม้ทุรโยธน์จะทำเรื่องชั่วร้ายบ้างแต่เขาทำเพื่อโจมตีฝ่ายปาณฑพที่เป็นศัตรูฝ่ายเดียว ในขณะที่ฝ่ายปาณฑพกลับมีปัญหากับหลายฝ่าย ทั้งกับเทวดา ทั้งปีศาจ ทั้งนาค แม้แต่สงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ทุรโยธน์กลับมีพระราชาจากแคว้นต่างๆมาไห้การช่วยเหลือมากกว่าฝ่ายปาณฑพ
 
'''วิจารณ์แย้ง'''
๑. ที่ว่า ทุรโยธน์มีอคติแก่ฝ่ายปาณฑพและไม่เชื่อว่าฝ่ายปาณฑพเป็นโอรสของ[[ท้าวปาณฑุ]]ที่เกิดจากเทพเจ้าตามคำบอกเล่าของพระนางกุนตี และการที่เขาและน้องชายถูกภีมะรังแกในวัยเด็กสร้างความเกลียดชังฝ่ายปาณฑพทวียิ่งขึ้น นั้น
๑.๑ ทุรโยธน์มีอคติแก่ฝ่ายปาณฑพและไม่เชื่อว่าฝ่ายปาณฑพเป็นโอรสของ[[ท้าวปาณฑุ]]ที่เกิดจากเทพเจ้าตามคำบอกเล่าของพระนางกุนตี ข้อความนี้ ไม่มีในบทประพันธ์ แต่ตามบทประพันธ์สภาผู้อาวุโสของราชวงศ์กุรุ ได้ยอมรับยุธิษฐิระ ผู้พี่ชายคนโตของปาณฑพ เป็นพระยุพราช แทนที่จะเป็น ทุรโยชน์ พี่ชายคนโตของเการพ นั้น หมายความว่า ราชวงศ์ต้องได้พิสูจน์และมั่นใจในเชื้อสายของเหล่าปาณฑพว่าเป็นเชื้อสายของราชวงศ์กุรุ แล้ว
(ทุรโยชน์และศกุนิ จึงได้วางแผนให้ปุโรจันวางเพลิงฆ่าที่วาราณวัต เพื่อให้สิทธิตกเป็นของฝ่ายเการพ ตามบทประพันธ์ไม่ละเอียดว่าธฤตราษฎร์รู้เรื่องนี้ด้วยหรือไม่ แต่ปู่ภีษมะไม่รู้เรื่องด้วย วิฑูรย์รู้แต่เตรียมคนให้ช่วยหลบหนี ตรงนี้เป็นปัญหาอยู่ว่าเหตุใด ไม่อาจจับปุโรจันแล้วให้ซัดทอดทุรโยชน์กับศกุนิ เป็นไปได้ว่า วิฑูรย์รู้แค่ข่าวสารและเตือนเท่านั้น แต่ปาณฑพต้องพิสูจน์ความจริงและการจับผิดปุโรจันก็ย่อมไม่ใช่งานง่ายๆ บทประพันธ์ว่า ภีมะต้องฆ่าและซ้อนแผนวางเพลิงแล้วหนีไป จำนวนศพของฝ่ายปุโรจันที่พบในซากเท่าจำนวน ๖ คน มีข้อน่าสงสัย คือ ถ้าข้าราชการคนสำคัญตายไป ทางการกุรุต้องตรวจสอบ แปลว่า คนที่ตาย ที่มาฆ่าต้องถูกว่าจ้างมา และเป็นนักฆ่าที่ไม่อยู่ในสารบบคนเมืองกุรุ จึงเห็นว่าเป็นนักฆ่ารับจ้าง ซึ่งไม่อาจเอาผิดฝ่ายศกุนิและทุรโยชน์(สาวไม่ถึง) และเมื่อพิจารณาแล้วการอยู่ที่นี้ กับญาติพี่น้องก็มีแต่การลอบฆ่ากัน ฝ่ายปาณฑพซึ่งเคยอยู่ในป่าแบบพราหมณ์มาก่อนสมัยที่ท้าวปาณฑุ บิดาต้องออกบวชก็เพราะไปยิงกวางแปลง ฤษีผัวเมีย (คิดว่า ท้าวปาณฑุประพาสป่าและล่าสัตว์แต่ไม่พิจารณาให้ดี ไปยิงชาวบ้านซึ่งเป็นฤษีในป่า ก็เหมือนกษัตริย์ฆ่าคนโดยประมาทจึงลงโทษตนเองโดยการสละราชย์ แต่ยังไม่ตาย สิทธิ์ในการครองราชย์อยู่ที่ปาณฑุ ส่วนธฤตราษ นั้นตาบอดจึงเป็นแค่รักษาราชการ อำนาจปกครองจึงตกแก่ปู่ภีษมะ และวิฑูรย์ ตามความเป็นจริง ตอนนั้น ยังไม่มีทายาทของวงศ์กุรุ จนยุธิษฐิระกำเนิดเป็นหลานคนแรกของราชวงศ์ย่อมมีสิทธิต่อจากพ่อผู้มีสิทธิ์ การอ้างสละราชบัลลังค์ของท้าวปาณฑุมาตัดสิทธิยุธิษฐิระจึงไม่ชอบ เพราะเวลานั้นธฤตราษฎณ์ยังไม่มีบุตร โดยสิทธิ์แล้วยุธิษฐิระจึงมีสิทธิในราชบัลลังค์อย่างแท้จริง เมื่อยุธิษฐิระหลานคนโต และภีมะหลานคนรองที่มีอายุเท่าทุรโยชน์ มีหลักฐานว่าตายในกองเพลิง สิทธิจึงตกแก่ทุรโยชน์) ฝ่ายปาณฑพจึงพึงพอใจที่จะหนีจากญาติเพราะไม่รู้จะถูกลอบสังหารเมื่อไร แต่ว่าเนื่องจากก่อนหน้านี้ ชื่อเสียงของอรชุนในฐานะกษัตรย์วงศ์กุรุ กระจายไปแล้วว่า รบชนะท้าวทรุบท แคว้นปัญจาละ และอีกหลายแคว้นในเวลาต่อมา บทประพันธ์ว่า ท้าวทรุบทต้องการอรชุนเป็นราชบุตรเขย แต่เสียดายตายแล้ว แต่ว่า คิดว่าในความเป็นจริง ราชบุรุษของท้าวทรุบทแจ้งข่าวคนแปลกหน้าเข้ามาในแคว้นและรู้ว่าเป็นปาณฑพซึ่งมีอรชุนมาด้วย จึงวางแผนล่อให้ฝ่าปาณฑพมาร่วมงานสยุมพรเจ้าหญิงเทราปตี (ตอนเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งต่อไปจะเป็นพระพุทธเจ้า ได้ออกบวชแล้วไปแคว้นมคธ พระเจ้าพิมพิสารถึงกับไปหาด้วยตนเองและออกปากยกแคว้นให้กึ่งหนึ่ง ถ้าหากคิดว่าเป็นการลองใจก็ว่าได้ แต่หากดูอุปนิสัยพระเจ้าพิมพิสารที่เป็นคนค่อนข้างดีเพราะไม่เชื่อโหรที่ทายทักเรื่องลูกจะฆ่าตนเอง น่าจะเห็นความสามารถของเจ้าชายดี จึงเสนอแคว้นให้ครึ่งหนึ่ง ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่คนแปลกหน้ามาอยู่แล้วท้าวทรุบทจะไม่รู้) เท่ากับว่า แคว้นปัญจาละมีอำนาจขึ้นมาเพราะมีราชบุตรเขยเป็นปาณฑพ เรื่องมีว่าฝ่ายเการพยกไปตีปัญจาละ ซึ่งเหมือนอ้างว่าไม่รู้ว่าปาณฑพมีชีวิต แต่ถูกฝ่ายปัญจาละที่มีเจ้าชายฝ่ายปาณฑพตีแตกไป ฝ่ายปู่ภีษมะกับวิฑูรย์และราชวงศ์ผู้ใหญ่เห็นควรเชิญมารับตำแหน่ง แต่ฝ่ายเการพไม่ยอม เพราะถือว่าตั้งทุรโยชน์แล้ว ตามหลักเมื่อไม่ตาย ไม่สาบสูญ ยุธิษฐิระต้องมีสิทธิเหนือทุรโยชน์ แต่เพราะทุรโยชน์ไม่ยอม พวกผู้ใหญ่จึงไกล่เกลี่ยให้แยกแบ่งราชอาณาจักรแทน เพราะหากไม่แบ่งปาณฑพก็สามารถได้แคว้นปัญจาละมาครอง และหากท้าวทรุบทพูดและสนับสนุน ก็อาจชี้ให้ยุธิษฐิระชิงสิ่งที่ตนเองมีสิทธิ์โดยใช้กองทัพปัญจาละ แต่ปาณฑพเลือกที่กันดาร มากกว่าแย่งชิงสิทธิ์ของตนคืน การวิจารณ์ว่าปาณฑพมีเรื่องไปทั่วนั้น เป็นการวิจารณ์ที่ไม่ตรงกับบทประพันธ์ เพราะจริงฝ่ายตรงข้ามล้วนมาหาเรื่องทั้งสิ้น )
๑.๒ ข้อความที่ว่า การที่เขาและน้องชายถูกภีมะรังแกในวัยเด็กสร้างความเกลียดชังฝ่ายปาณฑพทวียิ่งขึ้น นั้น เห็นว่านั้นแค่เหตุการณ์ในวัยเด็ก แต่ที่สำคัญ คือ สิ่งที่ทุรโยชน์พูดกับธฤตราษฎร์ว่า ถ้าให้ยุธิษฐิระเป็นยุพราช เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์กุรุ ทายาทในอนาคต ลูก หลาน เหลน ลื่อ ฯ ของทุรโยชน์หรือธฤตราษฎร์ก็เป็นแค่คนรับใช้ของลูก หลาน เหลน ลื่อ ฯ ทายาทยุธิษฐิระ ตลอดกาล แต่ปัญหาจริงๆ ที่เป็นต้นเหตุสงครามคือ ความริษยา อิจฉา ความทะเยอทะยานเกินความสามารถของตนเองและไม่ยอมรับความสามารถของฝ่ายปาณฑพ นั้นเอง ทั้งที่มีบทพิสูจน์ความเก่งกล้าของอรชุนก่อนที่จะมีพระกฤษณะเข้ามาเกี่ยวข้อง หลายต่อหลายครั้ง ทุรโยชน์ก็จะอ้างว่าเพราะข้างตน มีกรรณะ แค่นั้น ซึ่งแม้ภายหลังบทประพันธ์จะบอกว่าทุรโยชน์ทำหน้าผู้ปกครอง และนักรบได้ดี โดยทำพิธีราชสูยะสำเร็จตามรอยยุธิษฐิระ ตามรอยฝ่ายปาณฑพ แต่ขอตั้งข้อสังเกต ตอนที่ปาณฑพทำพิธีราชสูยะ อรชุนตีไปทั่วแล้ว ทุกแคว้นทั่วโลกอินเดียก็ยอมรับและรู้ว่า อินทรปรัศ เมืองปาณฑุก็คือราชวงศ็กุรุ นั้นเอง และพระราชาที่เข้มแข็งคือจราสันธ์ แคว้นมคธ ก็ตายโดยภีมะ ภายใต้คำแนะนำของกฤษณะ นั้นเอง ซึ่งจะเห็นว่า ถ้าปราบจราสันได้ ก็ปราบได้ทั่วแคว้นอินเดีย แล้วทุรโยชน์กับกรรณะ ไม่ได้เจออะไรที่หนักเลย เพราะอรชุนตะลุยมาหมดแล้ว และถามว่า รบทีหนึ่งคนตายไปเท่าไร โดยเฉพาะถ้ามีคนเก่งๆ ก็ต้องตายโดยมืออรชุนไปแล้ว จึงตั้งข้อสังเกตว่า ทุรโยชน์เหมือนคนที่ชุบมือเปิบเท่านั้นเอง ปฏิเสธไม่ได้ว่าแค่ชื่อเสียงภีษมะ พระราชาทั่วอินเดียก็กลัวแล้ว แต่ภีษมะก็ไม่เคยทำอย่างอรชุน ที่ตะลุยไปทั่ว ฉนั้น ปู่ภีษมะจึงคอยปรามทุรโยชน์ และกรรณะไม่ให้หลงตัวเอง และให้คิดถึงความยิ่งใหญ่ของอรชุน หรือปาณฑพ เพราะตามบทประพันธ์นับจากศาตนุ แล้วคนที่ได้ชื่อว่าย่ำทั่วแคว้นจริงๆ และทำพระราชาทั่วอินเดียให้ยอมสยบ คือ อรชุน ซึ่งแม้ไม่มีพระกฤษณะก็เก่งอยู่แล้ว ดังคำที่โทรณาจารย์บอกว่า อรชุน คือ นักธนูหนึ่งในโลกา (ก็โทราณาจารณ์จะปั้นอย่างนั้น)
ดังนั้น ทุรโยชน์ก่อสงครามก็เพราะไม่อยากยอมรับความสามารถของญาติของตนแค่นั้น และใจแคบมากเพราะไม่ยอมให้ปาณฑพมีแคว้นอยู่เลย ทั้งที่ ปู่ภีษมะ ก็บอกให้แบ่งเมืองกันอยู่ ซึ่งหากฝ่ายปาณฑพจะอ้างความชอบธรรมและระดมกำลังโดยมีปัญจาละเป็นแกนกลางแต่เริ่มแรก ทุรโยชน์ก็จะสู้ไม่ได้ในตอนนั้น หรือตอนที่แพ้พนันสกา หากปาณฑพจะระดมกำลังกษัตริย์ทั่วอินเดียมาก็ได้เพราะทุกแคว้นรู้ฝีมืปาณฑพดีกว่ารู้ฝีมือเการพ แต่เพราะยุธิษฐิระ จะลงโทษตัวเองเท่านั้น ซึ่งพี่น้องคนอื่นไม่เห็นด้วย แต่ยุธิษฐิระยอมยกทุกอย่างให้ทุรโยชน์จริงตามที่แพ้พนันสกา และเริ่มนับหนึ่งจากที่ไม่มีอะไร นอกจากความสามารถของตน และเผอิญพระเจ้าก็เห็นใจ เพราะถ้าอ่านดีจะเห็นว่าฝ่ายปาณฑพย่อมเสียเปรียบไม่รู้ต่อกี่ครั้ง พระเจ้าจึงมาในนามของพระกฤษณะ แม้หลายอย่างยุธิษฐิระ หรือปาณฑพจะทำอย่างซื่อตรงด้วยใจบริสุทธฺ์ซึ่งเป็นข้อเสียเปรียบ แต่พระกฤษณะจะเป็นผู้ซึ่งแก้ไขสถานการณ์ให้เสมอ หากอ่านดีจะพบว่า ชัยชนะของปาณฑพมีเพราะมีอรชุนและพระกฤษณะ เป็นตัวตัดสินในมหาสงคราม
{{มหาภารตะ}}