ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แร้ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
'''แร้ง''' หรือ '''อีแร้ง'''<ref name= "บรรจบ">บรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร์. ''ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย''. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2514, หน้า 67</ref> ({{lang-en|Vulture}}) เป็น[[นก]]ขนาดใหญ่จำพวกหนึ่ง อยู่ในกลุ่ม[[นกล่าเหยื่อ]]เช่นเดียวกับ[[เหยี่ยว]], [[อินทรี]] หรือ[[นกเค้าแมว]] โดยที่แร้งถือว่าเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มนี้
 
แร้ง จะแตกต่างจากไปนกในกลุ่มนี้คือ จะไม่ล่าเหยื่อหรือกิน[[สัตว์]]เป็น ๆ เป็นอาหาร แต่จะกินเฉพาะซากสัตว์ที่[[ตาย]]แล้ว อันเนื่องจากอุ้งเท้าตีนของแร้งนั้นไม่แข็งแรงพอที่จะขย้ำเหยื่อได้ เพราะได้วิวัฒนาการให้มีอุ้งตีนและกรงเล็บที่แบนและเล็กสั้นเหมาะกับการอยู่บนพื้นดินมากกว่านกล่าเหยื่อจำพวกอื่น แร้งมีรูปร่างโดยรวมคือ ปีกกว้าง หางสั้น มีคอที่ยาว หัวเล็ก บริเวณต้นคอมีขน[[สีขาว]]รอบเหมือนสวม[[พวงมาลัย]] มีลักษณะเด่นคือ [[ขนสัตว์|ขน]]ที่หัวและลำคอแทบไม่มีเลยจนดูเหมือนโล้นเลี่ยน สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะพฤติกรรมการกินซากสัตว์ จึงไม่มีขนเพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของ[[เชื้อโรค]] และเพื่อความสะดวกในการในการมุดกินซากด้วย มีลิ้นที่มีร่องลึกและเงี่ยงเล็ก ๆ หันไปทางด้านหลังเพื่อช่วยในการกินอาหารคำโต อีกทั้งแร้งยังมีกระเพาะพิเศษขนาดใหญ่ที่เก็บอาหารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลำไส้ อีกทั้งในลำไส้รวมถึงกระเพาะของแร้งก็ยังมีกรดที่มีฤทธิกัดกร่อนสามารถฆ่าแบคทีเรียหรือจุลชีพอื่น ๆ ที่มีอยู่ในซากสัตว์ด้วย จึงทำให้แร้งสามารถกินซากเน่าเปื่อยได้โดยไม่เป็นอันตราย<ref name="หน้า"/> แต่กระนั้นแร้งก็ยังสามารถจับสัตว์ขนาดเล็ก เช่น [[แมลง]]หรือ[[สัตว์เลื้อยคลาน]]ขนาดเล็ก เช่น [[กิ้งก่า]], [[จิ้งจก]] หรือ[[ไข่]]นกชนิดอื่น กินเป็นอาหารในบางครั้งได้อีกด้วย
 
แร้งบางชนิดสามารถกินอาหารที่มีน้ำหนักถึงร้อยละ 20 ของน้ำหนักตัวได้ โดยเก็บไว้ในกระเพาะอาหารพิเศษที่เป็นส่วนหนึ่งของลำไส้เพื่อรอการย่อยต่อไป<ref name="หน้า"/>
 
== การจำแนก ==
[[ภาพ:Sarcogyps calvus Hardwicke.jpg|thumb|150px|ลักษณะหัวและลำคอ[[พญาแร้ง]] (''Sarcogyps calvus'') ที่โล้นเลี่ยน]]
แร้งแบ่งออกได้เป็น 2 [[วงศ์ (ชีววิทยา)|วงศ์]]ใหญ่ ๆ ด้วยกัน จำนวน 23 [[species|ชนิด]] คือ
 
* '''[[Aegypiinae|แร้งโลกเก่า]]''' จัดอยู่ในวงศ์ [[Aegypiinae]] ทำรังและวางไข่บน[[ต้นไม้]]หรือหน้าผาสูง และหาอาหารโดยการใช้สายตามองจากที่สูงขณะบินวนอยู่บน[[ท้องฟ้า]] แร้งในวงศ์นี้พบได้ทั่วไปใน[[ทวีปแอฟริกา]], [[เอเชีย]]และ[[ยุโรป]]
* '''[[Cathartidae |แร้งโลกใหม่]]''' จัดอยู่ในวงศ์ [[Cathartidae]] มีรูปร่างที่แตกต่างไปจากแร้งโลกเก่าอย่างเห็นได้ชัด โดยแร้งในวงศ์นี้พบได้เฉพาะ[[ทวีปอเมริกาเหนือ]]และ[[อเมริกาใต้]] มี[[ชื่อสามัญ]]เรียกใน[[ภาษาอังกฤษ]]ว่า "Condor" โดยทั่วไปแล้วจะมีสีสันที่สวยงามกว่าแร้งโลกเก่า วางไข่บนพื้นดิน โดยไม่ทำรัง และหาอาหารโดยการดมกลิ่น
 
แร้งทั้ง 2 กลุ่ม มีพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกัน คือ กินซากสัตว์หรือซาก[[ศพ]][[มนุษย์]]ที่ตายไป โดยมักจะอยู่รวมเป็นฝูง และบินวนไปรอบ ๆ ที่มีซากศพหรือซากสัตว์ตายเพื่อรอจังหวะกิน แร้งจะตะกละตะกลามมากเวลาลงกินอาหาร มักจะจิกตีหรือแย่งชิงกันเสียงดังบ่อย ๆ เวลากิน จึงมีสำนวนใน[[ภาษาไทย]]ว่า ''"แร้งทึ้ง"'' อันหมายถึง พฤติกรรมการแย่งชิงกันอย่างน่าเกลียด แต่ด้วยความที่เป็นสัตว์กินซาก แร้งจึงใช้เวลาที่นอกเหนือไปจากการกินอาหาร ด้วยการไซ้ขน กางปีก ผึ่งแดด เพื่อฆ่าเชื้อโรคด้วย<ref> ''แร้ง - ชีวิตพิศดารของสัตว์ (๒) '' โดย ประพันธ์ บุญกลิ่นขจร: ต่วยตูน</ref> โดยแร้งอาจใช้พื้นที่หากินกว้างถึง 480,000 ตารางกิโลเมตร โดยร่อนไปบนกระแสลมร้อนโดยที่ไม่ต้องใช้พลังงานมากเลย เนื่องจากช่วงปีกที่กว้างใหญ่ และถึงแม้ว่าสายตาของแร้งอาจจะดีสู้นกล่าเหยื่อจำพวกอื่นไม่ได้ แต่แร้งก็ยังสามารถมองเห็นได้ไกลถึง 35 กิโลเมตร จากบนท้องฟ้า
 
แร้งเป็นนกที่ครองคู่เพียงคู่เดียวตลอดทั้งชีวิต ซึ่งอาจจะครองคู่อยู่ด้วยกันนานถึง 30 ปี <ref name="หน้า"/>
 
== ชนิดที่พบในประเทศไทย ==
เส้น 34 ⟶ 38:
 
ในวัฒนธรรมของ[[ทิเบต]] มี[[งานศพ|พิธีศพ]]ที่เรียกว่า "[[Sky Burial|การฝังศพกับฟากฟ้า]]" ที่ญาติผู้ตายจะให้สัปเหร่อนำร่างผู้ตาย ไม่ใส่โลง ไม่ใส่เสื้อผ้า ทำพิธีสวดมนต์ส่งวิญญาณ ก่อนที่สัปเหร่อจะหามร่างของผู้ตายขึ้นไปบนภูเขาสูง พร้อมใช้มีดแล่เนื้อของผู้ตายเป็นชิ้น ๆ แล้วให้แร้งกิน เชื่อว่าแร้งจะเป็นผู้นำทางวิญญาณผู้ตายไปสู่สรวง[[สวรรค์]]<ref>[http://www.oknation.net/blog/print.php?id=458289 เวหาฌาปนกิจ (Sky Burial) วิธีทำศพแบบ ทิเบต เลือดเนื้อเพื่อสัตว์โลก]</ref>
 
ในชนเผ่าพื้นเมืองแถบ[[แอฟริกาใต้]] มียาพื้นบ้านที่เรียกว่า "มูติ" (Muti) ทำมาจากหัวแร้งตากแห้ง เชื่อว่าหากนำไปเผาไฟ ผู้ที่ได้สูดดมควันที่ลอยขึ้นมาจะเคลิบเคลิ้มทำให้ล่วงรู้อนาคตได้เหมือนการเข้า[[ฌาน]] <ref name="หน้า"/>
 
จากบันทึกของ[[ชาลส์ ดาร์วิน]] นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้เป็นที่รู้จักจากการเผยแพร่แนวคิดเรื่อง[[ทฤษฎีวิวัฒนาการ]]และ[[การคัดเลือกโดยธรรมชาติ]] ขณะที่โดยสารบนเรือบีเกิลในปี ค.ศ. 1835 ดาร์วินได้บันทึกถึงแร้งไว้ว่า ''"น่าขยะแขยง"'', ''"มีหัวล้าน"'' และ ''"เลือกเกลือกกลิ้งบนซากเน่าเหม็น"'' <ref name="หน้า">หน้า 86-109, ''วายร้ายแสนดี'' โดย เอลิซาเบท รอยต์. '''เนชั่นแนลจีโอกราฟิก ฉบับภาษาไทย''' ฉบับที่ 174: มกราคม 2559</ref>
 
== สถานะในปัจจุบัน ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/แร้ง"