ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไดโนเสาร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนเพิ่ม
ย้อนเพิ่ม
บรรทัด 35:
== ประวัติการค้นพบ ==
 
มนุษย์ค้นพบ[[ซากดึกดำบรรพ์]]ไดโนเสาร์มาเป็นเวลานับพันปีแล้ว แต่ยังไม่มีผู้ใดเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเศษซากเหล่านี้เป็นของสัตว์ชนิดใด และพากันคาดเดาไปต่าง ๆ นานา ชาวจีนมีความคิดว่านี่คือกระดูกของ[[มังกร]] ขณะที่ชาวยุโรปเชื่อว่านี่เป็นสิ่งหลงเหลือของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อครั้งเกิด[[น้ำท่วมโลกครั้งใหญ่]] จนกระทั่งเมื่อมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในปี [[ค.ศ. 1822]] โดย [[กิเดียน แมนเทล]] [[นักธรณีวิทยา]]ชาวอังกฤษ ไดโนเสาร์[[ชนิด (ชีววิทยา)|ชนิด]]แรกของโลกจึงได้ถูกตั้งชื่อขึ้นว่า ''[[อิกัวโนดอน]]'' เนื่องจากซากดึกดำบรรพ์นี้มีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกับโครงกระดูกของตัว[[อิกัวนา]]ในปัจจุบัน
 
สองปีต่อมา วิลเลียม บักแลนด์ (William Buckland) ศาสตราจารย์ด้าน[[ธรณีวิทยา]] ประจำ[[มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด]] ก็ได้เป็นคนแรกที่ตีพิมพ์ข้อเขียนอธิบายเกี่ยวกับไดโนเสาร์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ โดยเป็นไดโนเสาร์ชนิด ''[[เมกะโลซอรัส บักแลนดี]]'' (Megalosaurus bucklandii) และการศึกษาซากดึกดำบรรรพ์ของสัตว์พวกกิ้งก่า ขนาดใหญ่นี้ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จาก[[นักวิทยาศาสตร์]]ทั้งในยุโรปและอเมริกา
 
จากนั้นในปี [[ค.ศ. 1842]] เซอร์ ริชาร์ด โอเวน เห็นว่าซากดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ที่ถูกค้นพบมีลักษณะหลายอย่างร่วมกัน จึงได้บัญญัติคำว่า ''ไดโนเสาร์''<ref>[http://intranet.most.go.th/index.php?option=com_content&task=view&id=162&Itemid=1 ไดโนเสาร์ (ตอนที่ 1)] สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี</ref> เพื่อจัดให้สัตว์เหล่านี้อยู่ในกลุ่ม[[อนุกรมวิธาน]]เดียวกัน นอกจากนี้ เซอร์ริชาร์ด โอเวน ยังได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ <!--Natural History Museum--> ขึ้น ที่เซาท์เคนซิงตัน <!--South Kensington--> [[ลอนดอน|กรุงลอนดอน]] เพื่อแสดง[[ซากดึกดำบรรพ์]]ไดโนเสาร์ รวมทั้งหลักฐานทาง[[ธรณีวิทยา]]และ[[ชีววิทยา]]อื่น ๆ ที่ถูกค้นพบ โดยได้รับการสนับสนุนจากเจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งแซกซ์-โคเบิร์ก-โกทา (Prince Albert of Saxe-Coburg-Gotha) พระสวามีของ[[สมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร]]
 
จากนั้นมา ก็ได้มีการค้นหาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในทุกทวีปทั่วโลก (รวมทั้ง[[ทวีปแอนตาร์กติกา]]) ทุกวันนี้มีคณะสำรวจซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์อยู่มากมาย ทำให้มีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ประมาณว่ามีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขี้นหนึ่งชนิดในทุกสัปดาห์ โดยทำเลทองในตอนนี้อยู่ที่ทางตอนใต้ของ[[ทวีปอเมริกาใต้]] โดยเฉพาะ[[ประเทศอาร์เจนตินา]] และ[[ประเทศจีน]]
== ลักษณะทางชีววิทยา ==
ไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดยักษ์ซึ่งพวกมันมีผิวหนังที่ปกคลุมเป็นเกล็ดเช่นเดียวกับ งู จระเข้ หรือ เต่า กระเพาะอาหารของไดโนเสาร์กินพืช