ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงแรมนรก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
}}
 
'''โรงแรมนรก''' เป็น[[ภาพยนตร์ไทย]][[ขาวดำ]] ผลงานเขียนบท อำนวยการสร้าง กำกับการแสดง และตัดต่อโดย [[รัตน์ เปสตันยี]] ฉายเมื่อ พ.ศ. 2500 ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 35 ม.ม. บันทึกเสียงในฟิล์ม ในขณะที่ภาพยนตร์ไทยส่วนใหญ่ในขณะนั้นนิยมถ่ายด้วยฟิล์ม 16 ม.ม. ใช้เสียงนักพากย์
 
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับ[[รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2502]] ในสาขา[[รายชื่อผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย|ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม]] (รัตน์ เปสตันยี) [[รายชื่อผู้ได้รับรางวัลการกำกับภาพยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย|ถ่ายภาพยอดเยี่ยม ประเภท 35 ม.ม.]] (ประสาท สุขุม) และ[[รายชื่อผู้ได้รับรางวัลการบันทึกเสียงยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย|บันทึกเสียงยอดเยี่ยม]] ([[ปง อัศวินิกุล]])
 
ต้นฉบับฟิล์มภาพยนตร์เรื่องนี้สูญหายไปจากประเทศไทยเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2538 [[หอภาพยนตร์แห่งชาติ]] ได้รับมอบฟิล์มภาพยนตร์ที่สร้างในระหว่างปี พ.ศ. 2498-2512 จากห้องแล็บของบริษัทแรงค์ แลบอราทอรี่ส์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งถูกเก็บรักษาในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ จำนวนประมาณ 20 เรื่อง อาทิเช่น ''[[ชั่วฟ้าดินสลาย]]'' (2498), ''โรงแรมนรก'' (2500), ''[[สวรรค์มืด]]'' (2501), ''[[แพรดำ]]'' (2504), ''[[เงิน เงิน เงิน]]'' (2508), ''[[อีแตน]]'' (2511), ''[[เกาะสวาท หาดสวรรค์]]'' (2511)
 
ในปีที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉาย ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากความล้ำสมัยของเนื้อหา และการนำเสนอตัวละครที่ฉีกแนว ตัวพระ-นาง มีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว ไม่ซ้ำซากจำเจเหมือนเรื่องอื่น และบทภาพยนตร์ที่ใช้สร้าง เขียนขึ้นมาสำหรับภาพยนตร์โดยเฉพาะ ไม่ได้นำเนื้อเรื่องมาจาก[[นวนิยาย]]ที่มีความนิยมอยู่ก่อนแล้ว
 
หลายฉากในภาพยนตร์ ยังแสดงถึงอารมณ์ขันของผู้สร้าง ที่มีการล้อเลียนภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวถึงเรื่อง ''[[สุภาพบุรุษเสือไทย]]'' หรือแม้แต่ ''ชั่วฟ้าดินสลาย'' ของตัวผู้กำกับเอง และเสียดสีวิถีชีวิตของผู้คนในสมัยนั้น
 
==เรื่องย่อ==