ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฉบับร่าง:เวทีทอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mix.natthawut (คุย | ส่วนร่วม)
Thailc12 (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขข้อความที่ถูกผู้ก่อกวนแก้บิดเบือน
บรรทัด 195:
 
อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ประมาณปี [[พ.ศ. 2547]] - [[พ.ศ. 2550]] เกมรอบตกรอบยังแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้ายเช่นเดิม โดยแบ่งเป็นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 9 แผ่นป้ายหมายถึงได้ทองคำป้ายละ 1 บาท (ต่อมาเปลี่ยนเป็นทองคำมูลค่าป้ายละ 10,000 บาท) (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชคคือ สีกัปตัน ต่อมาเป็นไบกอน และคุกกี้เดลิโอ) และป้ายหยุด 3 แผ่นป้าย (เป็นรูปกับดัก (กัปตัน) ใบแดง, ใบบัวบก (น้ำใบบัวบก) และใบหนาด (ไบกอน) และรูปการ์ตูนพิธีกร (แอนดี้, วีเจภูมิ, พัน) กินคุกกี้ (เดลิโอ) ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดเจอป้ายผู้สนับสนุนหลักครบ 9 แผ่นป้ายจะได้รับทองคำหนักครึ่งกิโลกรัม (ต่อมาเปลี่ยนเป็นทองคำมูลค่า 300,000 บาท) ถ้าหากเปิดเจอป้ายหยุด เกมจะหยุดทันทีและได้ทองคำตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าเปิดเจอป้ายหยุดเป็นป้ายแรกก็จะไม่ได้ทองคำในเกมนี้เลย โดยในช่วงปี [[พ.ศ. 2547]] - [[พ.ศ. 2549]] เมื่อเปิดป้ายกับดักผู้เข้าแข่งขันจะถูกขังในกรงใหญ่และได้ทองตามจำนวนที่เปิดมาได้ แต่หากป้ายแรกเป็นกับดัก ก็จะไม่ได้รับทองคำในรอบนี้ และในปี [[พ.ศ. 2549]] เมื่อเปิดป้ายหยุดจะได้สิ่งของตามป้ายที่ได้เลือก เช่นเปิดได้ใบแดง ก็จะได้ใบแดง คล้ายกับรอบ Jackpot ของเวทีทองปี [[พ.ศ. 2545]] - [[พ.ศ. 2547]]
 
และในปี [[พ.ศ. 2558]] เกมตกรอบจะอยู่ในรูปของแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้ง 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก 10 แผ่นป้ายหมายถึงได้ทองคำป้ายละ 2 สลึง (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ คาโอ) และป้ายหยุด 2 แผ่นป้าย (เป็นรูปหน้าพิธีกร) ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันเปิดได้ป้ายผู้สนับสนุนครบ 10 แผ่นป้าย หรือ ป้ายหยุด 2 แผ่นป้าย ก็จะได้รับทองคำหนัก 20 บาท ถ้าหากป้ายแรกเป็นผู้สนับสนุนหลัก แล้วเปิดป้ายต่อไปเจอป้ายหยุด เกมจะหยุดทันทีและได้ทองคำตามที่สะสมไว้ แต่ถ้าป้ายแรกเป็นป้ายหยุด แล้วป้ายต่อไปเป็นผู้สนับสนุนหลัก เกมจะหยุดทันทีและได้รับทองคำหนัก 2 สลึงไปด้วย
 
=== รอบสุดท้าย ===
เส้น 221 ⟶ 219:
แต่ทว่าในช่วงเวทีทองในยุคสุดท้ายได้มีการเปลี่ยนรูปแบบโดยไม่มีแผ่นป้าย "คุณครู" แต่เป็นการเปิดแผ่นป้ายจากผู้สนับสนุนหลักเพียงอย่างเดียว โดยมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ซึ่งใน 12 แผ่นป้ายนั้นจะมี 9 แผ่นป้ายที่เป็นแป้ง ซึ่งมีสีต่างกันออกไป สีละ 3 แผ่นป้าย (ตามแป้งซึ่งมีขายทั้งหมด 3 สี) (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ แป้งเย็นชาวเวอร์ทูชาวเวอร์) ส่วนอีก 3 แผ่นป้ายที่เหลือจะเป็นป้ายหลอกซึ่งเป็นรูปภาพการ์ตูนของพิธีกรโดยเรียกว่าสุดหล่อสุดร้อน ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเปิดแผ่นป้าย 6 แผ่นป้ายให้มีสีถูกต้องตรงกับตำแหน่งของแป้งสีนั้นๆ หากเปิดได้แป้ง และถูกตำแหน่งจะได้รับทองคำหนัก 2 บาท (หรือทองคำมูลค่า 20,000 บาท) หากเปิดได้แป้ง แต่ไม่ถูกตำแหน่ง (สีไม่ตรงกัน) จะได้รับทองคำ 2 สลึง (หรือทองคำมูลค่า 5,000 บาท) แต่ถ้าหากเปิดเจอป้ายสุดหล่อสุดร้อนจะไม่ได้รับทองคำในตำแหน่งนั้น ทั้งนี้หากสามารถเปิดได้เป็นแป้งทั้ง 6 แผ่นป้าย และถูกต้องตรงตามตำแหน่งของสี จะได้รับรางวัลทองคำหนัก 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ ในช่วงที่ราคาทองคำมีมูลค่าสูงกว่าบาทละ 10,000 บาท รางวัล Jackpot ได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นทองคำมูลค่า 600,000 บาทแทน
 
เกมเปิดป้ายชิงทอง ถูกใช้มาตั้งแต่วันที่ [[4 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2545]] จนกระทั่งยุติการออกอากาศในปี [[พ.ศ. 2550]] เพื่อทดแทนเกมชั่งทองซึ่งเป็นที่รู้จักกันมาตลอด เช่นเดียวกับเกมเปิดป้ายชิงเงินล้านในรายการ[[ชิงร้อยชิงล้าน]] ที่ถูกใช้มาตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2536]] ถึง [[พ.ศ. 2555]] เพื่อทดแทนเกมทายใจ
 
== ผู้เข้าแข่งขัน ==
เส้น 239 ⟶ 237:
 
== การกลับมาออกอากาศอีกครั้ง ==
ในปี [[พ.ศ. 2558]] ทางช่อง[[เวิร์คพอยท์ทีวี]]ได้มีการผลิตรายการเพิ่มอีกหลายรายการและหนึ่งในนั้นคือรายการเวทีทอง โดยการกลับมาออกอากาศครั้งนี้จะใช้ชื่อรายการว่า "เวทีทอง เวทีเธอ" พร้อมกับรูปแบบรายการใหม่ ฉากใหม่ พิธีกรชุดใหม่ แต่รูปแบบเกมจะยังคงใช้เกมในยุคกิ๊ก - หม่ำเช่นเดิม<ref name="gold2015"/>
 
== อ้างอิง ==