ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวไทพวน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘ตระกร้า’ ด้วย ‘ตะกร้า’
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
'''ชาวไทพวน''' หรือ '''ชาวลาวพวน''' เป็น[[กลุ่มชาติพันธุ์ไท]] ใช้[[ภาษาพวน]] ซึ่งเป็น[[ตระกูลภาษาไท-กะได]] อาศัยอยู่ในหลายจังหวัดของประเทศไทย เดิมอาศัยอยู่ในประเทศลาว
 
==ประวัติ==
ชนเผ่าไทพวน ที่อยู่ภายใต้การบัญชาของขุนเจ็ดเจือง ได้ตกลงกับขุนลอ ยกกำลังพลของตนมาตั้งอยู่แขวงพวน ขุนเจ็ดเจืองได้ใช้ลูกน้องเก่าของท้าวเจืองแต่ก่อน ซึ่งแสดงความสัตย์ซื่อบริสุทธิ์ต่อตนนั้น ให้ลงมาซอกบ่อนจะตั้งเมืองหลวงอยู่ในแขวงพวน
เขาเจ้าได้เอาช้าง 4 ตัว ซึ่งเป็นช้างผู้ 2 ตัว และช้างแม่ 2 ตัว เฮ็ดพิธีบวงสรวงสว่ายเทวดาแล้วส่งช้างนั้นลงมาซอกบ่อนตั้งเมือง โดยอธิษฐานว่า ถ้าช้างตัวผู้นอนลงบ่อนใด ให้ถือว่าบ่อนนั้นเป็นหัวเมือง และเมื่อช้างตัวแม่นอนลงบ่อนใด ให้ถือว่าบ่อนนั้นเป็นหางเมือง เมื่อเดินทางมาหลายสิบมื้อแล้ว ช้างตัวผู้ทั้งสองตัวก็ได้นอนลงแคมน้ำงิ้ว ส่วนข้างตัวแม่นั้นยังสืบต่อเดินทางไปฮอดน้ำกั้ง แล้วก็นอนลงที่นั้น เขาเจ้าจึงตกลงเอาดินแดนระหว่างนั้น เป็นนครหลวงของเมืองพวน โดยใส่ชื่อว่า เมืองช้างขวาง
เมื่อท้าวแองกาไปรายงานต่อขุนเจ็ดเจืองแล้ว จึงเอาชาวพวนทั้งหมดลงมาอยู่ที่แขวงพวน เมื่อมาฮอดแล้วก็เฮ็ดพิธีฉลองชัยชนะ ทั้งกลางวันและกลางคืน เป็นเวลาสามเดือน อยู่ท่งนาแห่งหนึ่ง จนว่าผู้บ่าวและผู้สาวเล่นกันถึงมานลูก จึงเอิ้นทุ่งนานั้นว่า นาสาวมาน ซึ่งกลายมาเป็น นาซะมานในปัจจุบันนี้
ในเวลาฉลองชัยนั้น ขุนเจ็ดเจืองได้ประกาศตนเองเป็นขุนเจ็ดเจือง อย่างเป็นทางการเพราะเอาชนะท้าวเจืองได้ แล้วก็ยกเมืองขึ้นเป็นเมืองเชียงขวาง และหมดทั้งแขวงพวน ให้เอิ้นว่า “แขวงเชียงขวาง” เพราะมีเจ้าปกครองแบบเอกราช แล้วก็ให้คนไปตัดไม้และหาเครื่องที่จำเป็น มาปลูกเรือนใส่คุ้มบ่อนมีดินเพียงอันกว้างขวาง ซึ่งแม่นสนามกีฬาเตะบาน เดี๋ยวนี้ และให้ลูกน้องลงไปปลูกเรือน อยู่ระหว่างคุ้มเจ้าเจ็ดเจืองนั้น ไปหาน้ำงิ้ว โดยเอิ้นบ้านนั้นว่า บ้านใต้คุ้ม
เจ็ดเจือง
(พระเจ้าแห่งความซื่อสัตย์)
ปฐมกษัตริย์แห่ง อาณาจักรพวน
การแบ่งปันเขตน้ำแดนดิน ระหว่าง
“อาณาจักรหลวงพระบาง และ อาณาจักรพวน”
ปื้มประวัติศาสตร์ ของ หม่อมเจ้าหญิง คอยถาปะโมด ได้เขียนบรรยายไว้ว่า
เมื่อขุนลอผู้เป็นอ้าย ได้ครอบครองเมืองหลวงพระบาง อยู่เย็นเป็นสุขสบายแล้ว ขุนลอก็มีความคิดฮอดคิดถึงเจ็ดเจืองผู้เป็นน้อง ที่ครอบครองเมืองพวนพุ้น เพราะขุนลอกับเจ็ดเจืองสองอ้ายน้อง มีความรักแพงซึ่งกันและกันหลายที่สุด ทั้งฝ่ายเจ็ดเจืองก็มีความรักและคิดฮอดคิดถึงขุนลอผู้เป็นอ้ายอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ขุนลอจึงสั่งให้ขุนใหญ่ตาง ตน ให้ไปเชิญองค์น้องเจ็ดเจืองมายามด่วน เมื่อรับทราบแล้ว โดยบ่ได้ชักช้า เจ็ดเจืองก็ได้จัดเอากำลังให้ติดตามตนลงไปหาขุนลอโดยด่วน เมื่อเจ้าเจ็ดเจืองลงไปถึงเมืองหลวงพระบางแล้ว ขุนลอผู้เป็นอ้ายก็ปลื้มปีติยินดี จึงออกไปต้อนรับเจ็ดเจืองผู้เป็นน้อง พร้อมกับเชิญเข้าไปในหอพักเซา ที่ภูสี กลางเมืองหลวงพระบาง ภูสีนี้มีชื่อเดิมว่า ภูเขาก้า
 
ขุนลอและเจ็ดเจือง สองอ้ายน้องก็พร้อมกันเข้าพักผ่อนในห้องพิเศษ ที่ได้จัดแจงเอาไว้ จากนั้น เจ้าพระยา เสนา อามาตย์ และชาวเมืองหลวงพระบาง ก็พร้อมกันมาทำลาบาสี สู่ขวัญเบิกบานม่วนซื่นยินดี ขุนลอกับเจ็ดเจืองสองอ้ายน้องขึ้นนั่งแท่นเรียงกัน สนทนากัน ด้านราชการเมืองต่างๆ
ขุนลอกับเจ็ดเจืองมีความคิดถูกต้องกัน เหมือนดั่งความคิดพรหม แล้วขุนลอจึงเว้าขึ้นว่า พวกเรานี้เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน แต่พวกเราต่างคนก็ต่างได้ครอบครองเมืองต่างกันแล้ว
เมืองของเราสองอ้ายน้อง เขตแดนใกล้ชิดติดกัน เราทั้งสองต้องประกอบด้วยความสามัคคีไมตรี อย่าให้เป็นที่แตกหักกันได้ ให้เหมือนดั่งบิดาที่ได้สาบานน้ำ ให้พวกเรากินนั้นเทอญ
 
พวน (Phuen, Puen) เป็นคำที่เรียกกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคว้นเชียงขวางหรือบริเวณที่ราบสูง ในประเทศสาธารณรัฐธิปไตยประชาชนลาว มีอาณาเขตติดต่อกับญวน ได้ชื่อว่าพวน เพราะเชียงขวางมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านพื้นที่ ชื่อแม่น้ำพวน ชาวพวนนิยมตั้งถิ่นฐานสร้างที่ทำกิน บริเวณลุ่มแม่น้ำ ด้วยมีอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ไถนา ชาวพวนได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยหลายครั้งด้วยกัน คือ สมัยกรุงธนบุรีตอนปลาย สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ไทยยกทัพไปปราบฮ่อ เมื่ออพยพมาอยู่ในประเทศไทย จึงเลือกสถานที่สร้างบ้านเรือนอยู่ตามแม่น้ำลำคลอง สังเกตได้จากชาวไทยพวนอำเภอปากพลี จะสร้างบ้านอยู่ตามลำคลองตลอดแนว ตั้งแต่ตำบลหนองแสง ตำบลเกาะหวาย ตำบลเกาะโพธิ์ จนถึงตำบลท่าเรือ เป็นต้น ที่อำเภอเมืองนครนายก จะมีชาวไทยพวนอาศัยอยู่ที่ตำบลสาริกาและตำบลเขาพระชาวไทยพวนในจังหวัดนครนายก เชื่อกันว่า อพยพเข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ประมาณ ปี พ.ศ. 2322 เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงโปรดเกล้าให้ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์และหัวเมืองต่างๆ ซึ่งมีชื่อเรียกรวมกันว่า หัวพันทั้งห้าทั้งหก ประกอบด้วย เมืองคำม่วน เมืองคำเกิด เมืองเวียงไชย เมืองไพศาลลี เมืองซำเหนือ และเมืองเชียงขวาง ได้กวาดต้อนเอาลาวเวียง(ลาวเวียงจันทน์) ลาวพวนและลาวโซ่ง มาไว้ที่เมืองร้าง (เพราะถูกพม่ากวาดต้อนราษฎรไปตั้งแต่สมัยกรุงศรัอยุธยาเสียแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310) เช่นเมืองสระบุรี ลพบุรี นครนายก และฉะเชิงเทรา ระยะที่สอง ในราวปี พ.ศ. 2335 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมืองแถงและเมืองพวนแข็งข้อต่อเมืองเวียงจันทน์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์จึงได้ยกทัพไปปราบ และกวาดต้อนครอบครัวลาวทรงดำ(ลาวโซ่ง)และลาวพวนส่งมากรุงเทพฯ ลาวทรงดำถูกส่งไปอยู่ที่เพชรบุรี ลาวพวนถูกส่งมาที่เมืองลพบุรี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ราชบุรีและจันทบุรี ด้วย ระยะที่สาม ในราวปี พ.ศ. 2370 เจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ ก่อกบฏต่อกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าให้พระยาราชสุภาวดี(เจ้าพระยาบดินทร์เดชา) เป็นแม่ทัพ ขึ้นไปปราบกบฏ และได้กวาดต้อนครอบครัวลาวพวนมาไว้ที่อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดลพบุรี และจังหวัดพิจิตร เป็นต้น ชาวไทยพวน มีอุปนิสัยยิ้มแย้มแจ่มใส โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และรักสงบ ยึดมั่นใน ขนบธรรมเนียมประเพณี มีวัฒนธรรม มีภาษา มีความผูกพันในระบบเครือญาติ เผ่าพันธุ์ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองมาช้านาน ชาวไทยพวนจะพูดได้ทั้งภาษาไทยกลาง และภาษาไทยพวน โดยจะใช้ภาษาไทยกลางพูดกับคนต่างถิ่น แต่จะพูดภาษาไทยพวนกับกลุ่มชนเดียวกัน ภาษาพูดของไทยพวนมีสำเนียงไพเราะ ซึ่งจะแตกต่างจากภาษาพูดของลาวเวียง ที่มีสำเนียงสั้นๆห้วนๆ