ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภออรัญประเทศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 39:
 
[[พ.ศ. 2512]] [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]] เสด็จมาถวายผ้าพระกฐินส่วนพระองค์ ณ วัดหลวงอรัญญ์ อำเภออรัญประเทศ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ [[6 พฤศจิกายน]] พ.ศ. 2512 เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จนกระทั่งเวลา 12.00 น. โดยประมาณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากค่ายสุรสิงหนาทถึงยังหน้าพระอุโบสถ ทรงถวายผ้าพระกฐิน มีประชาชนมาเฝ้ารับเสด็จชมพระบารมีนับหมื่น หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จต่อไปยังนิคมสร้างตนเองคลองน้ำใสในเวลาประมาณ 13.30 น.
 
== ลักษณะภูมิอากาศ ==
สภาพภูมิอากาศแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดูกาล
* '''ฤดูร้อน''' เริ่มต้นแต่เดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน
* '''ฤดูฝน''' ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม
* '''ฤดูหนาว''' ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เดือนมกราคม
 
อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 27.5-28.78 องศาเซลเซียส
เส้น 104 ⟶ 110:
* '''[[ประตูชัยอรัญประเทศ]]''' สร้างเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2482 โดยกรมยุทธโยธาทหารบกได้ระดมกำลังทหารช่างทำการสร้างทั้งกลางวันและและกลางคืนตลอด 24 ชั่วโมง แล้วเสร็จภายใน 29 วัน เสร็จเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2482
* ประตูทางผ่านเข้าออกไทย-กัมพูชา ที่ตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนไทย-กัมพูชา ติดกับเมือง[[ปอยเปต]] ประตูแห่งนี้ถูกปิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ปัจจุบันได้เปิดพรมแดน ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ทำให้ประชาชนชาวไทยและกัมพูชาเดินผ่านเข้าออกหากันได้
* '''[[สถานีรถไฟอรัญประเทศ]]''' สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 เป็นสถานีแห่งประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นเป็นสถานที่ร่วมสมัยในยุครถจักรไอน้ำเฟื่องฟูจนถึงรถจักรหัวลากดีเซลหลักฐานที่ยังคงหลงเหลือคือหอเหล็กเติมน้ำให้หัวรถจักรในบริเวณใกล้เคียงกันไม่ไกลนัก ทางรถไฟไทยสร้างบนเส้นทางสมัยโบราณ ทางสายกรุงเทพ-อรัญประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ 5 รัฐบาลสยามได้ตัดทางรถไฟเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯกับฉะเชิงเทรา (แปดริ้ว) ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้ขยายเส้นทางไปทางตะวันออกจนเชื่อมกับรถไฟของกัมพูชาหรืออินโดจีนฝรั่งเศสในขณะนั้นที่ ต.คลองลึก อ.อรัญประเทศ
 
เส้นทางรถไฟสายตะวันออกยังคงใช้แนวทางคมนาคมเก่าคือแม่น้ำลำคลองที่มีอยู่ก่อนหน้าเป็นสำคัญ
 
ทางรถไฟแยกออกจากทางสายหลักที่สถานีจิตรลดาไปทางทิศตะวันออกโดยล้อกับแนวคลองมหานาคซึ่งอยู่ทางใต้ คลองมหานาคนี้ขุดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 1 แยกจากคูเมืองตรงวัดสระเกศเพื่อใช้เดินทางติดต่อกับชุมชนทางตะวันออกของกรุงเทพ ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ขุดต่อออกไปเชื่อมกับแม่น้ำบางปะกงที่ประตูน้ำท่าไข่ ฉะเชิงเทราเพื่อการส่งกำลังไปทำสงครามด้านตะวันออกคือเขมรและญวนในสมัยนั้น เรียกกันต่อมาว่าคลองแสนแสบ
 
จากคลองตัน ทางรถไฟข้ามคลองแสนแสบซึ่งหันเบนขึ้นไปทางเหนือ จากนี้ทางรถไฟก็จะเปลี่ยนมาใช้แนวคู่ขนานกับคลองประเวศบุรีรมย์ตรงบริเวณบ้านทับช้าง คลองประเวศฯขุดขึ้นในปี พ.ศ. 2423 แยกจากคลองพระโขนงไปทางตะวันออกเป็นเส้นตรงถึงแม่น้ำบางปะกงใต้เมืองฉะเชิงเทราเล็กน้อย ระหว่างที่ทางรถไฟใช้แนวคลองประเวศไปถึงฉะเชิงเทราก็จะข้ามคลองสำคัญหลายแห่งซึ่งไหลจากเหนือลงใต้อันเป็นคลองที่ระบายน้ำจากที่ลุ่มต่ำฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ทะเลมีทั้งคลองธรรมชาติและคลองขุด เช่น คลองหลวงแพ่ง คลองอุดมชลจร คลองเปรง คลองแขวงกลั่น คลองบางพระ เข้าสู่ตัวเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งในสมัยแรกสร้างนั้นรางรถไฟได้ไปสุดทางที่สถานีแปดริ้วริมแม่น้ำบางปะกง
 
ทางแยกไปอรัญประเทศคือรางรถไฟหัวมุมเลี้ยวขึ้นทิศเหนือเพื่อตามแนวแม่น้ำบางปะกงขึ้นไปแต่ใช้การตัดทางตรงผ่านที่ราบจนพบกับแม่น้ำโยทะกาไหลมาจากนครนายกลงแม่น้ำบางปะกง จุดนี้เองเป็นเส้นทางเดินทัพในสมัยโบราณที่ถูกกล่าวถึงเมื่อคราวสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไล่รบกับกองทัพพม่าแถบเมืองบางคางหรือปราจีนบุรี
 
ตั้งแต่ช่วงบ้านสร้าง ทางรถไฟโค้งไปทางตะวันออกล้อกับแม่น้ำบางปะกงที่เรียกตอนนี้ว่าแม่น้ำปราจีนบุรี ซึ่งจะมีแนวเทือกเขาใหญ่ขนานอยู่ทางทิศเหนือ จนเข้าสู่เมืองปราจีนบุรี จากจุดนี้ทางรถไฟใช้การตัดทางใหม่ลัดเข้าสู่ต้นน้ำบางปะกง มีชุมชนโบราณที่เป็นด่านระหว่างทางบนลำน้ำ เช่น ประจันตคามหรือด่านกบแจะ กบินทร์บุรีหรือด่านหนุมานและพระปรง(เป็นจุดที่ทางรถไฟข้ามแควหนุมานและแควพระปรง ต้นน้ำบางปะกง) ต่อจากนั้นจึงใช้เส้นทางบกตัดลัดผ่านชุมชนที่ราบ เช่น สระแก้ว วัฒนานคร จนถึงอรัญประเทศและจุดผ่านแดนบ้านคลองลึกเข้าสู่ปอยเปตของกัมพูชา
 
แท้จริงแล้ว เส้นทางรุถไฟจากปราจีนบุรีจนถึงอรัญประเทศน่าจะซ้อนทับลงบนทางเดินบกโบราณจากภาคกลางของไทยไปสู่ที่ราบลุ่มทะเลสาบของเขมรที่เรียกกันว่า ฉนวนไทย มีแหล่งโบราณคดีใหญ่น้อยกระจายตัวกันตามลำน้ำอันเป็นต้นสายแม่น้ำบางปะกงคือแควหนุมานกับแควพระปรง และยังมีด่านพระจารึก ซึ่งปรากฏชื่อในเอกสารพงศาวดารสมัยอยุธยาว่าเป็นจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์บนเส้นทางสายนี้ด้วย
 
ดังนั้น เส้นทางรถไฟจากชายแดนไทย-กัมพูชาที่มีต่อไปจนถึงศรีโสภณ พระตะบอง จึงน่าจะสร้างลงบนทางเดินโบราณนี้ด้วยเช่นกัน
* '''[[จุดผ่านแดนบ้านหนองเอี่ยน- สตึงบท]]''' ปัจจุบันการค้าบริเวณบ้านคลองลึก (ตลาดโรงเกลือ)เติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบกับมีตลาด อินโดจีน เพิ่มขึ้นมาทำให้เกิดความคับคั่ง
ของการจราจร ทั้งนักท่องเที่ยวและรถขนส่งสินค้า ไทยและกัมพูชาจึงมีแนวคิด แยกคนและสินค้า ออกจากกัน เน้นการขนส่งสินค้าเป็นหลัก ที่ตั้งบ้านหนองเอี่ยน ตำบลท่าข้าม จังหวัดสระแก้ว
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
* นายเชาวน์ ณ ศีลวันต์ นายวัฒนา สุภรณ์ไพบูลย์ และ นางนรินทร์ ช่วงโชติ. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 4,ประวัติการรถไฟในประเทศไทย
* ข่าวสารเพื่อคนก่อสร้างไทย - พระผู้สถาปนาสมาคมนายช่างแห่งกรุงสยาม ...http://www.cons-max.com
* http://sarakadee.com
* งานข้อมูลข่าวสาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว
* [http://www.arantoday.com ข้อมูลเมืองอรัญประเทศ]
* [http://www.sko.moph.go.th/webdata/HomeReport.php?select=06&Submit=%B5%A1%C5%A7 ข้อมูลหมู่บ้าน]
* [http://www.sko.moph.go.th/webdata/PopReportAge.php?AgeSelect1=0&AgeSelect2=110&Yearselect2=pop48&Submit2=%B5%A1%C5%A7 ข้อมูลประชากร]
* [http://www.dopa.go.th/xstat/p4827_02.html ตำบลในอำเภออรัญประเทศ] กรมการปกครอง
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.tambonbandan.go.th เว็บไซต์เทศบาลตำบลบ้านด่าน]
* [https://sites.google.com/site/skatarun/ เว็บไซต์วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว]
 
 
{{Coord|13|41|16|N|102|30|22|E|region:TH_type:adm2nd|display=title}}
 
{{อำเภอจังหวัดสระแก้ว}}