ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 35:
=== อุปสมบทใหม่อีกครั้ง ที่มาของ ''พระมหาสา 18 ประโยค'' ===
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลาผนวชและเสด็จขึ้นครองราชย์ มีรับสั่งให้นำนายสา มาเข้าเฝ้า แล้วมีพระราชกระแสรับสั่งถามว่า ''จะบวชอีกมั้ย'' นายสาก็กราบบังคมทูลว่า ''อยากจะบวช'' พระองค์จึงได้ทรงจัดหาเครื่อง[[อัฐบริขาร]]ให้ ท่านจึงได้อุปสมบทครั้งที่ 2 เมื่ออายุได้ 39 ปี ตก พ.ศ. 2394 ณ พัทธสีมา วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำพู กรงเทพมหานคร โดยมีกรมหมื่นบวรรังสีสุริยพันธุ์ (ต่อมาคือ[[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์]]) เป็นพระอุปัชฌาย์ คราวนี้ได้ฉายาว่า ''ปุสฺสเทโว''
ขณะอายุได้ 38 ปี เมื่ออุปสมบทแล้ว ว่ากันว่า ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้งหนึ่ง และทรงแปลได้หมดทั้ง 9 ประโยค จึงมีผู้กล่าวถึงพระองค์ด้วยสมญานามว่า สังฆราช 18 ประโยค ในคราวอุปสมบทครั้งที่ 2 นี้ พระองค์เป็นพระอันดับอยู่ 7 ปี จึงได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่[[พระสาสนโสภณ]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2401]] รับประพระราชทานนิตยภัตเสมอพระราชาคณะชั้นเทพ แต่ถือตาลปัตรแฉกเสมอพระราชาคณะชั้นสามัญ<ref name="เรื่องตั้ง หน้า 104"/> คนทั่วไปเรียกกันโดยย่อว่า เจ้าคุณสา
 
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามเสร็จเมื่อปี [[พ.ศ. 2408]] ซึ่งเป็นวัดแรกที่ตั้งขึ้นใหม่ของ[[ธรรมยุติกนิกาย]]ขึ้น แล้วโปรดให้พระสาสนโสภณ (สา ปุสฺสเทโว) ไปดำรงตำแหน่ง[[เจ้าอาวาส]]วัดราชประดิษฐฯ มีพระภิกษุติดตามจากวัดบวรนิเวศวิหารอีก 20 รูป ครั้งนี้ท่านได้รับพระราชทานตาลปัตรแฉกพื้นแพรเสมอชั้นธรรม<ref name="เรื่องตั้ง หน้า 104"/> และเมื่อปี [[พ.ศ. 2415]] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ สถาปนาเลื่อนสมณศักดิ์ ขึ้นเป็น[[พระราชาคณะเจ้าคณะรอง]]ที่[[พระธรรมวโรดม]] แต่คงใช้ราชทินนามเดิมว่า พระสาสนโสภณที่พระธรรมวโรดม ต่อมาเมื่อปี [[พ.ศ. 2422]] ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่[[สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์]] เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือ