ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บ้านซอยสวนพลู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
 
เดิมที บ้านหลังนี้เป็นของ[[พระพินิจชนคดี]]สามีของ หม่อมราชวงศ์หญิงบุญรับ พินิจชนคดี พี่สาวของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ และหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ใช้เป็นที่อยู่ของพี่น้องในราชสกุลปราโมช จนกระทั่งในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย|สงครามโลกครั้งที่สอง]]จะถูกยึดโดยรัฐบาล และถูกใช้เป็นที่พำนักของทหารญี่ปุ่น แต่ทว่าหม่อมราชวงศ์หญิงบุญรับโอนชื่อเป็นของตนเองเสียก่อน ก่อนที่จะตกมาอยู่ในความครอบครองของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์
 
ในวันที่ [[28 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2518]] สมัยที่ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี บ้านหลังนี้ได้ถูก[[ตำรวจ]]บุกรุกทำลายข้าวของ ซึ่งหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ไม่อยู่บ้าน เหตุเนื่องจากกลุ่มตำรวจไม่พอใจหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ นายกรัฐมนตรี ก่อนหน้านั้นเดินทางไปประกันตัวผู้ถูกจับกุมที่[[ภาคเหนือ]] จากเหตุทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งศาลอนุญาตให้ประกันตัวได้ เหตุนี้สร้างความไม่พอใจแก่ตำรวจเป็นอย่างมาก
 
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เข้าอยู่อาศัยในบ้านนี้เมื่อ พ.ศ. 2503 และปรับปรุงไปเรื่อยๆ เป็นเวลากว่าสามสิบปี จนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2538 ปัจจุบัน[[กรมศิลปากร]]ได้ขึ้นทะเบียนเป็น[[โบราณสถาน]] ประเภทบ้านบุคคลสำคัญ และเปิดเป็น '''พิพิธภัณฑ์บ้าน ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช''' อยู่ในการดูแลของ '''มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี'''