ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อะคิพิม็อกซ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thomas Walt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Thomas Walt (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 57:
'''อะคิพิม็อก''' ({{lang-en|Acipimox}}) (ชื่อการค้า '''Olbetam''' ในยุโรป) เป็นยาลดระดับไขมันในกระแสเลือด[[อนุพันธ์ของไนอะซิน|กลุ่มอนุพันธ์ของไนอะซิน]] (niacin derivative) มีสูตรโครงสร้างคล้ายกับ[[ไนอะซิน]] แต่ยาไม่ถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกาย จึงอยู่ในกระแสเลือดได้นาน และถูกขับออกจากร่างกายได้ช้า จึงสามารถออกฤทธิ์ได้ยาวนาน การใช้ยาในขนาดต่ำจึงมีประสิทธิภาพมากพอในการรักษาและอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นนั้นพบว่าเกิดขึ้นได้น้อยกว่า[[ไนอะซิน]] อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดถึงขนาดอะพิคิม็อกที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการรักษาเทียบเท่ากับ[[ไนอะซิน]] 
==กลไกการออกฤทธิ์==
[[ไฟล์:Acipimox.jpg|left|250px|thumb|อะคิพิม็อกซ์ ชนิดเม็ด ขนาด 250 มิลลิกรัม ภายใต้ชื่อการค้า Olbetam ของบริษัท ไฟเซอร์ (Pfizer)]]
อะคิพิม็อกออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการการสร้าง[[ไตรกลีเซอไรด์]]ของ[[ตับ]]และลดการหลั่งไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำมาก (Very low-density lipoprotein cholesterol; VLDL-C) ซึ่งจะส่งผลโดยอ้อมทำให้ไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low-density lipoprotein cholesterol; LDL-C) ลดลงและมีการเพิ่มขึ้นของไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (High-density lipoprotein cholesterol; HDL-C) ได้ในที่สุด  การใช้อะคิพิม็อกในระยะยาวมีความสัมพันธ์กับการลดของของอัตราการตาย แต่อาการข้างเคียงที่เกิดจากอะคิพิม็อกซึ่งเกิดขึ้นได้บ่อยถือเป็นข้อจำกัดหนึ่งของการใช้ยานี้ในทางคลินิก ซึ่งอาการไม่พึงประสงค์เหล่านั้น ได้แก่ อาการผิวหนังแดง ร้อนวูวาบ (flushing) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระดับของ[[โพรสตาแกลนดิน]] (prostaglandin D2)ในร่างกาย, [[ใจสั่น]] (palpitation), และไม่สบายท้อง (gastrointestinal disturbances) โดยอาการผิวหนังร้อนแดงอาจสามารถลดความรุนแรงลงได้โดยการรับประทาน[[แอสไพริน]] (aspirin) ก่อนการรับประทานอะคิพิม็อกประมาณ 20-30 นาที ทั้งนี้ การรับประทานอะคิพิม็อกในขนาดสูงอาจทำให้เกิดความผิดปกติของตับ, ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ, และทำให้เกิดอาการของ[[โรคเกาต์]]ได้