ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภออรัญประเทศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 16:
| คำขวัญ = สุดแดนสยามบูรพา ย่านการค้าอินโดจีน<br/>ชนท้องถิ่นห้าชาติ พระสยามเทวาธิราชศักดิ์สิทธิ์<br/>แหล่งผลิตผ้าทอมือ เลื่องชื่อแตงแคนตาลูป
}}
'''อรัญประเทศ''' เป็นอำเภอชายแดนทางด้านตะวันออกของ[[ประเทศไทย]] มีแนวชายแดนติดต่อกับ[[ประเทศกัมพูชา]] เดิมเป็นอำเภอหนึ่งใน[[จังหวัดกบินทร์บุรี]] ภายหลังถูกยุบรวมกับ[[จังหวัดปราจีนบุรี]] (เมื่อวันที่ [[31 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2468]]) ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของ[[จังหวัดสระแก้ว]]ซึ่งเป็นจังหวัดที่ตั้งขึ้นมาใหม่ภายหลัง (เมื่อวันที่ [[1 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2536]])
'''อรัญประเทศ''' อำเภอหนึ่งของ[[จังหวัดสระแก้ว]]
 
== ที่ตั้งและอาณาเขต ==
บรรทัด 31:
 
พื้นที่อำเภออรัญประเทศมีถนนโบราณสายหนึ่งตัดผ่านจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ทางทิศเหนือหมู่บ้านอรัญประมาณ 400 เมตร มีคนเล่าต่อกันมาว่าเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นผู้สร้างไว้ ต่อมาจึงมีผู้ตั้งชื่อว่า ''ถนนเจ้าพระยาบดินทรเดชา'' สันนิษฐานว่า สถานีอรัญประเทศ เป็นจุดปลายทางของรถไฟสายตะวันออกซึ่งสร้างลงบน “ฉนวนไทย” หรือทางราบที่ใช้ติดต่อระหว่างที่ราบลุ่มเจ้าพระยากับที่ราบลุ่มทะเลสาบเขมรมาแต่โบราณ เส้นทางรถไฟจากปราจีนบุรีจนถึงอรัญประเทศน่าจะซ้อนทับลงบนทางเดินบกโบราณจากภาคกลางของไทยไปสู่ที่ราบลุ่มทะเลสาบของเขมรที่เรียกกันว่า ฉนวนไทย มีแหล่งโบราณคดีใหญ่น้อยกระจายตัวกันตามลำน้ำอันเป็นต้นสายแม่น้ำบางปะกงคือแควหนุมานกับแควพระปรง และยังมีด่านพระจารึก ซึ่งปรากฏชื่อในเอกสารพงศาวดารสมัยอยุธยาว่าเป็นจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์บนเส้นทางสายนี้ด้วย
 
ดังนั้น เส้นทางรถไฟจากชายแดนไทย-กัมพูชาที่มีต่อไปจนถึงศรีโสภณ พระตะบอง จึงน่าจะสร้างลงบนทางเดินโบราณนี้ด้วยเช่นกัน เจ้าพระยาบดินทรเดชาคงสร้างขึ้นเมื่อคราวยกทัพกลับจากตีเขมรและญวน
 
อำเภออรัญประเทศได้ยกฐานะขึ้นจากกิ่งอำเภออรัญประเทศในปี [[พ.ศ. 2456]] อาชีพหลักของคนในอำเภออรัญประเทศแต่เดิมได้แก่ การค้าขายและเกษตรกรรม โดยในอดีตนิยมปลูกข้าว และมันสำปะหลัง ปัจจุบันนิยมปลูกอ้อยเพื่อส่งโรงงาน และเป็นแหล่งส่งเสริมการปลูก[[แคนตาลูป]]เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
 
เมื่อ [[พ.ศ. 2473]] พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัติพระนครหลังจากเสด็จประพาสไซ่ง่อน เวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยรถยนต์พระที่นั่งถึงอำเภออรัญประเทศ ได้ประทับบนสถานีรถไฟอรัญประเทศประมาณ 30 นาที แล้วจึงเสด็จขึ้นประทับรถไฟขบวนพิเศษจากอรัญประเทศเข้าพระนคร ในครั้งยังเป็นการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ประชาชนที่มาเฝ้ารับเสด็จจึงมีเฉพาะชาวอรัญเท่านั้น เนื่องจากการคมนาคมยังไม่สะดวก การติดต่อข่าวสารยังล่าช้า
 
[[พ.ศ. 2512]] [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]] เสด็จมาถวายผ้าพระกฐินส่วนพระองค์ ณ วัดหลวงอรัญญ์ อำเภออรัญประเทศ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ [[6 พฤศจิกายน]] พ.ศ. 2512 เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จนกระทั่งเวลา 12.00 น. โดยประมาณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากค่ายสุรสิงหนาทถึงยังหน้าพระอุโบสถ ทรงถวายผ้าพระกฐิน มีประชาชนมาเฝ้ารับเสด็จชมพระบารมีนับหมื่น หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จต่อไปยังนิคมสร้างตนเองคลองน้ำใสในเวลาประมาณ 13.30 น.
 
== ลักษณะภูมิอากาศ ==
เส้น 38 ⟶ 46:
* '''ฤดูหนาว''' ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เดือนมกราคม
 
อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 27.5-28.78 องศาเซลเซียส
 
== การแบ่งเขตการปกครอง ==
เส้น 58 ⟶ 67:
|}
 
=== การปกครองส่วนท้องถิ่น ===
ท้องที่อำเภออรัญประเทศประกอบด้วย[[องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น]] 13 แห่ง ได้แก่
* '''[[เทศบาลเมืองอรัญญประเทศ]]'''<!--มี ญ สองตัว http://www.tessabanaran.go.th/--><ref>[http://www.tessabanaran.go.th/ เว็บไซต์เทศบาลเมืองอรัญญประเทศ]</ref> ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอรัญประเทศทั้งตำบล
* '''เทศบาลตำบลฟากห้วย''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฟากห้วยทั้งตำบล
* '''เทศบาลตำบลบ้านด่าน''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านด่านทั้งตำบล
* '''เทศบาลตำบลป่าไร่''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าไร่ทั้งตำบล
* '''เทศบาลตำบลบ้านใหม่หนองไทร''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่หนองไทรทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองไผ่''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองไผ่ทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลหันทราย''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหันทรายทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลคลองน้ำใส''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองน้ำใสทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าข้ามทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลทับพริก''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับพริกทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลผ่านศึก''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผ่านศึกทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสังข์''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองสังข์ทั้งตำบล
* '''องค์การบริหารส่วนตำบลคลองทับจันทร์''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองทับจันทร์ทั้งตำบล
 
== การศึกษา ==
;ระดับอาชีวศึกษา
* [[วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสระแก้ว]]
* [[มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว]]
 
== การสาธารณสุข ==
เส้น 69 ⟶ 94:
** โรงพยาบาลค่ายสุรสิงหนาท
* '''สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 1 แห่ง '''
* '''สถานีกาชาด 1 แห่ง ''' สถานีกาชาดที่ 6 อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ขีดความสามารถ เน้นงานบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยและผู้ด้อยโอกาส ในเวลาปกติจะให้การรักษาพยาบาล ฟื้นฟูส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ผู้ป่วย สถานีกาชาดจะมีแพทย์ระดับอาวุโสมาช่วยตรวจรักษาผู้ป่วย เปิดทำการจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00-16.00 น. และจะเป็นผู้ป่วยนอกทั้งหมดไม่มีการรับผู้ป่วยไว้ในสถานีกาชาด จึงแตกต่างกับโรงพยาบาลชุมชน
* '''สถานีกาชาด 1 แห่ง ''' สถานีกาชาดที่ 6 อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
* '''โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 16 แห่ง '''
 
เส้น 76 ⟶ 101:
* '''[[ปราสาทเขาน้อย]]''' เป็น[[โบราณสถาน]]ของชาติ ปราสาทเขาน้อยสีชมพูแห่งนี้ ยังปรากฏอยู่ในภาพสัญลักษณ์ประจำจังหวัดสระแก้วอีกด้วย
* '''[[ปราสาทเมืองไผ่]]''' โบราณสถานที่ก่อสร้างด้วยอิฐ[[ศิลาแลง]] ปัจจุบันพังทลายจนไม่มีเค้าโครงเดิมให้เห็น นับเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่และทรงคุณค่าอีกแห่งหนึ่ง
* '''[[เนินโบราณสถานบ้านหนองคู]]'''
* '''[[โบราณสถานเขารัง]]'''
* '''[[วัดชนะไชยศรี]]'''
* '''[[ศิลาจารึกบ้านกุดแต้]]'''
* '''[[ตลาดอินโดจีน]]'''รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน สอบถามได้ที่ โทร 0-2936-2852-66 ต่อ 311 ท่ารถปลายทางอยู่หน้าตลาดอินโดจีน
* '''[[พระสยามเทวาธิราช]]''' ตั้งอยู่บริเวณใกล้ที่ทำการเทศบาลอรัญประเทศ ติดกับสถานีตำรวจ สร้างขึ้นมานานกว่า 20 ปี เป็นที่เคารพนับถือของชาวอรัญประเทศ หลายคนเชื่อว่าเป็นผู้ปกปักษ์รักษาเมืองอรัญให้รอดพ้นจากภัยพิบัติร้ายแรง
* '''[[ตลาดชายแดนบ้านคลองลึก]] (ตลาดโรงเกลือ)''' ตลาดชายแดนไทย-กัมพูชา ที่มีสินค้าจำหน่ายมากมาย เช่น เสื้อผ้า เครื่องทองเหลือง กระเบื้องถ้วยชามต่าง ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักสาน เป็นต้น
* '''[[วัดอนุบรรพต]]''' สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นวัดที่มี[[อุโบสถ]]สวยงามและลักษณะแปลกกว่าอุโบสถทั่วไป คือสร้างเป็นฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หลังคาทรงไทยยอดแหลมสูง ตกแต่งสวยงาม
* '''[[ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง]]''' ศาลหลักเมืองที่สร้างขึ้นในปี [[พ.ศ. 2375]] เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนในจังหวัดสระแก้ว
* '''[[ประตูชัยอรัญประเทศ]]''' สร้างเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2482 โดยกรมยุทธโยธาทหารบกได้ระดมกำลังทหารช่างทำการสร้างทั้งกลางวันและและกลางคืนตลอด 24 ชั่วโมง แล้วเสร็จภายใน 29 วัน เสร็จเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2482
* ประตูทางผ่านเข้าออกไทย-กัมพูชา ที่ตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนไทย-กัมพูชา ติดกับเมือง[[ปอยเปต]] ประตูแห่งนี้ถูกปิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ปัจจุบันได้เปิดพรมแดน ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ทำให้ประชาชนชาวไทยและกัมพูชาเดินผ่านเข้าออกหากันได้
* '''[[สถานีรถไฟอรัญประเทศ]]''' สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 เป็นสถานีแห่งประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นเป็นสถานที่ร่วมสมัยในยุครถจักรไอน้ำเฟื่องฟูจนถึงรถจักรหัวลากดีเซลหลักฐานที่ยังคงหลงเหลือคือหอเหล็กเติมน้ำให้หัวรถจักรในบริเวณใกล้เคียงกันไม่ไกลนัก ทางรถไฟไทยสร้างบนเส้นทางสมัยโบราณ ทางสายกรุงเทพ-อรัญประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ 5 รัฐบาลสยามได้ตัดทางรถไฟเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯกับฉะเชิงเทรา (แปดริ้ว) ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้ขยายเส้นทางไปทางตะวันออกจนเชื่อมกับรถไฟของกัมพูชาหรืออินโดจีนฝรั่งเศสในขณะนั้นที่ ต.คลองลึก อ.อรัญประเทศ
 
เส้นทางรถไฟสายตะวันออกยังคงใช้แนวทางคมนาคมเก่าคือแม่น้ำลำคลองที่มีอยู่ก่อนหน้าเป็นสำคัญ
 
ทางรถไฟแยกออกจากทางสายหลักที่สถานีจิตรลดาไปทางทิศตะวันออกโดยล้อกับแนวคลองมหานาคซึ่งอยู่ทางใต้ คลองมหานาคนี้ขุดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 1 แยกจากคูเมืองตรงวัดสระเกศเพื่อใช้เดินทางติดต่อกับชุมชนทางตะวันออกของกรุงเทพ ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ขุดต่อออกไปเชื่อมกับแม่น้ำบางปะกงที่ประตูน้ำท่าไข่ ฉะเชิงเทราเพื่อการส่งกำลังไปทำสงครามด้านตะวันออกคือเขมรและญวนในสมัยนั้น เรียกกันต่อมาว่าคลองแสนแสบ
 
จากคลองตัน ทางรถไฟข้ามคลองแสนแสบซึ่งหันเบนขึ้นไปทางเหนือ จากนี้ทางรถไฟก็จะเปลี่ยนมาใช้แนวคู่ขนานกับคลองประเวศบุรีรมย์ตรงบริเวณบ้านทับช้าง คลองประเวศฯขุดขึ้นในปี พ.ศ. 2423 แยกจากคลองพระโขนงไปทางตะวันออกเป็นเส้นตรงถึงแม่น้ำบางปะกงใต้เมืองฉะเชิงเทราเล็กน้อย ระหว่างที่ทางรถไฟใช้แนวคลองประเวศไปถึงฉะเชิงเทราก็จะข้ามคลองสำคัญหลายแห่งซึ่งไหลจากเหนือลงใต้อันเป็นคลองที่ระบายน้ำจากที่ลุ่มต่ำฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ทะเลมีทั้งคลองธรรมชาติและคลองขุด เช่น คลองหลวงแพ่ง คลองอุดมชลจร คลองเปรง คลองแขวงกลั่น คลองบางพระ เข้าสู่ตัวเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งในสมัยแรกสร้างนั้นรางรถไฟได้ไปสุดทางที่สถานีแปดริ้วริมแม่น้ำบางปะกง
 
ทางแยกไปอรัญประเทศคือรางรถไฟหัวมุมเลี้ยวขึ้นทิศเหนือเพื่อตามแนวแม่น้ำบางปะกงขึ้นไปแต่ใช้การตัดทางตรงผ่านที่ราบจนพบกับแม่น้ำโยทะกาไหลมาจากนครนายกลงแม่น้ำบางปะกง จุดนี้เองเป็นเส้นทางเดินทัพในสมัยโบราณที่ถูกกล่าวถึงเมื่อคราวสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไล่รบกับกองทัพพม่าแถบเมืองบางคางหรือปราจีนบุรี
 
ตั้งแต่ช่วงบ้านสร้าง ทางรถไฟโค้งไปทางตะวันออกล้อกับแม่น้ำบางปะกงที่เรียกตอนนี้ว่าแม่น้ำปราจีนบุรี ซึ่งจะมีแนวเทือกเขาใหญ่ขนานอยู่ทางทิศเหนือ จนเข้าสู่เมืองปราจีนบุรี จากจุดนี้ทางรถไฟใช้การตัดทางใหม่ลัดเข้าสู่ต้นน้ำบางปะกง มีชุมชนโบราณที่เป็นด่านระหว่างทางบนลำน้ำ เช่น ประจันตคามหรือด่านกบแจะ กบินทร์บุรีหรือด่านหนุมานและพระปรง(เป็นจุดที่ทางรถไฟข้ามแควหนุมานและแควพระปรง ต้นน้ำบางปะกง) ต่อจากนั้นจึงใช้เส้นทางบกตัดลัดผ่านชุมชนที่ราบ เช่น สระแก้ว วัฒนานคร จนถึงอรัญประเทศและจุดผ่านแดนบ้านคลองลึกเข้าสู่ปอยเปตของกัมพูชา
 
แท้จริงแล้ว เส้นทางรุถไฟจากปราจีนบุรีจนถึงอรัญประเทศน่าจะซ้อนทับลงบนทางเดินบกโบราณจากภาคกลางของไทยไปสู่ที่ราบลุ่มทะเลสาบของเขมรที่เรียกกันว่า ฉนวนไทย มีแหล่งโบราณคดีใหญ่น้อยกระจายตัวกันตามลำน้ำอันเป็นต้นสายแม่น้ำบางปะกงคือแควหนุมานกับแควพระปรง และยังมีด่านพระจารึก ซึ่งปรากฏชื่อในเอกสารพงศาวดารสมัยอยุธยาว่าเป็นจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์บนเส้นทางสายนี้ด้วย
 
ดังนั้น เส้นทางรถไฟจากชายแดนไทย-กัมพูชาที่มีต่อไปจนถึงศรีโสภณ พระตะบอง จึงน่าจะสร้างลงบนทางเดินโบราณนี้ด้วยเช่นกัน
* '''[[จุดผ่านแดนบ้านหนองเอี่ยน- สตึงบท]]''' ปัจจุบันการค้าบริเวณบ้านคลองลึก (ตลาดโรงเกลือ)เติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบกับมีตลาด อินโดจีน เพิ่มขึ้นมาทำให้เกิดความคับคั่ง
ของการจราจร ทั้งนักท่องเที่ยวและรถขนส่งสินค้า ไทยและกัมพูชาจึงมีแนวคิด แยกคนและสินค้า ออกจากกัน เน้นการขนส่งสินค้าเป็นหลัก ที่ตั้งบ้านหนองเอี่ยน ตำบลท่าข้าม จังหวัดสระแก้ว
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
* นายเชาวน์ ณ ศีลวันต์ นายวัฒนา สุภรณ์ไพบูลย์ และ นางนรินทร์ ช่วงโชติ. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 4,ประวัติการรถไฟในประเทศไทย
* ข่าวสารเพื่อคนก่อสร้างไทย - พระผู้สถาปนาสมาคมนายช่างแห่งกรุงสยาม ...http://www.cons-max.com
* http://sarakadee.com
* งานข้อมูลข่าวสาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว
* [http://www.arantoday.com ข้อมูลเมืองอรัญประเทศ]
* [http://www.sko.moph.go.th/webdata/HomeReport.php?select=06&Submit=%B5%A1%C5%A7 ข้อมูลหมู่บ้าน]
* [http://www.sko.moph.go.th/webdata/PopReportAge.php?AgeSelect1=0&AgeSelect2=110&Yearselect2=pop48&Submit2=%B5%A1%C5%A7 ข้อมูลประชากร]
* [http://www.dopa.go.th/xstat/p4827_02.html ตำบลในอำเภออรัญประเทศ] กรมการปกครอง
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==