ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิจิเร็นชู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''นิชิเรนชู''' (日蓮宗: "Nichiren School") เป็นนิกายหนึ่งของ[[ศาสนาพุทธ]]มหายาน [[นิกายนิชิเรน]] ที่ถูกตั้งขึ้นโดยศิษย์ของ[[พระนิชิเรน]] นิกายนี้เป็นที่รู้จักในทางนานาชาติน้อยกว่า [[นิชิเรนโชชู]] ในทางนานาชาติ ''นิชิเรนชู'' จะหมายถึง นิกายสายคุอนจิ
 
นิกายนิชิเรนชู ไม่ยอมรับที่ [[นิชิเรนโชชู]] อ้างว่า[[พระนิชิเรน]]ได้แต่งตั้ง [[พระนิกโค]] ให้เป็นผู้สืบทอดของท่านอย่างถูกต้อง แม้ว่าพระนิกโคเองเดิมทีจะเป็นสหายของพระสงฆ์อาวุโสที่เป็นผู้ก่อตั้งนิกายนิชิเรนชูก็ตามที นิกายนี้เชื่อว่า พระพุทธะที่ปรากฏในคัมภีร์[[สัทธรรมปุณฑริกสูตร]]คือ [[พระศากยมนีพุทธเจ้าโคตมพุทธเจ้า|พระศากยมุนีพุทธเจ้า]] ไม่ใช่ [[พระนิชิเรน]] อย่างที่นิชิเรนโชชูกล่าวอ้าง โดยเชื่อว่า พระนิชิเรนนั้นเป็นเพียง ''พระโพธิสัตว์โจเกียว'' หรือ ''พระวิศิษฐ์จาริตรโพธิสัตว์'' มาปรากฏตัวตามคำพยากรณ์ในสัทธรรมปุณฑริกสูตรบทที่ 21 ที่มาทำหน้าที่เผยแผ่คำสอนหลังการปรินิพพานของพระศากยมุนีพุทธเจ้าเท่านั้น
 
== เกี่ยวกับนิกาย ==
นิชิเรนชูเคารพ [[พระนิชิเรน]] ในฐานะที่เป็น พระโพธิสัตว์ ไม่ใช่ในฐานะ พระพุทธเจ้าเหมือน นิชิเรนโชชูเชื่อ โดยเชื่อว่า พระนิชิเรนนั้นเป็นเพียง ''พระโพธิสัตว์โจเกียว'' หรือ ''พระวิศิษฐ์จาริตรโพธิสัตว์'' มาปรากฏตัวตามคำพยากรณ์ในสัทธรรมปุณฑริกสูตรบทที่ 21 ที่มาทำหน้าที่เผยแผ่คำสอนหลังการปรินิพพานของพระศากยมุนีพุทธเจ้าเท่านั้น โดยนิกายนี้จะเคารพว่า พระนิชิเรน เป็นทูตของพระพุทธเจ้า แต่ยังคงเชื่อว่า พระพุทธะแท้จริงนั้นคือ [[พระโคตมพุทธเจ้า|พระศากยมุนีพุทธเจ้า]] อยู่และไม่ได้กล่าวว่า พระนิชิเรนนั้นสำคัญกว่า พระศากยมุนี จึงกล่าวขนานนามท่านเป็น '''''นิชิเรนโชนิน''''' เท่านั้น
 
ความแตกต่างอีกข้อคือ นิกายนี้จะนับถือและปฏิบัติตาม บทธรรมนิพนธ์ของพระนิชิเรน ซึ่งเป็นจดหมายที่ท่านเขียนถึงลูกศิษย์ต่างๆ เพียงบางฉบับเท่านั้น โดยกล่าวว่าจะเลือกเฉพาะบทธรรมนิพนธ์ที่เห็นว่าแท้จริง และเห็นจริงเท่านั้นซึ่งแตกต่างจากนิชิเรนโชชู ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่งก็คือ ในเรื่องการปฏิบัติเช่น การสวดบทธรรสารถัต "นัมเมียวโฮเร็งเงเคียว" และสิ่งสักการระบูชาอย่างโงะฮนซน ซึ่งนิชิเรนชูมองว่านี่เป็นยอดแห่งการปฏิบัติ แต่ไม่ได้ปฏิเสธการปฏิบัติแบบนิกายอื่นเช่น [[การนั่งสมาธิ]] [[วิปัสสนา]] หรือการศึกษาแบบ[[หินยาน]]เช่น [[อริยสัจ 4]] เป็นต้น