ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
}}
 
'''พลตรี เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่)''' เจ้าราชบุตรองค์สุดท้ายแห่ง[[นครเชียงใหม่ที่ประสูติแต่แม่เจ้าจามรี]] อดีตผู้บังคับการพิเศษกรมผสมที่ 7 ราชองครักษ์พิเศษ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และเป็นราชโอรสใน [[เจ้าแก้วนวรัฐ|พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ]] เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 กับแม่[[แม่เจ้าเจ้าจามรีมหาเทวีวงศ์]] (ธิดาในเจ้าราชภาคินัย (น้อยแผ่นฟ้า ณ เชียงใหม่), เจ้าราชภาคินัยนครเชียงใหม่)
 
== ประวัติ ==
'''รองอำมาตย์เอก พลตรี เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่), เจ้าราชบุตรนครเชียงใหม่''' มีฐานะเป็นเจ้ารัชทายาทแห่งนครเชียงใหม่ ซึงมีสถานะเป็นผู้ที่จะขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 10 หากไม่[[การเปลี่ยนแปลงการปกครองปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|เปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475]]
 
ประสูติเจ้าวงศ์ตวันเกิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ อัฐศก จุลศักราช 1248 ตรงกับวันที่ [[7 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2429]] ประสูติแต่เป็นเจ้าราชโอรสใน[[เจ้าแก้วนวรัฐ]] กับแม่[[แม่เจ้าเจ้าจามรีมหาเทวีวงศ์]] เป็นน้องชายของ[[เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่)]] และ[[เจ้าบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่]]
 
เมื่อเยาว์วัย เจ้าราชบุตรวงศ์ตวันฯ มีชื่อเรียกว่า "เจ้าหมู" เมื่อปี พ.ศ. 2440 ได้เข้าศึกษาที่[[โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย]] จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 จึงเดินทางไปศึกษาที่[[โรงเรียนราชวิทยาลัย]] [[กรุงเทพมหานคร]] และในปี พ.ศ. 2445 ได้กลับมาบรรพชาสามเณร ที่วัดหอธรรม จังหวัดเชียงใหม่ (ปัจจุบันคือ [[วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร]])
 
เจ้าวงศ์ตวัน เคยติดตามเจ้าแก้วนวรัฐ เพื่อกระทำพิธีทูลเกล้าฯ ถวายต้นไม้เงินและต้นไม้ทอง ตามประเพณีอันเป็นราชบรรณาการแด่[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ในขณะนั้น[[พระราชชายา เจ้าดารารัศมี พระราชชายา]] ซึ่งเป็นพระเจ้าเจ้าอา ได้นำเจ้าราชบุตรเฝ้าถวายตัวตามในคราวเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน จนกระทั่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามว่า "วงศ์ตวัน" ต่อมาได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กของ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ขณะดำรงอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เมื่อคราวเสด็จประพาสมณฑลพายัพ พ.ศ. 2448 ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าราชบุตร เป็นหุ้มแพรมหาดเล็ก และพระราชทานเสมาทองคำลงยา มีพระปรมาภิไธยย่อ ว.ป.ร. พร้อมด้วยเข็มข้าหลวงเดิม
 
เจ้าราชบุตร มีความสามารถเล่นเครื่องดนตรีหลายชนิด แต่ที่มีความถนัดเป็นพิเศษคือ [[ขิม]] และชอบกีฬากลางแจ้งหลายชนิด เช่น [[เทนนิส]] [[ฟุตบอล]] และมวย<ref name=book/>
บรรทัด 39:
เมื่อเจ้าราชบุตร กลับภูมิลำเนาที่เชียงใหม่ ได้เข้ารับราชการฝ่ายมหาดไทย ในตำแหน่งเสมียนกองมหาดไทยมณฑลพายัพ เมื่อปี พ.ศ. 2452 ได้รับพระราชทานเงินเดือน 25 บาท ในปีต่อมาได้เลือนตำแหน่งเป็นเลขานุการเค้าสนามหลวง ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 ได้รับเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นรองเสนามหาดไทย และได้รับพระราชทานราชทินนาม "เจ้าราชสัมพันธวงศ์"
 
เจ้าราชบุตร ได้รับพระราชทานยศเป็น "นายหมวดเอกเสือป่า" ในปี พ.ศ. 2468 และได้รับพระราชทานราชทินนาม "เจ้าราชุบตร" ในปีเดียวกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2473 ได้เลื่อนตำแหน่งทางราชการเป็นเสนามหาดไทยเชียงใหม่ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อมาวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2475 เจ้าราชบุตร ได้รับพระราชทานแต่งตั้งยศเป็นนายพันตรีพิเศษในกรมทหารราบ<ref>ราชกิจจานุเบกษา, เมื่อเดือนสิงหาคม พ[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/D/1781.PDF พระราชทานยศ], เล่ม 49, ตอน ง, 28 สิงหาคม 2475, หน้า 1781</ref> จนกระทั่งได้รับพระราชทานยศชั้นสูงสุดเป็นพลตรี และเป็นราชองครักษ์พิเศษ
 
เจ้าราชบุตร ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2489<ref>[http://www.senate.go.th/inforcenter/documents/list_senate2.pdf สมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 2]</ref>