ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 113.53.231.203 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Jeabbabe
ปรับปรุงเนื้อหาครั้งใหญ่
บรรทัด 6:
| coordinates =
| map_size =
| date = [[17 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2558]]<ref name = "17Manager"></ref>
| time = 18:55 น. [[UTC+07:00|UTC+7]]<ref name = "17Manager">{{cite web|title=ญาติติดต่อรับศพต่างชาติเหยื่อบึ้มครบ 11 ราย รอพิสูจน์ดีเอ็นเอ 2 ศพ|url=http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9580000093206|accessdate=20 สิงหาคม 2015|language=Thai|first = ผู้จัดการ|date=17 สิงหาคม 2015}}</ref>
| location = [[กรุงเทพมหานคร]] [[ประเทศไทย]]
บรรทัด 21:
| website =
}}
'''เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558''' เป็น[[ระเบิด|เหตุระเบิด]]ที่เกิดเมื่อวันที่ [[17 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2558]] เวลา 18.55 น. ตามเวลาใน[[ประเทศไทย]] ที่[[ศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ|ศาลท้าวมหาพรหม]] [[โรงแรมเอราวัณ|โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ]] บริเวณ[[สี่แยกราชประสงค์]] ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต และในวันต่อมาได้เกิดเหตุคนร้ายปาระเบิดลงมาจาก[[สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน|สะพานตากสิน]] บริเวณท่าเรือสาทร ทำให้เรือที่จอดอยู่บริเวณใกล้เคียงถูกสะเก็ดระเบิดเล็กน้อย แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ<ref name="satorn">[http://www.thairath.co.th/content/519104 บึมป่วน! ท่าเรือสาทร ไร้เจ็บ น.1รุดสอบ (ชมคลิป)]</ref>
 
== เบื้องหลัง ==
ก่อนหน้านี้ ในเดือน[[กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2558]] เกิดระเบิดสองครั้งบริเวณทางเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยามเหนือแยกราชประสงค์ โดยคนร้ายนำระเบิดไปวางไว้บริเวณประตูของจุดบริการด่วนมหานครสำนักงานเขตปทุมวันซึ่งให้บริการดานทะเบียนราษฏร์ มีผู้บาดเจ็บสามคน โดยเชื่อว่าสาเหตุมาจากการเมือง<ref>{{cite news|title=Thailand steps up security in Bangkok after bomb blasts at luxury mall|url=http://www.euronews.com/2015/02/02/thailand-steps-up-security-in-bangkok-after-bomb-blasts-at-luxury-mall/|date=2 February 2015|accessdate=17 August 2015|department=World News|publisher=[[euronews]]}}</ref> และในเดือน[[เมษายน]] [[พ.ศ. 2558]] เกิดเหตุการณ์คาร์บอมในเกาะสมุย มีผู้บาดเจ็บ 10<ref>http://www.nationtv.tv/main/content/crime/378451764/</ref> คน
{{โครงส่วน}}
 
== การระเบิด ==
=== ครั้งแรก ===
วันที่ [[17 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2558]] เวลา 18.55 น. เกิดระเบิดบริเวณ[[สี่แยกราชประสงค์]] กลาง[[กรุงเทพมหานคร]] ใกล้กับ[[ศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ|ศาลท้าวมหาพรหม]]<ref name ="Bombing"></ref> [[สำนักงานตำรวจแห่งชาติ]]รายงานว่าเป็นระเบิดทีเอ็นทีหนัก 3 กิโลกรัมบรรจุอยู่ในท่อในบริเวณศาลท้าวมหาพรหม หน่วยเก็บกู้ระเบิดไม่ทราบน้ำหนัก แต่เจ้าหน้าที่หน่วยอีโอดีวิเคราะห์ว่ามีรัศมีทำลายล้างประมาณ 100 เมตร<ref>[http://www.komchadluek.net/detail/20150817/211798.html เกิดระเบิดแยกราชประสงค์ ตายอย่างน้อย 16 ราย เจ็บกว่า 70 คน ทั้งไทย-คนต่างชาติ ส่งตัว 11 รพ. ด้านผบ.ตร.ชี้เป็นระเบิดแสวงเครื่องซุกใกล้ศาลพระพรหม]</ref>
 
=== การระเบิดครั้งที่สอง ===
วันที่ [[18 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2558]] เวลา 13.30 น.<ref>[http://www.komchadluek.net/detail/20150818/211846.html วินาที!ปาระเบิด‘ท่าเรือสาทร’]</ref> เกิดระเบิดใกล้ท่าเรือสาทร ฝั่งพระนคร ระเบิดภายในแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงใต้[[สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน]] โดยคาดว่าต้องการโยนลงท่าเรือสาทรแต่พลาดตกลงแม่น้ำ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ<ref>[http://news.mthai.com/hot-news/general-news/457507.html ด่วน! เกิดเหตุปาระเบิด ใส่ท่าเรือสาทร โชคดีไร้เจ็บ]</ref>
 
== การบาดเจ็บและเสียชีวิต ==
เส้น 99 ⟶ 100:
หลังเกิดเหตุการณ์ [[รถไฟฟ้าบีทีเอส|บีทีเอส]]แจ้งปิดทางเดินเชื่อมสกายวอล์คระหว่างสถานีสยามถึงแยกราชประสงค์ชั่วคราว<ref>[http://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=75123&t=news ปิดskywalkสถานีสยาม-แยกราชประสงค์]</ref>และมีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย<ref>http://www.springnews.co.th/social/231705</ref>
 
ปลัดกรุงเทพมหานครสั่งปิดการเรียนการสอนในวันที่ [[18 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2558]] มีผลต่อโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร 438 แห่ง<ref>{{Cite web|title = สั่งปิดโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร 18 ส.ค. เพื่อความปลอดภัย|url=http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000093252|accessdate = 2015-08-17|first = ผู้จัดการออนไลน์|last = }}</ref> เช่นเดียวกับโรงเรียนหลายแห่งที่อยู่ใกล้เคียงที่เกิดเหตุ
 
มีการปิดการจราจรตั้งแต่แยกประตูน้ำถึงแยกสารสินและแยกชิดลมถึงแยกเฉลิมเผ่าหลังเกิดเหตุการณ์จนถึงเวลา 12.00 น. ของวันที่ [[18 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2558]] เพื่อให้เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานลงพื้นที่ดำเนินการเก็บวัตถุพยานอย่างละเอียด ทำให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ประกาศปรับเปลี่ยนเส้นทางการเดินรถประจำทางมากกว่า 10 เส้นทาง โดยเฉพาะสายที่ผ่านแยกราชประสงค์ ส่วนรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์เปิดให้บริการตามปกติ โดยจัดเจ้าหน้าที่เพิ่มเพื่อเข้มงวดด้านความปลอดภัยมากขึ้น<ref>{{Cite web|title = ปิดจราจรเคลียร์พื้นที่ราชประสงค์ถึงเที่ยง ขสมก.ปรับเดินรถ BTS-MRT วิ่งปกติ|url=http://www.thairath.co.th/content/518978 |accessdate = 18 สิงหาคม 2558|first = ไทยรัฐออนไลน์|last = }}</ref>
 
อธิบดีกรมการบินพลเรือน เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ปรับระดับมาตรการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานในสังกัดกรมการบินพลเรือน จำนวน 28 แห่ง เป็นระดับ 3 ซึ่งเป็นระดับความเข้มงวดสูงสุด<ref>http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=639787</ref> ด้านท่าเรือแหลมฉบังได้ประกาศให้มีการยกระดับรักษาความปลอดภัยเป็นระดับ 2<ref>[http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9580000094485 สายการเดินเรือต่างชาติ-ผู้ประกอบการเอกชน ยังมั่นใจมาตรการรักษาความปลอดภัยของไทย]</ref> รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์และรถไฟฟ้ามหานครต่างเพิ่มมาตรการเฝ้าระวังเช่นเดียวกัน<ref>[http://www.ryt9.com/s/ryt9/2230747 MRT-BTS-ARLเพิ่มมาตรการเข้ม ขอค้นสัมภาระยันเปิดวิ่งปกติ]</ref>รวมถึงการขอความร่วมมือจากผู้โดยสารไม่ให้ใส่แว่นตาดำและห้ามสวมหมวกเข้าสถานีรถไฟฟ้า และตรวจสัมภาระทุกชิ้น
เส้น 112 ⟶ 113:
ต่อมา คนขับแท็กซี่ผู้หนึ่งยืนยันว่าเขารับผู้ต้องสงสัยขึ้นรถ<ref>[http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1439949652 จยย.แฉคนร้ายพูดอังกฤษ บึ้มซํ้าสาทร ท่าเรือ-ทัวร์จีน ชี้เหมือนกันกับ ศาลพระพรหม ล่าตัว"แขกขาว"]</ref> "อย่างไรก็ดีผู้ต้องสงสัยมีท่าที่จะไม่มีอาการแสดงท่าทีรีบเร่ง แต่ดูจะสงบเงียบ เหมือนลูกค้าทั่วไป และผู้ต้องสงสัยก็ไม่ใช่คนไทย โดยผู้ต้องสงสัยพูดภาษาที่ไม่ชัดเจนที่ระบุไม่ได้ว่าเป็นภาษาอะไรตลอดเวลาบนรถแท็กซี่"<ref>{{Cite news|title = Bangkok authorities clear pair seen before shrine bombing, say key suspect spoke foreign language|newspaper= [[Japan Times]] | url = http://www.japantimes.co.jp/news/2015/08/21/world/crime-legal-world/bangkok-authorities-clear-pair-seen-shrine-bombing-say-key-suspect-spoke-foreign-language/|accessdate=20 August 2015}}</ref><Ref>[http://news.mthai.com/hot-news/general-news/458148.html ประวุฒิส่งภาพสเกตช์ มือวางระเบิด ให้ตำรวจสากลแล้ว]</ref>
 
รุ่งเช้าของวันที่ [[18 สิงหาคม]] ตำรวจสัมภาษณ์วินมอเตอร์ไซค์และคนขับแท็กซี่ที่ผ่านละแวกนั้น ตำรวจได้ส่งรูปผู้ต้องสงสัยจากกล้องวงจรปิด "เมื่อตำรวจส่งรูปมาให้ผม ผมเชื่อว่าเป็นคนที่รับส่งซึ่งเป็นคนเดียวกับผู้ต้องสงสัยที่ตำรวจกำลังตามหา" นิคม ปันตุลา วินรถจักรยานยนต์รับจ้างสาทร กล่าว พยานสำคัญกล่าวว่า "เขาวิ่งมาอย่างเร่งรีบ โดยพูดว่า "เร็ว ๆ" ผมกำลังขับ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเขายังเร่งให้ขับเร็วขึ้นอีก ระหว่างทาง เขาก้มดูโทรศัพท์ตลอดเวลา และคุยโทรศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ แม้ว่าผมไม่เข้าใจที่เขาพูด ชายคนนี้ขอตลอดให้พาไปโรงแรมใกล้กับโรงพยาบาลอโศกใจกลางกรุงเทพมหานคร"<ref>{{Cite news|title = This is my piece from Bangkok in this morning's Times, Richard Lloyd Parry|newspaper= [[The Times of London]] | url = https://m.facebook.com/richardlp/posts/10153567291945645|accessdate=23 August 2015}}</ref>
 
ตำรวจจับผู้ต้องสงสัยได้เมื่อวันที่ [[29 สิงหาคม]] ที่พูลอนันต์อพาร์ทเมนท์ [[เขตหนองจอก]] ทราบชื่อคือ อาเดม คาราดัก หรือบิลาเติร์ก มูฮัมหมัด<ref>[http://www.komchadluek.net/detail/20150829/212461.html รวบ!ชายต่างชาติต้องสงสัยบึ้มราชประสงค์] จาก[[คมชัดลึก (หนังสือพิมพ์)|คมชัดลึก]]</ref> แต่ให้การปฏิเสธมาโดยตลอด ต่อมาวันที่ [[7 กันยายน]] ทหารได้จับกุมผู้ต้องหาอีกคน ทราบชื่อคือไมไรลี ยูซุฟู เบื้องต้นให้การรับสารภาพ ล่าสุดอาเดมให้การรับสารภาพแต่ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำสารภาพดังกล่าว<ref>http://www.thairath.co.th/content/527800</ref> จนเมื่อได้หลักฐานชี้ชัดจากกล้องวงจรปิดจึงสามารถยืนยันได้<ref>[http://www.komchadluek.net/detail/20150925/214049.html ‘สมยศ’เชื่อ‘อาเดม’คือชายเสื้อเหลือง] จาก[[คมชัดลึก (หนังสือพิมพ์)|คมชัดลึก]]</ref><ref>[http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1443175082 ด่วน! ศรีวราห์ ยืนยัน! "อาเดม คาราดัก" คือชายเสื้อเหลือง บึ้มราชประสงค์ หลักฐานชัด!] จาก[[มติชน (หนังสือพิมพ์)|มติชน]]</ref><ref>[http://www.nationtv.tv/main/content/crime/378472626/ "ประวุฒิ" ยืนยัน "อาเดม" คือชายเสื้อเหลือง] จาก[[เนชั่นทีวี]]</ref> จากนั้นในวันที่ [[26 กันยายน]] ตำรวจพาทั้งคู่ไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ<ref>[http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9580000108644 คุมตัว “อาเดม-ยูซูฟู” ทำแผนบึ้มแยกราชประสงค์] จาก [[เอเอสทีวีผู้จัดการ]]</ref> นำไปสู่การแถลงปิดคดีเมื่อวันที่ [[28 กันยายน]]<ref>[http://www.banmuang.co.th/news/crime/27535 ผบ.ตร.แจงละเอียด ปิดคดีระเบิด ‘ราชประสงค์-สาทร’]</ref>
 
ในวันรุ่งขึ้น ตำรวจได้ขอศาลอนุมัติหมายจับอ๊อด พยุงวงศ์ หรือยงยุทธ พบแก้ว ที่มีเบาะแสว่าจะมีความเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดครั้งนี้ และทราบว่าเขาเคยเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดที่สมานเมตตาแมนชั่น [[อำเภอบางบัวทอง]] [[จังหวัดนนทบุรี]] ในปี [[พ.ศ. 2553]] และเหตุระเบิดที่ซอยราษฎร์อุทิศ [[เขตมีนบุรี]] [[กรุงเทพมหานคร]] เมื่อวันที่ [[29 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2557]] ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์อยู่ในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมือง ([[วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553|พ.ศ. 2548 - 2553]] และ [[วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557|พ.ศ. 2556 - 2557]]) ตำรวจจึงยังไม่ตัดประเด็นทางการเมืองทิ้ง<ref>[http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9580000109690 ผบ.ตร.ย้ำ “ไอ้อ๊อด” กุญแจสำคัญ บึ้มกรุงยังตัดประเด็นการเมืองไม่ได้] จาก [[เอเอสทีวีผู้จัดการ]]</ref> ผู้ก่อเหตุที่ถูกออกหมายจับทั้งหมดมีความเชื่อมโยงกันทั้ง 2 คดี โดยมีผู้ต้องหา 17 คน มีคนไทยร่วมขบวนการ 2 คน คือ วรรณา สวนสันต์ กับยงยุทธ พบแก้ว (อ๊อด พยุงวงศ์) และจนถึงตอนนี้สามารถจับกุมผู้ต้องหาได้เพียง 2 ราย คือบีลาเติร์ก มูฮัมหมัด และไมไรลี ยูซูฟู ศาลทหารพิจารณาคดีนี้<ref>http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000102035</ref>
 
== ปฏิกิริยา ==
เส้น 122 ⟶ 123:
พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปอย่างชัดเจนถึงสาเหตุของการระเบิดว่าเป็นการกระทำของกลุ่มบุคคลใด แต่มีแนวโน้มว่าอาจจะเป็นกลุ่มเดิม ๆ ที่เสียประโยชน์ทางการเมืองและต้องการสร้างสถานการณ์วุ่นวายในประเทศ ไม่ต้องการเห็นคนไทยมีความสุขสงบ เป็นความอาฆาตมาดร้ายของคนที่เคยกล่าวว่าเมื่อตนไม่สุขก็อย่าหวังที่คนอื่นจะสุขได้<ref>{{cite news|title= รัฐเผยแนวโน้มผู้ก่อเหตุเป็นกลุ่มผู้เสียประโยชน์การเมือง|url=http://www.posttoday.com/politic/382514|date=17 สิงหาคม 2558|accessdate=24 สิงหาคม 2558|publisher=[[โพสต์ทูเดย์]]}}</ref>
 
วันที่ [[18 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2558]] กรุงเทพมหานครทำความสะอาดที่เกิดเหตุ ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะส่งผลกระทบต่อการค้นหาข้อเท็จจริง ฝ่าย[[หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร]] ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตอบว่า "รัฐบาลไม่ได้ห้าม ผู้ที่รับผิดชอบเรื่องหลักฐานต่าง ๆ ไม่ได้ห้าม เราก็ต้องทำความสะอาดครับ นี่คือหน้าที่ของ กทม. ครับ ให้ความเป็นธรรมแก่พวกเราหน่อยนะครับ เราก็โดนมามากแล้วเหมือนกันนะครับ"<ref>{{cite news|title=ล้างราชประสงค์เร็ว ‘สุขุมพันธุ์’ โอด “ไม่ทำก็ว่า ทำก็สงสัย” นักวิชาการอัดยิ่งสร้างความแคลงใจ|url=http://www.prachatai.com/journal/2015/08/60958|date=21 สิงหาคม 2558|accessdate=24 สิงหาคม 2558|publisher=[[ประชาไท]]}}</ref>
 
กรมคุ้มครองสิทธิฯ จ่ายเยียวยาเหยื่อระเบิดราชประสงค์ศพละ 2 แสนบาท ในขณะที่ต่างชาติจ่ายศพละ 5 แสนบาท<ref>[http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp?top_serl=99315265&key_word=&owner_dep=&meet_date_dd=01&meet_date_mm=01&meet_date_yyyy=2558&doc_id1=&doc_id2=&meet_date_dd2=01&meet_date_mm2=09&meet_date_yyyy2=2558 มติคณะรัฐมนตรี]</ref> ด้านเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงประณามคนร้าย<ref>http://www.komchadluek.net/detail/20150818/211824.html</ref>
 
มีการเรียกประชุมหน่วยงานความมั่นคงทั่วประเทศ โดยแยกส่วนประชุมแต่ละจังหวัดอาทิ จังหวัดน่าน จังหวัดเชียงใหม่<ref>http://region3.prd.go.th/ct/news/viewnews.php?ID=150818114036</ref> สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีคำสั่งที่ 451/2558 จัดตั้ง ”ศูนย์อำนวยการบริหารข้อมูลการส่งกลับและการรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิดบริเวณสี่แยกราชประสงค์”<ref>http://rps.pgh.go.th/ratchaprasong_tragedy/content/main.php?menu=main</ref> พลเอก[[ประวิตร วงษ์สุวรรณ]] สั่งให้จัดตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์ [[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] ด้านผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พลตำรวจเอก[[สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง]] มีคำสั่งให้ พลตำรวจเอก [[จักรทิพย์ ชัยจินดา]] รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีระเบิดแยกราชประสงค์และท่าเรือสาทรและให้ พลตำรวจโท [[ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล]] ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าชุดคลี่คลายคดีระเบิด ต่อมาเมื่อพลตำรวจเอก [[จักรทิพย์ ชัยจินดา]] ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติจึงได้แต่งตั้งพลตำรวจโท [[ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล]]<ref>http://www.springnews.co.th/crime/244917</ref> ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีระเบิดแยกราชประสงค์และท่าเรือสาทร แทนตนเอง และให้พันตำรวจเอก สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ[[สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน]] ดำเนินการสอบสวนเส้นทางการเงินของกลุ่มผู้ต้องสงสัย คดีนี้แม้พลตำรวจเอก[[สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง]] จะมีการแถลงปิดคดีในไปแล้วเมื่อวันที่ [[28 กันยายน]] [[พ.ศ. 2558]] แต่จะมีการสรุปสำนวนคดีในช่วงสิ้นเดือน[[ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2558]]<ref>http://www.tnamcot.com/content/302106</ref>
{{โครงส่วน}}