ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรากฏการณ์ไมสเนอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Adlwkkpup (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Adlwkkpup (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
 
'''ปรากฏการณ์ไมสเนอร์''' ({{lang-en|Meissner effect}}) ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจปรากฏการณ์หนึ่งของ[[ตัวนำยวดยิ่ง]]คือปรากฏการณ์ทางแม่เหล็ก ที่เรียกว่า ปรากฏการณ์ไมสเนอร์<ref>{{cite book |author=Buckel W. |year=1991 |title= Superconductivity Fundamentals and Applications. ||publisher=New York: VHC Pulisher }}</ref> ถ้าสารมีอุณหภูมิสูงกว่า[[อุณหภูมิวิกฤต]]เมื่อใส่[[สนามแม่เหล็ก]]เข้าไป เส้นแรงแม่เหล็กจะสามารถทะลุผ่านสารนี้ได้ แต่ถ้าลดอุณหภูมิของสารลงจนกระทั่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤต สารจะเปลี่ยนสภาพเป็นตัวนำยวดยิ่ง จากนั้นใส่สนามแม่เหล็กภายนอกเข้าไปอีกครั้งพบว่าเส้นแรงแม่เหล็กนี้ไม่สามารถทะลุผ่านเข้าไปในเนื้อของตัวนำยวดยิ่งได้ เนื่องจากสนามแม่เหล็กภายนอกทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่ผิวของตัวนำยวดยิ่งและกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นทำให้เกิดสนาม แม่เหล็กต่อต้านสนามแม่เหล็กภายนอกที่ใส่เข้าไป เป็นผลให้สนามแม่เหล็กภายในตัวนำยวดยิ่งมีค่าเป็นศูนย์ และทำให้ตัวนำยวดยิ่งมีสมบัติของสาร[[แม่เหล็กไดอาแบบสมบูรณ์]] (Perfect diamagnetic)
{{Refimprove|date=January 2012}}
 
[[Image:EfektMeisnera.svg|thumb|right|ภาพแสดงผลของตัวนำยวดยิ่งที่อยู่ภายใต้สนามแม่เหล็ก ในขณะที่มีอุณหภูมสูงกว่าและต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤต]]
:
จากปรากฏการณ์นี้ถ้าทำการทดลองในแนวดิ่ง โดยวางตัวนำยวดยิ่งเหนือแม่เหล็ก หรือวางแม่เหล็กเหนือตัวนำยวดยิ่งก็ได้ เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤต เส้นแรงแม่เหล็กถูกผลักออกมาจากตัวนำยิ่งยวด ทำให้ความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กที่รอบตัวนำยวดยิ่งไม่สม่ำเสมอ จึงเกิดแรงผลักขึ้นระหว่างตัวนำยวดยิ่งกับแม่เหล็ก และถ้าวัสดุตัวบนมีน้ำหนักไม่มากนักก็จะ สามารถถูกยกลอยขึ้นได้ เรียกว่า เกิดการยกตัวด้วยแม่เหล็ก (Magnetic levitation)