ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แฟลเจลลัม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kelos omos1 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Drgarden (คุย | ส่วนร่วม)
จัดรูปแบบ +เก็บกวาดด้วยสคริปต์จัดให้
บรรทัด 1:
'''แฟลเจลลัม''' (flagellum หรือ flagella ถ้าเป็น[[พหูพจน์]]) คือส่วนที่ยืดยาวออกมาจาก[[เซลล์]] มีลักษณะการเคลื่อนที่คล้ายแส้ ประกอบไปด้วย[[ไมโครทูบูล]]หรือหลอดโปรตีนขนาดเล็กที่คอยค้ำจุนแฟลเจลลัมไว้ โดยแฟลเจลลัมของเซลล์จำพวก[[ยูคาริโอต]]นั้น จะโบกพัดไปมาคล้ายตัว S และถูกล้อมรอบไปด้วยเยื่อหุ้มเซลล์
 
== แฟลเจลลัมในเซลล์จำพวกยูคาริโอต ==
แฟลเจลลัมในเซลล์จำพวกยูคาริโอต (eukaryotic cell) ซึ่งเป็นเซลล์แบบง่ายที่ไม่มี[[นิวเคลียส]]เด่นชัด นั้นต่างจากแฟลเจลลัมของเซลล์จำพวก[[โพรคาริโอต]] (prokaryote cell) ซึ่งเป็นเซลล์ในสิ่งมีชีวิตชั้นตำที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสโดยสิ้นเชิง ทั้งในด้านโครงสร้างและวิวัฒนาการ คุณลักษณะเดียวที่แฟลเจลลาของ[[แบคทีเรีย]], [[อาเคีย]] (archaea) หรือยูคาริโอตมีเหมือนกันคือรูปลักษณ์ภายนอกของแฟลเจลลัมเท่านั้น
 
แฟลเจลลัมในเซลล์ยูคาริโอตมีโครงสร้างไมโครทูบูลเรียงตัวกันเป็นวง 9 คู่ ล้อมรอบไมโครทูบูลที่ไม่มีคู่สองหลอดอยู่ตรงกลาง โครงสร้าง "9+2" นี้ก่อให้เกิดโครงสร้างที่ซับซ้อนตรงแกนของส่วนที่ยื่นออกมา เรียกว่า[[เเอ็กโซนีม]] (axoneme) โดยระหว่างไมโครทูบูลที่เรียงเป็นวงจะมี[[โปรตีน]][[ไดนีน]]ต่อออกมา ทำหน้าที่เป็นเสมือนแขนที่ต่อกับไมโครทูบูล และทำให้แฟลเจลลัมสามารถพัดโบกได้ นอกจากนี้ตรงโคนของแฟลเจลลัมยังยึดติดกับโครงสร้างภายในเซลล์เรียกว่า[[เบซัลบอดี]] หรือไคนีโทโซม (basal body หรือ kitenosome) ซึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนกลางในการควบคุมไมโครทูบูลที่ค้ำจุนแฟลเจลลัมอยู่ มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยไมโครทูบูลจัดเป็นกลุ่ม กลุ่มละสาม โดยที่ไม่มีไมโครทูบูลตรงกลาง จึงเรียกโครงสร้างนี้ว่าโครงสร้าง "9+0" ซึ่งโครงสร้างแบบนี้เป็นโครงสร้างเดียวกับ[[เซนทริโอล]] (centriole) ในเซลล์สัตว์
 
[[หมวดหมู่:เซลล์|ฟแลกเจลลัม]]
{{โครงชีววิทยา}}
[[หมวดหมู่:ออร์แกเนลล์|ฟแลกเจลลัม]]
 
{{โครงชีววิทยา}}
[[Category:เซลล์]]
 
[[da:Flagellum]]