ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าปดุง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่เป็นกลางและขาดการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด
บรรทัด 24:
'''พระเจ้าปดุง''' ({{lang-en|Bodawpaya}}) เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 5 แห่ง[[ราชวงศ์อลองพญา]] (หรือเป็นองค์ที่ 6 หากนับรวม[[พระเจ้าหม่องหม่อง]]ด้วย) ราชวงศ์สุดท้ายของพม่า เป็นพระโอรสลำดับที่ 5 ใน 6 พระองค์ของ[[พระเจ้าอลองพญา]] ขึ้นครองราชย์โดยการปราบดาภิเษกในปี [[พ.ศ. 2325]] ปีเดียวกับการสถาปนา[[กรุงรัตนโกสินทร์]] พระเจ้าปดุง เมื่อทรงครองราชย์มีพระนามว่า "ปโดงเมง" หมายถึง "พระราชาจากเมืองปโดง" แต่มีพระนามที่เป็นที่เรียกขานในพม่าภายหลังว่า "โบดอพญา" ({{lang-my|ဘိုးတော်ဘုရား}}) แปลว่า "เสด็จปู่ "
 
พระเจ้าปดุง เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ได้ทำสงครามชนะ[[รัฐยะไข่|ยะไข่]] หรือ อะรากัน ซึ่งเป็นดินแดนทางตะวันตกของพม่า ที่[[ประเทศพม่า|พม่า]]ไม่เคยเอาชนะมาก่อนเลย หลังสงครามครั้งนี้ พระองค์ยังได้อัญเชิญ[[พระมหามัยมุนี]] อันเป็นพระพุทธรูปประจำชาติพม่า จาก[[ยะไข่]]มาประทับที่[[มัณฑะเลย์]] พระเจ้าปดุง สั่งเกณฑ์ทัพจำนวนกว่า 1 แสน 2 หมื่นคน แยกเป็น 5 สาย 9 ทัพ มากที่สุดเท่าที่เคยมีปรากฏในประวัติศาสตร์ หรือที่เรียกว่า "[[สงครามเก้าทัพ]]" มา[[กรุงเทพมหานคร]] ในปี พ.ศ. 2328 โดยพระองค์ทรงยกมาเป็นทัพหลวง โดยตั้งทัพและตั้งฐานบัญชาการที่เมาะตะมะ แต่เมื่อพระองค์เสด็จจากอังวะ ราชธานีสู่[[เมาะตะมะ]] แต่ทางเมาะตะมะเตรียมเสบียงไม่พอ ทำให้กองทัพพม่าไม่พร้อม จึงและเป็นสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถทำสงครามครั้งนี้ได้สำเร็จ
 
พระเจ้าปดุง สวรรคตในปี [[พ.ศ. 2362]] ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]ของไทย รวมระยะเวลาการครองราชย์นานถึง 37 ปี <ref>Father Sangermano, A Description of the Burmese Empire ([[New York]]: [[ค.ศ. 1969|1969]]), p. 71</ref><ref>สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ไทยรบพม่า ([[จังหวัดพระนคร|พระนคร]]: แพร่พิทยา, [[พ.ศ. 2514|2514]]) หน้า 552-589</ref>