ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลองหลอด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
 
*'''คลองหลอดวัดราชบพิธ (Khlong Lot Wat Ratchabophit)''' เริ่มจากคลองคูเมืองเดิมตรง[[วัดราชบพิธ]] ผ่าน[[ถนนราชบพิธ]] ถนนดินสอ ถนนมหาไชย บรรจบคลองรอบกรุง ตอนเหนือ[[สะพานดำรงสถิต]] คลองนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "คลองสะพานถ่าน" แต่เรียกเป็นทางการว่า "คลองวัดราชบพิธ"
 
==ประวัติ==
คลองหลอดทั้ง 2 คลอง “หลอดวัดราชนัดดา” และ “หลอดวัดราชบพิธ” ขุดตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]]โปรดฯ ให้ขุดคลองรอบกรุง แล้วโปรดฯ ให้ขุด “คลองหลอด” ขึ้น 2 คลอง
 
คลองหลอดเป็นคลองสำหรับชักน้ำระหว่างคลองคูเมืองเดิม (คูเมืองธนบุรีฟากตะวันออก) กับคลองรอบกรุงที่ขุดใหม่ คลองตอนบนขุดตั้งแต่ข้าง[[วัดบุรณศิริ]] (เมื่อขุดคลองเจ้าพระยาสุธรรมมนตรียังไม่สร้างวัดบุรณศิริ ต่อขุดคลองแล้วจึงสร้างวัดใกล้ ๆ คลอง) คลองหลอดสายนี้ตรงลิ่วไปออกข้างวัดเทพธิดา (เมื่อขุดยังไม่ได้สร้างวัดเทพธิดาเช่นกัน ต่อเมื่อสร้าง[[วัดเทพธิดา]]และ[[วัดราชนัดดา]]ใน[[รัชกาลที่ 3]] คลอดหลอดสายนี้จึงอยู่ระหว่างวัดเทพธิดา และวัดราชนัดดาบ้าง) แล้วจึงออกคลองรอบกรุง
 
ส่วนคลองหลอดตอนล่างสุดตั้งแต่ข้าง[[วัดราชบพิธ]] (เมื่อขุดยังไม่สร้างวัดราชบพิธเช่นกัน วัดราชบพิธเพิ่งจะสร้างใน[[รัชกาลที่ 5]] เวลาขุดคลองแถบนั้นยังเป็นบ้านเรือนขุนนาง และอาจเป็นที่ว่าง ๆ เป็นสวนเป็นป่าละเมาะบ้าง) ขุดตรงลิ่งไปออกคลองรอบกรุง ข้าง ๆ [[สวนรมณียนาถ]]ในปัจจุบัน และเพราะมีท่าซื้อขายถ่านอยู่ท่าหนึ่ง สะพานข้ามคลองแถบนั้น จึงเรียกกันว่าสะพานถ่าน ต่อมาเป็นชุมชนของผู้หญิง ซึ่งสมัยโน้นเรียกกันว่า [[โสเภณี]] เป็นที่รู้จักกันในหมู่บุรุษสมัยกระโน้น)
 
คลองหลอดทั้ง 2 คลองตั้งแต่สมัยแรกขุดจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นคลองกว้างขวาง จึงนอกจากชักน้ำแล้ว ยังเป็นคลองสัญจรไปมา
 
เมื่อปี [[พ.ศ. 2525]] คณะรัฐมนตรีมีมติให้เรียกชื่อคลองทั้งสองนี้ว่า "คลองหลอดวัดราชนัดดาราม" และ "คลองหลอดวัดราชบพิธ"
เส้น 9 ⟶ 18:
==อ้างอิง==
* http://dds.bma.go.th/Csd/canal_h7.htm
* [http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=4224&stissueid=2662&stcolcatid=2&stauthorid=13 คลองหลอด] โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์
 
{{โครงสถานที่}}