ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มะกล่ำตาช้าง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
}}
 
'''มะกล่ำตาช้าง''' หรือ, '''มะกล่ำต้น''', '''มะแค้ก''', '''หมากแค้ก''', '''มะแดง''', '''มะหัวแดง''', หรือ '''มะโหกแดง''' ({{ชื่อวิทยาศาสตร์|Adenanthera pavonina}}) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Leguminasae วงศ์ย่อย Mimosoideae โคนต้นมีพูพอน ผิวเรียบ สีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปไข่ ดอกช่อแบบแตกแขนง เกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก เห็นเป็นพู่ ผลเดี่ยว เป็นฝักแบน ยาวขดเป็นวง เมื่ออ่อนสีเขียวอ่อน สุกแล้วสีน้ำตาล เป็นผลแห้ง แตกตามตะเข็บ เมล็ดแบนสีแดง
 
เป็นพืชที่ตรึงก๊าซ[[ไนโตรเจน]] ใช้เป็น[[อาหารสัตว์]] [[สมุนไพร]] และยังเป็น[[ไม้ประดับ]]ได้ เนื้อไม้มีความแข็งแกร่งมากใช้ทำ[[เรือ]]และใช้ทำ[[เครื่องเรือน]] มะกล่ำตาช้างเป็นพืชที่มีพิษ โดยเฉพาะส่วนเมล็ดสีแดงมีพิษสูงมาก หากรับประทานเข้าไป อาจทำให้เสียชีวิตได้ รากมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นยาแก้ร้อนใน เมล็ดและใบแก้ริดสีดวงทวารหนัก ใช้เป็นยาเบื่อพยาธิ เมล็ดมะกล่ำ 1 เมล็ดใช้เทียบเป็นหน่วยกล่ำในมาตราชั่งตวงวัดโบราณ โดย 2 กล่อมเป็น 1 กล่ำ และ 2 กล่ำเป็น 1 ไพ<ref>ชยันต์ พิเชียรสุนทร ศุภชัย ติยวรนันท์ และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 6 เภสัชกรรม. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2555. หน้า 66 – 67</ref>