ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เชลแล็ก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
AlphamaBot (คุย | ส่วนร่วม)
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5:
[[ไฟล์:Skittles-Louisiana-2003.jpg|thumb|right|250px|ขนมที่เคลือบด้วยเชลแล็ก]]
[[ไฟล์:Shellac three colours.jpeg|thumb|right|250px|เชลแล็กสีต่าง ๆ]]
ใน[[ประเทศไทย]]มีการผลิตยางครั่งชนิดนี้เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจมาเป็นเวลานาน เป็นอาชีพทำรายได้เสริมที่ทำได้ง่ายสำหรับเกษตรกรโดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระบวนการทำเริ่มจากการเลี้ยงแมลงครั่งบนต้นไม้ เช่น [[จามจุรี]], [[ก้ามปู]], สะแก, ปันแก, พุทราป่า, สีเสียดออสเตรเลีย, ไทร, มะแฮะนกและ[[มะเดื่อ]]อุทุมพร เป็นต้น แมลงครั่งจะเกาะและกินน้ำเลี้ยงจากกิ่งไม้และสร้างสารคัดหลั่งออกมาหุ้มกิ่งไม้ไว้ เมื่อครบเวลาเกษตรกรจะตัดกิ่งไม้ซึ่งมีรังครั่งหุ้มอยู่ออกมา โดยจะเรียกสารในขั้นตอนนี้ว่า ''ครั่งดิบ'''ซึ่งจะประกอบด้วยเรซิน, สีครั่ง, [[ขี้ผึ้ง]], ความชื้น รวมทั้งกิ่งหรือเปลือกไม้ เป็นต้น หลังจากนั้นจะนำไปแปรรูปต่อที่โรงงานที่มีอยู่ในประเทศ โดยจะผ่านกระบวนการบดให้แตกออกเป็นก้อนหยาบ ๆ หลังจากนั้นนำไปร่อนผ่านตะแกรง และนำเอาครั่งที่ได้ไปล้างน้ำ จะได้น้ำสีแดงซึ่งสามารถนำไปย้อมผ้าได้ การล้างครั่งจะล้างจนกระทั่งน้ำใสจึงจะนำสารที่ได้ออกตากในที่ร่มให้มีลมผ่านตลอดเวลาและนำไปผ่านการคัดขนาด ซึ่งหลังจากผ่านขั้นตอนนี้จะได้ ''ครั่งเม็ด'' มีลักษณะเป็นเม็ดค่อนข้างกลม สีแดง มีความชื้นประมาณ 3 - 8 เปอร์เซ็น ที่ประกอบด้วยเรซินที่มีความบริสุทธิ์มากขึ้นแต่ก็ยังไม่มากพอที่จะใช้ได้ในอุตสาหกรรมยา สำหรับประเทศไทยส่วนใหญ่จะนำส่งออกต่างประเทศในรูปแบบนี้โดยไม่ได้มีการแปรรูป สำหรับการแปรรูปให้บริสุทธิ์ต่อนั้น ทำได้โดยการนำครั่งเม็ดไปผ่านการให้ความร้อนจนกระทั่งหลอมหลังจากนั้นจึงกรองผ่านถุงผ้าแล้วเทลงบนแผ่นใบลานหรือ[[สังกะสี]] ให้ขยายเป็นแผ่นกลมตามพิมพ์ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ถึง 3 นิ้ว หนาประมาณ 1/4 นิ้ว ที่เรียกว่า ''ครั่งแผ่น'' หรือ ''ครั่งกระดุม'' แต่ส่วนมากแล้วจะนิยมนำไปทำให้เป็นแผ่นบาง ๆ ที่เรียกว่า ''เชลแล็ก'' นอกจากนี้แล้วการทำให้บริสุทธิ์อาจใช้วิธีการละลายใน[[เอทานอล]]และทำการกรองสิ่งเจือปนออก แต่ในโรงงานบ้านเราไม่ใช้วิธีนี้เนื่องจากราคาที่แพงและการควบคุมการใช้เอทานอลตามกฎหมาย'
 
== องค์ประกอบและประเภทของเชลแล็ก ==