ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดอน ปรมัตถ์วินัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Minos777 (คุย | ส่วนร่วม)
Minos777 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 36:
 
== การทำงาน ==
นายดอน ปรมัตถ์วินัย เริ่มเข้ารับราชการในปี [[พ.ศ. 2517]] ใน[[กรมการเมือง]] [[กระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย)|กระทรวงการต่างประเทศ]] ต่อมาระหว่างปี พ.ศ. 2517- พ.ศ. 2523 ไปทำงานในสังกัดกองเอเซียตะวันออก กองเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักเลขานุการรัฐมนตรี เป็นหนึ่งในคณะของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมท นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในการเยือนปักกิ่ง เพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน เมื่อปี พ.ศ. 2518 และทำงานกิจการอาเซียนในช่วงหลัง[[การประชุมสุดยอดอาเซียน]] ครั้งที่ 1 ณ [[จังหวัดบาหลี|บาหลี]] [[ประเทศอินโดนีเซีย]] [[พ.ศ. 2519]]
นายดอน ปรมัตถ์วินัย เริ่มเข้ารับราชการในปี [[พ.ศ. 2517]] ใน[[กรมการเมือง]] [[กระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย)|กระทรวงการต่างประเทศ]] ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ [[ลอนดอน|กรุงลอนดอน]] เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงการต่างประเทศ และอธิบดีกรมเอเชียตะวันออกในปี [[พ.ศ. 2531]] [[พ.ศ. 2534]] และ [[พ.ศ. 2535]] ตามลำดับ ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2537]] ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งประเทศไทยประจำ[[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์|สมาพันธรัฐสวิส]] [[นครรัฐวาติกัน]] และ[[ประเทศลิกเตนสไตน์|ราชรัฐลิกเตนสไตน์]] ถิ่นพำนัก ณ [[เบิร์น|กรุงเบิร์น]] ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2542]] ย้ายมาดำรงตำแหน่งอธิบดี[[กรมสารนิเทศ]] ควบคู่กับโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ และกลับไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชฑูตอีกครั้ง โดยปี[[พ.ศ. 2544]] ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำ[[ประเทศจีน|สาธารณรัฐประชาชนจีน]] [[ประเทศเกาหลีเหนือ|สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี]] และ[[ประเทศมองโกเลีย|มองโกเลีย]] ถิ่นพำนัก ณ [[ปักกิ่ง|กรุงปักกิ่ง]] ปี [[พ.ศ. 2547]] นายดอนย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำ[[สหภาพยุโรป]] [[ประเทศเบลเยียม|ราชอาณาจักรเบลเยียม]] และ[[ประเทศลักเซมเบิร์ก|ราชรัฐลักเซมเบิร์ก]] ถิ่นพำนัก ณ [[บรัสเซลส์|กรุงบรัสเซลส์]] ต่อมาในปี[[พ.ศ. 2550]] ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวรไทยประจำ[[สหประชาชาติ]] ณ [[นครนิวยอร์ก]] ในปี [[พ.ศ. 2550]] นี้ นายดอน ยังได้รับ[[รางวัลครุฑทองคำ]] จากสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย<ref>[http://www.mof.go.th/cath/pdf/total_result50.pdf ประกาศสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง ผลการพิจารณาคัดเลือกผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2550 - 2551]</ref> ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้สำหรับข้าราชการพลเรือนที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น และในปี[[พ.ศ. 2552]] นายดอนเข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำ[[สหรัฐอเมริกา]] ถิ่นพำนัก ณ [[วอชิงตัน ดี.ซี.|กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.]] จนกระทั่งลาออกจากราชการในเดือนสิงหาคม [[พ.ศ. 2553]] ก่อนเกษียณอายุราชการเพียง 1 เดือน<ref>[http://www.thairath.co.th/content/111815 มุมข้าราชการ] จาก ไทยรัฐ</ref>
ในปีพ.ศ. 2523 นายดอนดำรงตำแหน่งรักษาการหัวหน้ากองนโยบายเศรษฐกิจ และการเงิน และหัวหน้ากองพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม สำนักงานอาเซียนแห่งประเทศไทย โดยเริ่มทำงานเกี่ยวกับปัญหา[[สงครามกัมพูชา–เวียดนาม]]
ต่อมาในปีพ.ศ. 2524 นายดอนได้รับแต่งตั้งให้เป็น เลขานุการเอกสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบอนน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี ''หรือเยอรมนีตะวันออก'' และเป็นที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบอนน์ ในปีพ.ศ. 2527
ปี พ.ศ. 2528 นายดอนกลับมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมการเมือง ก่อนที่จะไปดำรงตำแหน่งอัครราชทูตสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ [[ลอนดอน|กรุงลอนดอน]] เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงการต่างประเทศ และอธิบดีกรมเอเชียตะวันออกในปี [[พ.ศ. 2531]] [[พ.ศ. 2534]] และ [[พ.ศ. 2535]] ตามลำดับ
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2537]] ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งประเทศไทยประจำ[[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์|สมาพันธรัฐสวิส]] [[นครรัฐวาติกัน]] และ[[ประเทศลิกเตนสไตน์|ราชรัฐลิกเตนสไตน์]] ถิ่นพำนัก ณ [[เบิร์น|กรุงเบิร์น]] ระหว่างนี้ได้ถวายงานรับเสด็จ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ|สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ]] ในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินเยือนสวิตเซอร์แลนด์ พ.ศ. 2538 และรับเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ในประเทศต่างๆ ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2542]] ย้ายมาดำรงตำแหน่งอธิบดี[[กรมสารนิเทศ]] ควบคู่กับโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ในสมัยที่นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ในช่วงนี้ได้เริ่มต้นงานด้านเยาวชนไทยในโครงการยุวทูตความดี และกลับไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชฑูตอีกครั้ง โดยปี[[พ.ศ. 2544]] ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำ[[ประเทศจีน|สาธารณรัฐประชาชนจีน]] [[ประเทศเกาหลีเหนือ|สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี]] และ[[ประเทศมองโกเลีย|มองโกเลีย]] ถิ่นพำนัก ณ [[ปักกิ่ง|กรุงปักกิ่ง]] กรุงปักกิ่ง ขณะนั้นจีนกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งปีเดียวกันที่เข้าดำรงตำแหน่งนั้นจีนได้ในการเข้าเป็นสมาชิกของ[[องค์การการค้าโลก]] ลำดับที่ 143 หลังจากนั้น ในปี[[พ.ศ. 2546]] ยังมีการระบาดของ[[โรคซาร์ส]]เกิดขึ้นอีกด้วย
ต่อมา ปี [[พ.ศ. 2547]] นายดอนย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำ[[สหภาพยุโรป]] [[ประเทศเบลเยียม|ราชอาณาจักรเบลเยียม]] และ[[ประเทศลักเซมเบิร์ก|ราชรัฐลักเซมเบิร์ก]] ถิ่นพำนัก ณ [[บรัสเซลส์|กรุงบรัสเซลส์]] ดูแลทุกกิจการของไทยกับสหภาพยุโรปในช่วง[[แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547|วิกฤติสึนามิ พ.ศ. 2547]] ซึ่งเชื่อมโยงถึงการที่ไทยได้คืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences – GSP) ของสหภาพยุโรปในปีต่อมา
ในปี[[พ.ศ. 2550]] นายดอนย้ายไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวรไทยประจำ[[สหประชาชาติ]] ณ [[นครนิวยอร์ก]] ได้ทำงานเกี่ยวกับข้อเรียกร้องของกัมพูชาเรื่องปัญหาพื้นที่ทับซ้อนกับประเทศไทย กรณีเขาพระวิหาร ที่กัมพูชาพยายามนำเข้าสู่[[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ]] ในปี [[พ.ศ. 2550]] นี้ นายดอน ยังได้รับ[[รางวัลครุฑทองคำ]] จากสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย<ref>[http://www.mof.go.th/cath/pdf/total_result50.pdf ประกาศสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง ผลการพิจารณาคัดเลือกผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2550 - 2551]</ref> ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้สำหรับข้าราชการพลเรือนที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น
 
และในปี[[พ.ศ. 2552]] นายดอนเข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำ[[สหรัฐอเมริกา]] ถิ่นพำนัก ณ [[วอชิงตัน ดี.ซี.|กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.]] ดูแลประสานงานความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ในช่วงระหว่าง[[การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553|วิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2553]] และได้ดูแลโครงการโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง ไทย-สหรัฐอเมริกา ในระดับทั่วประเทศ จนกระทั่งออกจากตำแหน่ง โดยลาออกจากราชการในเดือนสิงหาคม [[พ.ศ. 2553]] ก่อนเกษียณอายุราชการเพียง 1 เดือน<ref>[http://www.thairath.co.th/content/111815 มุมข้าราชการ] จาก ไทยรัฐ</ref>
จากนั้นในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน นายดอน เข้ามาเป็นกรรมการอิสระ บริษัท ช. การช่าง จํากัด (มหาชน) ในตำแหน่งประธานกรรมการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม