ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ควัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pimpahka Tongsuk (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Wildfiretopanga.jpg|thumb|250px|'''ควัน''' จาก[[ไฟป่า]]]]
'''ควัน''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: smoke) จัดเป็น[[คอลลอยด์]] ที่เป็นอนุภาคของ[[ของแข็ง]]หรือ[[ของเหลว]] กระจายอยู่ในตัวกลางที่เป็น[[แก๊ส]]ที่มีอยู่ในอากาศ<ref>[http://www.fire.nist.gov/bfrlpubs/fire95/PDF/f95126.pdf ''Smoke Production and Properties''] - SFPE Handbook of Fire Protection Engineering</ref> จะถูกปล่อยออกมาเมื่อมีการเผาวัสดุหรือเกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีโดยใช้ความร้อน พร้อมกับปริมาณของอากาศหรือผสมในมวลสารชนิดอื่น ซึ่งเป็นส่วนเกินจากผลที่เกิดขึ้นจากความร้อน เช่น เตา, เทียนไข, ตะเกียงน้ำมัน และเตาไฟ แต่ก็อาจใช้สำหรับเป็นการกำจัดศัตรูพืช, การสื่อสารโดยใช้สัญญาณควัน, การป้องกันตัวโดยการสร้างฉากควัน, การทำอาหารเช่นแซลมอนรมควัน หรือเครื่องยาสูบชนิดต่างๆ ควันยังใช้ในพิธีกรรม, ธูปบูชา, ยางหอม ที่เผาเพื่อผลิตกลิ่น ในบางครั้งควันยังถูกนำไปใช้เป็นสารแต่งกลิ่น และเครื่องป้องกันสำหรับของกินต่างๆ ควันยังเป็นส่วนประกอบของ[[ไอเสีย]]ที่เกิดจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไอเสียจากดีเซล<br>
ควันจะแบ่งเป็น 2 ชนิด ควันดำ และ ควันขาว<br>
ควันดำ คืออนุภาคของถ่านหรือคาร์บอนที่มีลักษณะเป็นผงและเขม่าเล็ก ๆ ที่เหลือจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นมาส่วนใหญ่ เช่น รถเมล์ รถปิกอัพดีเซล รถที่มีขนาดใหญ่ทั่วๆไป และจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งควันดำนอกจากจะบดบังยังส่งผลต่อการมองเห็นและเกิดความสกปรกและยังสามารถเข้าไปสู่ปอดโดยการหายใจอีกด้วย และสะสมอยู่ในถุงลมปอดซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง หรือเป็นตัวนำสารให้เกิดโรคมะเร็งปอดและทำให้หลอดลมอักเสบได้<br>
ควันขาว เกิดจากเครื่องยนต์ที่ไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างดี โดยเฉพาะรถจักยานยนต์เก่าๆ
ควันขาวคือสารไฮโดรคาร์บอนหรือน้ำมัน เป็นเชื้อเพลิงที่ยังไม่ถูกเผาไหม้ แล้วมีการปล่อยออกมาทางท่อไอเสีย โดยที่สารไฮโดรคาร์บอนนี้เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะเกิดปฏิกิริยาในการสร้างก๊าซโอโซนซึ่งเป็นพิษภัยที่มีความรุนแรง<br>
"สารพิษที่อยู่ในควันไฟที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะที่เกิดเพลิงไหม้ที่สำคัญ" <br>
1.คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CARBON MONOXIDE) เป็นแก๊สพิษที่มีอันตรายอย่างสูงมากต่อคนและเกิดขึ้นได้เสมอในการเผาไหม้บริเวณที่จำกัด ซึ่งเป็นอันตรายต่อคน คือ ถ้าผสมอยู่ในอากาศคิดเป็นเปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร ถ้าเกิน 0.05%มีอันตราย ถ้ามีอยู่ 0.16% ทำให้หมดสติ ใน 2 ชั่วโมง ถ้ามีอยู่ 1.26% จะหมดสติภายใน 1-3 นาที ของการหายใจและอาจจะส่งผลถึงชีวิตได้ นอกจากมีความเป็นพิษแล้ว แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ ยังเป็นแก๊สเชื้อเพลิงอีกด้วย เมื่อมีความเข้มข้นในอากาศสูง ๆ สามารถลุกไหม้และเกิดการระเบิดได้อย่างรุนแรง เพลิงไหม้ในบริเวณที่โล่งแจ้งจะมีอันตรายจากแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์น้อยลงไป<br>
2.แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CARBON DIOXIDE) เกิดจากการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์แบบไม่เป็นเชื้อเพลิง และไม่ก่ออันตรายแก่ร่างกายโดยตรง แต่จะไม่ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน ถ้าแก๊สนี้มีความเข้มข้นในอากาศเกินกว่า 5.0% โดยปริมาตร จะมีอันตรายและส่งผลทำให้ผู้ที่สูดดมเข้าไปหมดสติได้<br>
3.แก๊สไฮโดรเจนไซยาไนต์ (HYDROGEN CYANIDE) มีลักษณะความเป็นแก๊สพิษที่รุนแรงมากกว่าแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์มาก ส่วนผสมในอากาศ 100 ppm. ทำให้มีผลต่อผู้ที่สูดดมเข้าไปอาจจะหมดสติและเสียชีวิตได้ในเวลา 30-60 นาที โดยที่แก๊สนี้อาจจะจากเกิดการเผาไหม้สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่มีส่วนประกอบของคลอรีน ได้แก่ พวกพลาสติก ยาง เส้นใย ขนสัตว์ หนังสัตว์ ไม้ หรือผ้า ไหม มีลักษณะเป็นแก๊สที่เบากว่าอากาศ จึงมีอันตรายเป็นอย่างมากในการเผาไหม้บริเวณอาคารบ้านเรือนหรือบริเวณที่จำกัดพื้นที่ต่าง ๆ<br>
4.แก๊สฟอสจีน (HOSGENE) เกิดจากการเผาไหม้สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่มีส่วนประกอบของคลอรีน ได้แก่ คาร์บอนเตตระคลอไรด์ ฟรีออน (น้ำยาทำความเย็น) หรือเอธิลีนไดคลอไรด์ ซึ่งเป็นแก๊สที่มีความเป็นพิษสูงมาก จะได้รับเพียง 25 ppm. ในอากาศ ถ้าเกิดในเวลา 30-60 นาที ก็อาจจะทำให้เสียชีวิตได้<br>
5.แก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์ (HYDROGEN CHLORIDE) เป็นแก๊สพิษที่เกิดจากการเผาไหม้สารที่มีองค์ประกอบของคลอรีน มีสภาพเป็นกรดและทำให้เกิดความอันตรายได้เช่นเดียวกัน แม้จะไม่ได้รุนแรงมากเท่ากับแก๊สฟอสจีนหรือแก๊สไฮโดรเจนไซยาไนด์ก็ตาม<br>
6.แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (HYDROGEN SULFIDE) เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของวัสดุพวกยาง พรม ไม้ ขนสัตว์ หรือวัสดุอื่นใดที่สมีกำมะถันผสมรวมอยู่ ซึ่งเป็นแก๊สที่มีอันตรายมากเพียง 400-700 ppm. ในอากาศ ถ้าได้รับนานเป็นเวลา 30-60นาที ก็อาจจะทำให้เสียชีวิต นอกจากนี้ยังเป็นแก๊สเชื้อเพลิงซึ่งทำให้ลุกติดไฟได้ง่ายอีกด้วย แต่ไม่ถึงขาดที่เกิดการระเบิด และจะมีกลิ่นคล้ายไข่เน่า มักจะเรียกกันว่า “แก๊สไข่เน่า” มีฤทธิ์ที่สามารถทำลายเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้มากอีกด้วย<br>
7.แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SULFUR DIOXIDE) เกิดจากการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ของกำมะถันในอากาศ เป็นแก๊สพิษ จะมีความเข้มข้นเพียง 150 ppm. ในอากาศ ทำให้ทำลายชีวิตคนได้ภายในเวลา 30-60 นาที เมื่อผสมกับน้ำหรือความชื้นที่บริเวณผิวหนัง จะเกิดกรดกำมะถัน ซึ่งมีฤทธิ์ที่กัดอย่างรุนแรงผู้ที่ได้รับแก๊สนี้จึงมีอาการสำลักและเกิดการหายใจไม่ออกอย่างฉับพลัน<br>
8.แก๊สแอมโมเนีย (AMMONIA) เกิดจากการเผาไหม้พวกไม้ ขนสัตว์ ผ้าไหม น้ำยาทำความเย็น หรือสารอื่นๆที่มีสารประกอบของไนโตรเจน และไฮโดรเจนอยู่ จะมีกลิ่นที่ฉุนรุนแรง ทำให้เกิดความรำคาญ และทำลายเนื้อเยื่อ แต่ไม่มีตัวเลขส่วนผสมที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต<br>
9.ออกไซด์ของแก๊สไนโตรเจน (OXIDE OF NITROGEN) ได้แก่ แก๊สไนตริกออกไซด์ ไนตรัสออกไซด์ และไนโตรเจนเตตระออกไซด์ เกิดจากการเผาไหม้พวกไม้ ขี้เลื่อย พลาสติก ยางที่มีไนโตรเจนผสมสีและแลคเกอร์บางชนิด ที่ปริมาณ100 ppm. ในอากาศจะส่งผลทำให้เสียชีวิตได้ภายในเวลา 30 นาที<br>
10.แก๊สอะโครลีน(ACROLEIN)เป็นแก๊สเกิดจากการเผาไหม้สารที่เป็นไขมันที่อุณหภูมิ 600๐ F และ อาจเกิดจากการเผาไหม้สี และไม้บางชนิด ซึ่งเป็นแก๊สที่มีอันตรายสูงอยู่ที่ประมาณ 150-240 ppm. ในอากาศ ทำให้ผู้ที่ได้สูดหายใจเข้าไปอาจจะเสียชีวิตได้ภายในเวลา 30 นาที เมื่อได้รับจะทำให้คนเจ็บยังสูญเสียอวัยวะสัมผัส เช่น ตา และทำให้หายใจไม่ออก ซึ่งยังไม่สามารถจะหาทางหลบหนีออกจากบริเวณที่อันตรายได้ทัน<br>
11.ไอโลหะ (METAL FUMES) คือ ไอของโลหะหนักต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อโลหะนั้นได้รับความร้อนที่สูง เช่น ไอปรอท ไอตะกั่ว ไอสังกะสี ไอดีบุก ส่วนใหญ่เพลิงไหม้โรงผลิตหรือโรงเก็บอุปกรณ์ทางอิเลคทรอนิกส์ จะเกิดไอโลหะได้มากและไอเหล่านี้ก็ยังจะมีอันตรายอีกด้วย<br>
12.เขม่าและควันไฟ (SOOT AND SMOKE) เขม่า คือ ก้อนหรือเศษของวัสดุที่ยังได้รับการเผาไหม้ไม่หมด จะมีลักษณะเป็นผงหรือละออง ส่วน ควันไฟ จะเป็นสารที่ผสมระหว่างเขม่า ขี้เถ้า และวัสดุต่าง ๆ ที่ได้มีการเกิดมาจากกองเพลิง รวมทั้งพวกแก๊สและไอต่าง ๆ ด้วย ผลของเขม่าและควันไฟ คือจะทำให้ผู้ป่วยเกิดการสำลักและอาจจะถูกเผาที่บริเวณผิวหน้าหรือตามตัวได้ รวมทั้งจะปิดบังทางออกต่าง ๆ ทำให้หนีออกจากบริเวณที่อันตรายไม่ได้
 
การสูดควัน ถือเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของอัคคีภัยในอาคารสถานที่ ควันสามารถสังหารผู้คนได้โดยความร้อน, สารพิษ และเข้าปอดจนเกิดการระคายเคืองโดย[[คาร์บอนมอนอกไซด์]], [[ไฮโดรเจนไซยาไนด์]] และผลิตภัณฑ์จากการเผาไหม้อื่นๆ
 
อนุภาคของควันจัดเป็น[[ละอองลอย]]หรือหมอก ของอนุภาคของแข็งหรือหยดของเหลวที่แพร่กระจายไปในอากาศซึ่งมักมองเห็นได้เมื่อถูกกระทบกับแสง โดยปกติแล้วหมอกควันไม่ได้ขัดขวางต่อการมองภาพ หากแต่มันเป็นอนุภาคที่มีความละเอียดจนบดบังการมองเห็นแบบปกติไป
 
== อ้างอิง ==
เส้น 37 ⟶ 22:
* [http://erj.ersjournals.com/cgi/content/full/27/3/446 Shedding new light on wood smoke]
* [http://www.ffb.uni-karlsruhe.de/477.php Karlsruhe Institute of Technology (KIT) - Forschungsstelle für Brandschutztechnik: KAMINA - gas sensor microarrays for rapid smoke analysis]
 
* [http://www.thaifire.com/Topics/Informations/BuildingSMOKE5.htm]
* [https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi3/monpit-a/black.htm]
[[หมวดหมู่:วิทยาศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:สิ่งแวดล้อม]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ควัน"