ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28:
 
==สถานะความเป็นมา==
เมื่อในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชดำรัสสั่งให้แปลหนังสือพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทยสองเรื่อง คือ เรื่องไซ่ฮั่น เรื่องหนึ่ง กับเรื่องสามก๊ก เรื่องหนึ่ง โปรดให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมพระราชวังหลัง ทรงอำนวยการแปลเรื่องไซ่ฮั่น แลให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลเรื่องสามก๊ก คำที่เล่ากันมาดังกล่าวนี้ไม่มีในจดหมายเหตุ แต่เมื่อพิเคราะห์ดูเห็นมีหลักฐานควรเชื่อได้ว่า เป็นความจริง ด้วยเมื่อในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเอาเป็นพระราชธุระขวนขวายสร้างหนังสือต่าง ๆ ขึ้นเพื่อประโยชน์สำหรับพระนคร หนังสือซึ่งเป็นต้นฉบับตำรับตำราในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ทั้งที่รวบรวมของเก่า ที่แต่งใหม่ แลที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๑ มีมาก แต่ว่าในสมัยนั้นเป็นหนังสือเขียนในสมุดไทยทั้งนั้น ฉบับหลวงมักมีบานแพนกแสดงว่าโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปีใด แต่หนังสือเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊กสองเรื่องนี้ต้นฉบับที่ยังปรากฏอยู่มีแต่ฉบับเชลยศักดิ์ขาดบานแพนกข้างต้น จึงไม่มีลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญว่าแปลเมื่อใด ถึงกระนั้นก็ดี มีเค้าเงื่อนอันส่อให้เห็นชัดว่า หนังสือเรื่องไซ่ฮั่นกับเรื่องสามก๊กแปลเมื่อในรัชกาลที่ ๑ ทั้งสองเรื่อง เป็นต้นว่า สังเกตเห็นได้ในเรื่องพระอภัยมณีที่สุนทรภู่แต่งซึ่งสมมุติให้พระอภัยมณีมีวิชาชำนาญในการเป่าปี่ ก็คือ เอามาแต่เตียวเหลียงในเรื่องไซ่ฮั่น ข้อนี้ยิ่งพิจารณาดูคำเพลงปี่ของเตียวเหลียงเทียบกับคำเพลงปี่ของพระอภัยมณีก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า ถ่ายมาจากกันเป็นแท้ ด้วยเมื่อรัชกาลที่ ๑ สุนทเรื่องสามก๊กนั้นเป็นนิทานที่ใช้เล่าและเล่นเป็นงิ้วในเมืองจีนมาแต่ก่อน ปราชญ์จีนชื่อ ล่อกวนตง ในยุคราชวงศ์หมิง (พ.ศ. 1911 - 2186) จึงได้เขียนเรียบเรียงเป็นหนังสือ ต่อมาเม่าจงกัง และ กิมเสี่ยถ่าง ได้แต่งเพิ่มและนำไปตีพิมพ์ ตั้งแต่นั้นจึงได้แพร่หลายขึ้น และแปลเป็นภาษาต่าง ๆ หลายภาษา ของไทยนั้นแปลในปี พ.ศ. 2345 โดยซินแสผู้รู้ภาษาจีนได้แปลออกมาให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เรียบเรียงเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นเมื่อเทียบเคียงกับภาษาจีนหรือแม้แต่ภาษาอังกฤษ เนื้อความหลายตอนจึงคลาดเคลื่อนกันบ้าง ซึ่งหาเทียบได้จากฉบับที่ สังข์ พัฒโนทัย แปลออกมาในตำราพิชัยสงครามสามก๊ก หรือในสามก๊กฉบับวณิพก ของยาขอบ ซึ่งเทียบจากฉบับภาษาอังกฤษของบริวิต เทเลอร์ แต่เนื้อความภาษาจีนเป็นอย่างไรหรือเรื่องจริงเป็นอย่างไรมิใช่ประเด็นสำคัญ เพราะสามก๊กฉบับภาษาไทยนั้น ได้ชื่อว่าเป็นเพชรเม็ดงามทางร้อยแก้วในวงวรรณกรรมไทย นอกจากสำนวนภาษาแล้ว เนื้อเรื่องยังได้แสดงตัวละครในลักษณะที่มีความซับซ้อนหลากหลาย ความเปลี่ยนแปรในจิตใจของมนุษย์ ตลอดจนเบื้องหลังอุปนิสัยตัวละครที่สัมพันธ์อย่างยิ่งกับการเดินเรื่อง สามก๊กจึงเป็นยอดในแบบของนิยายที่แสดงให้เห็นชีวิตโดยเหตุนี้
 
เนื้อเรื่องเริ่มในตอนปลายของราชวงศ์ฮั่น กษัตริย์อ่อนแอ ขันทีมีอำนาจ บ้านเมืองเต็มไปด้วยความฉ้อฉล พลเมืองถูกกดขี่ กองโจรโพกผ้าเหลืองซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของชาวบ้าน ที่ประกาศความเป็นไทจากอำนาจรัฐ เมื่อมีพระราชโองการให้หัวเมืองต่าง ๆ ยกกองทัพไปปราบปราม กลียุคจากสงครามจึงเป็นโรงละครใหญ่ให้วีรบุรุษได้ปรากฏตัว
 
"หนังสือสามก๊กไม่ใช่เป็นพงศาวดารสามัญ จีนเรียกว่า "สามก๊กจี" แปลว่า จดหมายเหตุเรื่องสามก๊ก เป็นหนังสือซึ่งนักปราชญ์จีนคนหนึ่งเลือกเอาเรื่องในพงศาวดารตอนหนึ่งมาแต่งขึ้นโดยประสงค์จะให้เป็นตำราสำหรับศึกษาอุบายการเมืองแลการสงคราม แลแต่งดีอย่างยิ่ง จึงเป็นหนังสือเรื่องหนึ่งซึ่งนับถือทั่วไปในประเทศจีน แลตลอดไปจนถึงประเทศอื่น ๆ
 
 
===อ้างอิง===
 
*1. หนังสือสามก๊ก
 
{{สี่สุดยอดวรรณกรรมจีน}}