ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอพุทไธสง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Kaoukkrit (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 68:
ศาสนาฮินดู(พราหมณ์)ในยุคอารยธรรมขอมรุ่งเรือง ขอมได้เข้ามาครอบครองเมืองไทยตั้งแต่เขมรถึงเมืองสุโขทัย พุทไธสงเป็นเมืองหน้าด่านของขอม ก่อนที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มาขับไล่ขอมแล้วตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ยุคนี้จะเป็นยุคที่ขอมนำคนไทยสร้างเมืองโดยการขุดคูคลองล้อมรอบจุดที่ตั้งเมือง และเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานในช่วงอารยธรรมขอมนี้ ซึ่งจะเห็นจากหลักฐานการสร้างปราสาทหินในดินแดนไทย การขุดคูเมืองเป็นคลองล้อมรอบเมืองเป็น 2 ชั้น ตามหลักฐานทางโบราณสถานที่พอจะดูได้คือ กู่สวนแตงที่ตำบลกู่สวนแตง กุฏิฤๅษีที่บ้านกู่ฤๅษี บ้านส้มป่อยในเขตอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ ปราสาทหินเปือยน้อย [[อำเภอเปือยน้อย]] [[จังหวัดขอนแก่น]] พระธาตุบ้านดู่ ตามสายน้ำลำพังชูเป็นการก่อสร้างโดยใช้หินตัดแบบเดียวกับปราสาทหินเมืองต่ำ ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทเขาสามยอดลพบุรี หลังจากพระมหากษัตริย์ไทยตั้งเมืองสุโขทัยสำเร็จ สมัยพ่อขุนรามคำแหงได้ขยายอาณาเขตสุโขทัยออกไป เมืองพุทไธสงได้ถูกทำลายทิ้งไป พุทไธสงจึงเป็นเมืองร้างไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ แต่ชุมชนคนไทยคงรวมตัวกันอยู่เป็นชุมชนรอบๆ ตัวเมืองเดิม และต่อมามีผู้คนอพยพมาอยู่รวมกันมากขึ้น
 
[[ปรางค์กู่สวนแตง]] ตั้งอยู่ที่กลางบ้านดงยาง ตำบลกู่สวนแตง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นปรางค์อิฐเรียงกันตามแนวเหนือใต้ จำนวน 2 หลัง บนฐานศิลาแลงเดียวกัน ขนาด 31.76 -/- 25.40 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์องค์กลางเป็นปรางค์ประธานและเป็นองค์เดียวที่มีมุขยื่นออกมา ทางด้านหน้ารับเสากรอบประตูซึ่งเป็นหิน ปรางค์ทั้งสามองค์มีประตูเข้า – ออก ทางด้านทิศตะวันออกส่วนอีก 3 ด้าน เป็นประตูหลอก มีสระน้ำโบราณเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาด 42 -/- 32 เมตร ล้อมรอบด้วยคันดิน อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามบันทึกของนายเอเดียน เอ็ดมองค์ลูเนต์เดอ ลาจอง กิแยร์ นักวิชาการชาวฝรั่งเศส ซึ่งมาศึกษาศาสนสถานแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2450 ว่าจากสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม แสดงให้เห็นว่าได้รับอิทธิพล ศิลปกรรมจากสมัยนครวัดนครธมของกัมพูชาซึ่งมีอายุระหว่าง พ.ศ. 1642 –1718 เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู
 
เมืองพุทไธสง เป็นถิ่นที่อยู่ของคนไทยอีสานที่มาอยู่รวมกันในแถบลุ่มน้ำมูล เป็นดินแดนที่มีแม่น้ำล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ทิศเหนือและทิศตะวันออกมีลำพังชู ที่ไหลจากอำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่นลงสู่แม่น้ำมูลที่ตำบลบ้านยาง ทิศใต้มีแม่น้ำมูล และลำสะแทดที่ไหลมาจากอำเภอคง นครราชสีมา ลงสู่แม่น้ำมูลที่ตำบลบ้านจาน ทิศตะวันตกมีลำแอกไหลมาจากอำเภอหนองสองห้องจังหวัดขอนแก่นและอำเภอสีดา นครราชสีมา ไหลลงลำสะแทดที่ตำบลหนองเยือง จะเห็นว่าถิ่นที่อยู่ของคนในจังหวัดบุรีรัมย์ มีอยู่ 3 เมืองใหญ่ๆ ในสมัยเก่าช่วงเดียวกันคือ คนเขมรจะรวมกลุ่มกันอยู่เมืองตลุง(ประโคนชัย) คนไทยโคราชจะรวมกลุ่มกันอยู่ที่เมืองนางรอง คนไทยอีสานรวมกลุ่มกันอยู่ที่เมืองพุทไธสง ซึ่งแสดงว่ามีเมืองอยู่เดิมแล้วในบริเวณที่กล่าวถึงนี้