ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอพุทไธสง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kaoukkrit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kaoukkrit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37:
#โนนอีแก้ว เป็นโนนสูงขนาดเล็กอยู่ทางทิศใต้มีทุ่งนากั้นระหว่างโนนหนองสรวงด้านทิศตะวันออก ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์หม่อนไหมบุรีรัมย์สาขาพุทไธสง
==ลักษณะทางประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์==
 
'''เมืองพุทไธสง'''ได้จัดให้อยู่ในกลุ่มเมืองโบราณของภาคอีสานใต้อยู่แถบลุ่มน้ำมูล-น้ำชี(กรมทรัพยากรธรณีได้แบ่งภาคอีสานออกตามภูมิศาสตร์โดยใช้แนวเทือกเขาภูพานแบ่งเป็นอีสานเหนือเรียกว่าแอ่งสกลนครอีสานใต้เรียกว่าแอ่งโคราช)มีลักษณะต่าง ๆ แยกออกเป็นดังนี้
บรรทัด 65:
*'''กลุ่มพุทไธสง''' ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจำนวน 15 ชุมชน มีเมืองพุทไธสงเป็นเมืองหลัก ยังมีสถานที่หลงเหลือคือคูเมืองซึ่งเป็นคูน้ำคันดิน สมบูรณ์ เมืองนี้เข้าใจว่ามีคนอยู่อาศัยต่อเนื่องไม่ขาดตอน มีพระเจ้าใหญ่วัดหงษ์ สมัยทวาราวดี และมีชุมชนย่านเดียวกัน ประกอบไปด้วย เมืองน้อย นาโพธิ์ เมืองขมิ้น(บ้านคูณ) กู่สวนแตง บ้านจอก นาโพธิ์ ดอนเมืองแร้งบ้านจาน บ้านจิก บ้านเมืองน้อย (บ้านแวง) บ้านแดงน้อย (พุทไธสง) บ้านเบาใหญ่ บ้านโนนสมบูรณ์ (ตำบลหายโศก) กู่ฤๅษี (บ้านใหม่ไชยพจน์) เมืองยาง บ้านยาง (ตำบลบ้านยาง) หนองสระ บ้านหนองแวง(อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์) บ้านดู่ (อำเภอนาโพธิ์) รูปวาดฝาผนังโบสถ์ (วัดบรมคงคา) บ้านแวง โบสถ์วัดมณีจันทร์ บ้านมะเฟือง
*'''กลุ่มเมืองตลุง ประกอบไปด้วยชุมชนที่เป็นบริวารจำนวน 15 ชุมชน มีเมืองตลุงเป็นศูนย์กลาง เป็นเมืองของคนเขมร
 
#ศาสนาฮินดู(พราหมณ์)ในยุคอารยธรรมขอมรุ่งเรือง ขอมได้เข้ามาครอบครองเมืองไทยตั้งแต่เขมรถึงเมืองสุโขทัย พุทไธสงเป็นเมืองหน้าด่านของขอม ก่อนที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มาขับไล่ขอมแล้วตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ยุคนี้จะเป็นยุคที่ขอมนำคนไทยสร้างเมืองโดยการขุดคูคลอง
ศาสนาฮินดู(พราหมณ์)ในยุคอารยธรรมขอมรุ่งเรือง ขอมได้เข้ามาครอบครองเมืองไทยตั้งแต่เขมรถึงเมืองสุโขทัย พุทไธสงเป็นเมืองหน้าด่านของขอม ก่อนที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มาขับไล่ขอมแล้วตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ยุคนี้จะเป็นยุคที่ขอมนำคนไทยสร้างเมืองโดยการขุดคูคลองล้อมรอบจุดที่ตั้งเมือง และเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานในช่วงอารยธรรมขอมนี้ ซึ่งจะเห็นจากหลักฐานการสร้างปราสาทหินในดินแดนไทย การขุดคูเมืองเป็นคลองล้อมรอบเมืองเป็น 2 ชั้น ตามหลักฐานทางโบราณสถานที่พอจะดูได้คือ กู่สวนแตงที่ตำบลกู่สวนแตง กุฏิฤาษีที่บ้านกู่ฤาษี บ้านส้มป่อยในเขตอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ ปราสาทหินเปือยน้อย [[อำเภอเปือยน้อย]] [[จังหวัดขอนแก่น]] พระธาตุบ้านดู่ ตามสายน้ำลำพังชูเป็นการก่อสร้างโดยใช้หินตัดแบบเดียวกับปราสาทหินเมืองต่ำ ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทเขาสามยอดลพบุรี หลังจากพระมหากษัตริย์ไทยตั้งเมืองสุโขทัยสำเร็จ สมัยพ่อขุนรามคำแหงได้ขยายอาณาเขตสุโขทัยออกไป เมืองพุทไธสงได้ถูกทำลายทิ้งไป พุทไธสงจึงเป็นเมืองร้างไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ แต่ชุมชนคนไทยคงรวมตัวกันอยู่เป็นชุมชนรอบๆ ตัวเมืองเดิม และต่อมามีผู้คนอพยพมาอยู่รวมกันมากขึ้น
 
[[กู่สวนแตง]] ตั้งอยู่ที่กลางบ้านดงยาง ตำบลกู่สวนแตง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นปรางค์อิฐเรียงกันตามแนวเหนือใต้ จำนวน 2 หลัง บนฐานศิลาแลงเดียวกัน ขนาด 31.76 -/- 25.40 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรางค์องค์กลางเป็นปรางค์ประธานและเป็นองค์เดียวที่มีมุขยื่นออกมา ทางด้านหน้ารับเสากรอบประตูซึ่งเป็นหิน ปรางค์ทั้งสามองค์มีประตูเข้า – ออก ทางด้านทิศตะวันออกส่วนอีก 3 ด้าน เป็นประตูหลอก มีสระน้ำโบราณเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาด 42 -/- 32 เมตร ล้อมรอบด้วยคันดิน อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามบันทึกของนายเอเดียน เอ็ดมองค์ลูเนต์เดอ ลาจอง กิแยร์ นักวิชาการชาวฝรั่งเศส ซึ่งมาศึกษาศาสนสถานแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ.2450 ว่าจากสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม แสดงให้เห็นว่าได้รับอิทธิพล ศิลปกรรมจากสมัยนครวัดนครธมของกัมพูชาซึ่งมีอายุระหว่าง พ.ศ.1642 –1718 เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู
บรรทัด 84:
พระเสนาสงคราม เดิมชื่อ เพียศรีปาก(นา)เป็นคนไทยลาวอีสาน เกิดที่นครจำปาศักดิ์ ตรงกับสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ราว พ.ศ.2289 อพยพมาตั้งหลักแหล่งในเขตจังหวัดมหาสารคาม แขวงสุวรรณภูมิ ได้นำพรรคพวกมาล่าสัตว์ในเขตพุทไธสง ลุ่มน้ำลำพังซู ได้มาพบพระพุทธรูปใหญ่ในป่าข้างหนองน้ำ เห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะดี ได้นำญาติและพวกๆ มาตั้งรกรากอยู่บ้านศรีษะแรต(พบหัวแรดในหนองน้ำ)ท้าวเพียศรีปาก(นา)
===สมัยเป็นเจ้าเมือง เรียกว่า “อุปฮาดราชวงศ์”===
'''พระเสนาสงคราม''' ต้องสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นภารกิจที่ใหญ่หลวงและงานหนักมาก นอกจากภารกิจในชุมชนเมืองพุทไธสงแล้วยังมีภารกิจร่วมปกป้องชาติบ้านเมืองอยู่หลายครั้ง เช่นเมื่อ พ.ศ.2121 เมื่อคราวกบฏเจ้าอิน เจ้าโอ ที่เมืองนางรอง และเมื่อเมืองนครจำปาศักดิ์คิดแข็งเมืองฝักใฝ่ฝ่ายญวน ทางเมืองหลวงได้มีตราสาร มายังพระเสนาสงคราม ให้ยกกองกำลังไป-ปราบกบฏร่วมกับสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พระเสนาสงคราม และท้าวหน่อพุทธางกูล หลวงเวียงพุทไธสงบุตรชายของพระเสนาสงคราม ก็ได้ปฏิบัติภารกิจนี้จนสำเร็จ อย่างมิย่นย่อ ผลจากการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ที่เกิดผลสำเร็จด้วยดี ของพระเสนาสงครามอันเป็นที่ประจักษ์ต่อเบื้องยุคลบาท ครั้นในปี พ.ศ.2321 ได้รับทรงแต่งตั้งโดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดเกล้าฯให้เป็นพระยาเสนาสงคราม เป็นเจ้าเมืองพุทไธสง คนแรก พระยาเสนาสงครามได้ปกครองเมืองพุทไธสงตั้งแต่ พ.ศ. 2318 ถึง พ.ศ.2370 เป็นเวลา 52 ปี อายุรวม 81 ปี ดังปรากฏในประชุมพงศาวดาร เล่มที่ 40 ภาค 65 – 66 เรื่องพระราชพงศาวดาร ธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม) พระเสนาสงคราม มีบุตร 2 คนคือ
บรรทัด 91:
 
 
===ในยุคการสร้างบ้านแปลงเมืองอย่างยิ่งใหญ่โดย===
 
#ให้เจ้าเมืองเข้าไปเมืองหลวงเพื่อศึกษาอบรม (ข้อมูลจาก นายประวัติ วิศิษฎ์ศิลป์ ลำดับหลานพระเสนาสงครามคนสุดท้ายผู้ให้ข้อมูล) ให้รู้จักจารีตประเพณี เจ้าเมือง ได้รับสมุดข่อยปกสีขาว มาเป็นพระธรรมนูญการปกครอง สมุดข่อยปกสีดำมาเป็นกฎหมายแพ่ง
บรรทัด 105:
เมืองพุทไธสงมีเจ้าเมืองผู้ปกครองต่อมาคือ พระเสนาสงครามที่ 2 (ท้าวนาบุตรพระยาเสนาสงครามคนที่ 2) ปกครองเมืองพุทไธสงคนที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ. 2107 เป็นเวลานาน 37 ปี และพระเสนาสงครามที่ 3 (บุตรพระเสนาสงครามที่ 2) ปกครองเมืองพุทไธสงลำดับที่ 3 ตั้งแต่พ.ศ.2407 ได้สิ้นสุดเมื่อปี พ.ศ. 2440 พระเสนาสงครามที่ 3 ปกครองเมืองพุทไธสงนาน 33 ปี
 
===พุทไธสงยุคเข้าสู่ยุคการปกครองแบบปัจจุบัน===
 
ในช่วงการปกครองต่อจากเมืองพุทไธสง ซึ่งสยามประเทศสมัยกรุงธนบุรีได้มีการจัดตั้งการปกครองต่อจากกรุงศรีอยุธยาแบบจตุสดมภ์ที่มี เวียง วัง คลัง นา(คลังปัญญาไทย การปกครองที่สืบต่อมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. ๑๙๙๑ ช่วงอยุธยา ตอนกลางเป็นผู้ก่อตั้งและต่อมามีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใน ยุคการเริ่มต้นค้าขายและความสัมพันธ์กับต่างประเทศ) โดยแยกการทหารออกจากพลเรือน งานจตุสดมภ์ เวียง วัง คลัง นา ให้ถือเป็นฝ่ายพลเรือน โดยให้มีสมุหนายกเป็นผู้ปกครองและตรวจการณ์หัวเมืองฝ่ายเหนือปกครองทั้งทหารและพลเรือน สมุหกลาโหมเป็นผู้ปกครองและตรวจการณ์หัวเมืองฝ่ายใต้ปกครองทั้งทหารและพลเรือน